โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

3 บทความภายใต้โครงการโรงเรียนกินได้ : ความมั่นคงทางอาหารของโรงเรียน กรณีศึกษาโรงเรียน โรงเรียนเทศบาลจองถนนหมู่ 5 ต.จองถนน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุงกว่านั้นพวกไม้เลื้อยพวกนั้นไม่ได้ปลูกลงแปลงดิน แต่ปลูกอยู่ในถุงสำหรับเพาะชำขนาดใหญ่ ระหว่างนั้นยังสังเกตเห็นบ่อชีเมนต์ขนาดพอกับห้องใหญ่ๆห้องหนึ่ง แรกเริ่มไม่คิดว่าเป็นบ่อเลี้ยงปลา ด้วยที่ตั้งของโรงเรียนแห่งนี้บริเวณรอบๆ ขึ้นชื่อเรื่องปลาชุกชุม แต่พอมองลอดตาข่ายกั้นขอบบ่อเห็นปลาดุกขนาดประมาณสองนิ้วมือ โผล่หนวดยุบยับ นี่คือสัมผัสแรกระหว่างเดินดูรอบๆบริเวณโรงเรียนเทศบาลจองถนน แรกเมื่อพบกันเห็นเพียงแต่ว่า เป็นครูหญิงท่าทีกระฉับกระเฉงดูมีไฟและมุ่งมั่น คะเนวัยไม่คิดว่าคุณครูท่านนี้จะเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน สำหรับผู้อำนวยการ หัตยา เพชรย้อย หรือหลายคนเรียกผอ.แอน หรือครูแอนของนักเรียน ก็เลยได้ไขข้อข้องใจจากค าถามหลายอย่างที่สงสัยกัน เรื่องแรกหนีไม่พ้น
การปลูกผักค้างไม้เลื้อยในถุงเพาะชำซึ่งปกติเราจะเหน็แต่ปลูกในแปลงดิน ฟังคำตอบจากครูแอนยิ่งทำให้โรงเรียนนี้น่าสนใจมากขึ้น เหตุเพราะที่นี่ดินไม่ดีปลูกผักไม่ค่อยงอกงาม ดินเป็นดินเหนียวปลูกผักลงดินแล้วน้ำระบายได้ไม่ดี จึงต้องนำดินไปปรับปรุงเสียก่อน เพื่อให้พืชเติบโตได้ดี ซึ่งเป็นการไขข้องสงสัยของเราได้ดีทีเดียว แต่ยังไม่หมด ครูแอนของนักเรียน หรือผอ.แอนยังเสริมต่อว่าจุดประสงค์สำคัญของการปลูกพวกพืชผักในถุงเพาะชำ
คือโรงเรียนตั้งอยู่ติดกับคลองท่ามะเดื่อ เมื่อน้ำหลากบริเวณโรงเรียนจะมีน้ำเอ่อล้นจากสายคลองเข้าท่วมโรงเรียน บางปีระดับถึงสะเอว ดังนั้นการปลูกพืชหรือผักในถุงเพาะช าเมื่อถึงฤดูน้ำหลากยังสามารถยกผักหนีน้ำได้ทำให้ยังมีทางบรรเทาภัยพิบัติและผ่านพ้นไปโดยไม่ตอ้งรอแค่ความช่วยเหลอืจากหน่วยงานต่างๆ ฟังแล้วยิ่งอัศจรรย์ใจ ยังไม่หมดแค่นัน้ ครูแอนยังเสริมอีกว่า สาระสำคัญทีสุดที่อยากสื่อในเรื่องนี้คือ
อยากให้นักเรียนนำกลับไปใช้ที่บ้าน เพราะบริเวณโดยรอบโรงเรียนซึ่งเป็นบ้านของนักเรียนหลายคน ถึงฤดูน้ำหลากก็ไม่ต่างจากโรงเรียน คือโดนน้ำท่วมขังเหมือนกัน ซึ่งตอนนี้ผู้ปกครองและนักเรียนหลายคนนำไปประยุกต์ทำที่บ้านตัวเอง ครูแอนเล่าพร้อมยิ้มดูอ่อนโยน เมื่อถามถึงเรื่องปลาดุกในบ่อก็ได้รับคำตอบ แม้เป็นคนเลมีปลามากมายให้จับกินจับขายแต่บางช่วงเช่นฤดูมรสุม หรือมีพายุก็ออกหาปลาไม่ได้เช่นกัน

ดังนั้นถ้าในบ้านมีผัก มีปลาแม้เกิดภัยธรรมชาติหรือภัยพิบัติอื่นอันไม่คาดคิด บ้านนั้นก็จะผ่านมันไปได้โดยไม่ต้องรอแต่ความช่วยเหลือจากคนอื่นอย่างเดียว ท่านผอ.แอนตบท้ายจนเกิดรอยยิ้มรอบวงสนทนาเนื่องด้วยคุยไปคุยมาจนเกือบถึงเที่ยงวัน สังเกตเห็นนักเรียนชั้นเด็กเล็กเดินเข้าแถวมุ่งไปทางโรงอาหาร ถือโอกาสชวนผอ.แอนคุยเรื่องอาหารกลางวัน พอถามถึงว่าใช้ผักที่ปลูกเองในการทำอาหารกลางวันหรือเปล่า ก็ได้รับคำตอบถึงกับอึ้งเลยทีเดียว ที่นี่โรงอาหารต้องซื้อผักที่นักเรียนและคุณครูช่วยกันปลูกเพื่อที่จะนำมาประกอบอาหาร

เมื่อยิงคำถามว่าทำไมต้องซื้อผักที่ปลูกเองด้วย ก็ต้องอึ้งรอบสอง เพราะเพื่อเป็นทุนในการปลูกผักรอบต่อไปเท่ากับเป็นทุนหมุนเวียนให้กิจกรรมนี้เดินได้ด้วยตัวเองผอ.แอนกล่าว และยังเสริมว่าถ้าให้โรงอาหารไปประกอบอาหารฟรีๆ รอบการปลูกผักต่อไปต้องลงทุนใหม่ทุกครั้ง ดังนั้นช่วงไหนไม่มีงบประมาณอุดหนุนก็ต้องหยุดกิจกรรมปลูกผักของนักเรียนไป ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดาย ต่อเมื่อนักเรียนชั้นโตขึ้นมาหน่อยตั้งแถวเดินมุ่งไปโรงอาหาร จึงชวนผอ.แอนไปดูโรง 

บทความแนะนำ