โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

กิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การอนุรักษ์ พัฒนาและยกระดับความรู้เรื่องข้าวพื้นบ้านในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน (ภาคอีสาน – ภาคใต้)

วันที่ 17 – 20 พฤศจิกายน 2551
เรียบเรียงโดย นาถพงศ์ พัฒนพันธ์ชัยกว่าจะมาเป็นกิจกรรมครั้งนี้….

                 บนเส้นทางของพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน จากอดีตที่เคยมีความหลากหลายนับหมื่นสายพันธุ์ มาจนถึงปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่าสถานภาพของพันธุ์ข้าวพื้นบ้านอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะข้าวพื้นบ้านในระบบการผลิตของเกษตรกรรายย่อยที่ขาดการให้ความสำคัญ ทั้งในมิติเศรษฐกิจและสังคมอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ที่เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกทั้ง 4 ภาค (เหนือ อีสาน กลาง ใต้) ได้พยายามค้นหาศักยภาพของพันธุ์ข้าวพื้นบ้านและมีการดำเนินงานภายใต้บริบท ต่างๆ หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นบ้านที่กระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ นำมาปลูกรักษาไว้ในแปลงของเกษตรกร การคัดเลือกพันธุ์ข้าวเหล่านั้นให้มีคุณภาพและความบริสุทธิ์มากยิ่งขึ้น การศึกษาและบันทึกข้อมูลลักษณะประจำพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน การจัดเวทีแลกเปลี่ยนพันธุกรรมทั้งในระดับพื้นที่และระดับภูมิภาค ไปจนถึงการรณรงค์ให้ข้อมูลกับสาธารณะและภาครัฐที่สนใจ ทั้งหมดทั้งมวลก็เพื่อเป้าหมายสูงสุด 3 ประการคือ 1. ชาวนาและองค์กรชาวนาจะต้องเป็นเจ้าของพันธุ์ข้าวพื้นบ้านอย่างแท้จริง 2. ข้าวพื้นบ้านภายใต้วิถีเกษตรกรรมยั่งยืนต้องถูกยกระดับและถูกให้ความสำคัญใน ระบบการผลิต การตลาด และการบริโภค และ 3. นโยบายของภาครัฐต้องให้การยอมรับและสนับสนุน รวมทั้งรับรองสิทธิของประชาชนในพันธุกรรมท้องถิ่น

                 จนปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่าเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกได้มีการคิดค้น พัฒนาและยกระดับความรู้เรื่องข้าวพื้นบ้านในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนครอบคลุมไป เกือบทุกพื้นที่ ในหลากหลายลักษณะนิเวศตามแต่ละภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน ซึ่งนับได้ว่ามีประสบการณ์ในการดำเนินการเรื่องนี้มาอย่างยาวนานนับสิบปี จนกระทั่งสามารถสรุปเป็นองค์ความรู้ในการอนุรักษ์ พัฒนาและใช้ประโยชน์พันธุ์ข้าวพื้นบ้านที่หลากหลาย อาทิเช่น การคัดพันธุ์ข้าวพื้นบ้านในรูปแบบต่าง ๆ การขยายผลผ่านการแลกเปลี่ยนพันธุกรรมข้าว การตลาดและการแปรรูป เป็นต้น จนสามารถเป็นต้นแบบให้กับกลุ่มองค์กรชาวบ้าน และผู้ที่สนใจในภาคส่วนต่างๆ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

                 สำหรับเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคใต้ แม้ว่าจะมีประสบการณ์การทำงานเรื่องพันธุกรรมข้าวพื้นบ้านไม่มากเท่ากับภาค อีสาน แต่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จากปัญหาการสูญเสียพื้นที่นาไปกับรุกของพืชเศรษฐกิจและจากวิกฤติอาหารที่ เกิดขึ้น ทำให้เกิดความตื่นตัวในเรื่องการอนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่นาข้าวมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มทะเลสาบสงขลาครอบคลุม 3 จังหวัด (พัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช) ที่การทำนาเป็นวัฒนธรรมการผลิตที่ผูกโยงอยู่กับวิถีการดำรงชีพของชุมชนมา อย่างยาวนาน จนเกิดการสรุปบทเรียนร่วมกันว่าแนวทางการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนที่เหมาะ สมในพื้นที่เหล่านี้ คือการฟื้นคืนวิถีชาวนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นฟู อนุรักษ์และพัฒนาพันธุกรรมข้าวพื้นบ้าน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างพลังการผลิตอย่างแท้จริง

                 ประกอบกับในปี 2550 – 2551 ที่ผ่านมามูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) ได้ดำเนินโครงการพัฒนาและเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรมชุมชน นโยบายเกษตรกรรมยั่งยืน ภายใต้แผนงานฐานทรัพยากรอาหาร โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการพัฒนาและยกระดับความรู้ของเกษตรกรและองค์กร ชุมชนในการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน อันจะนำไปสู่การสร้างฐานทรัพยากรอาหาร การพึ่งตนเองของครอบครัวและชุมชน ซึ่งผลจากการดำเนินงานพบว่าเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายทั้งในภาคอีสานและภาคใต้มี ความตระหนัก ตื่นตัว กระตือรือร้น และตั้งใจในการศึกษาพัฒนาและปรับปรุงพันธุกรรมข้าวพื้นบ้าน ซึ่งเป็นฐานทรัพยากรอาหารของชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นชาวนาในลุ่มทะเลสาบสงขลาได้มีข้อสรุปร่วมกัน ให้ตั้งตัวแทนชาวนาในแต่ละพื้นที่เป็น “คณะทำงานยุทธศาสตร์ชาวนาภาคใต้” เพื่อร่วมกันคิด วางแผน หาวิธีการ และประสานเชื่อมโยงการทำงานเรื่องชาวนาภาคใต้ให้เป็นไปอย่างมีรูปธรรม

                 และเพื่อให้ประสบการณ์และบทเรียนที่เกิดจากการพัฒนาและยกระดับความรู้เรื่อง ข้าวพื้นบ้านในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรได้ถูกถ่ายทอดซึ่งกันและกัน โครงการพัฒนาและเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรมชุมชนนโยบายเกษตรกรรมยั่งยืน ร่วมกับเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกจึงได้จัดทำ “กิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การอนุรักษ์ พัฒนาและยกระดับความรู้เรื่องข้าวพื้นบ้านในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน (ภาคอีสาน – ภาคใต้)” ขึ้น ระหว่างวันที่ 17 ถึง 20 พฤศจิกายน 2551 ณ พื้นที่การทำงานของเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน 3 ภูมินิเวศ ได้แก่ ภูมินิเวศยโสธร ภูมินิเวศกาฬสินธุ์-นครพนม และภูมินิเวศมหาสารคาม โดยกิจกรรมดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อเป็นกลไกหนึ่งในการหนุนช่วยให้เกษตรกรจาก ภาคใต้และภาคอีสานได้แลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน ทั้งในด้านเทคนิคการคัดเลือกปรับปรุงสายพันธุ์ การเพาะปลูกดูแลรักษา การแปรรูป การตลาด ไปจนถึงการรวมกลุ่มขยายผลภายในชุมชน อีกทั้งถือเป็นการเชื่อมเครือข่ายในการทำงานของเกษตรกรระหว่างภูมิภาคต่อไป

บทความแนะนำ

การสัมมนา “การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศกับการปรับตัวของภาคเกษตร ภาคตะวันออก” คุณสุชาญ ศีลอำนวย ผู้จัดการโครงการ และเลขานุการมูลนิธิเอ็มโอเอไทย (MOA Thai Foundation)