โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

ชื่อวิทยาศาสตร์Cinnamomum iners Reinw. ex Blume
ชื่อวงศ์LAURACEAE

ชื่อสามัญ : Cinnamon
ชื่ออื่นกะเชียด กะพังหัน เคียด มหาปราบตัวผู้ อบเชยต้น เชียด

ถิ่นกำเนิด :

     อบเชยมีต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศศรีลังกา มีทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติพบได้ดีจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินแทบทุกชนิด พบตามป่าดิบ และเพาะปลูกเพื่อการค้า โดยนำกิ่งของต้นอบเชยรูดเอาใบออกแล้วขูดเปลือกไม้ชั้นนอกออก เหลือแต่เปลือกชั้นใน ตากในที่ร่มประมาณ 3 วัน แล้วนำไปอบแห้ง ต่างประเทศนิยมนำเปลือกอบเชยเทศมากลั่นเป็นน้ำมันหอมระเหย ใช้เป็นแต่งกลิ่นขนม อาหาร และ เวชภัณฑ์ต่างๆ เช่น สบู่ ยาสระผม เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

     ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15-20 ม. ขนาดทรงพุ่ม 6-8ม.ไม่ผลัดใบทรงพุ่มกลมทึบหรือรูปเจดีย์ต่ำ เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทาหรือสีนํ้าตาลอ่อน ค่อนข้างเรียบ หรือแตกเป็นสะเก็ดเล็กบางๆ
     ใบ ใบเดี่ยว ตรงข้าม หรือเยื้องกันเล็กน้อย รูปขอบขนาน กว้าง2.5-7.5 ซม. ยาว 7.5-25 ซม.ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างหนาและแข็งกรอบ สีเขียวสดเป็นมัน ผิวใบด้านล่างมีคราบนวลขาว ก้านใบยาว 0.5-0.6 ซม. ใบมีกลิ่นหอมอบเชย
     ดอก สีเหลืองอ่อนหรือเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่ง ช่อดอกตั้ง ยาว 10-25 ซม. ดอกตูมทรงกลม กลีบรวมเรียง 2 ชั้นๆ ละ 3 กลีบ สีเขียวรูปช้อนสั้นๆ เกสรเพศผู้ 12 อัน เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 0.3-0.4 ซม. ออกดอกเดือน ม.ค.-เม.ย.
     ผล ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ทรงกลมรีหรือรูปไข่ กว้าง 0.5-0.8 ซม. ยาว 1-1.2 ซม. สีเขียวเข้ม เมื่อสุกสีนํ้าเงินเข้ม มีคราบสีขาว ฐาน รองรับผลเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 6 แฉก เมล็ดรูปไข่ สีนํ้าตาลติดผลเดือน มี.ย.-ก.ค. ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

การขยายพันธุ์ :

     ใช้วิธีเพาะเมล็ด เมล็ดอบเชยเมื่อแกะออกจากผลแล้วควรเพาะทันที เพราะเมล็ดจะสูญเสียความงอกอย่างรวดเร็วมาก เมื่อต้นกล้างอกสูงประมาณ 15 เซนติเมตร หรือ อายุ 4 เดือนนับจากวันเพาะให้ย้ายลงถุง ดูแลรักษาอีก 4 – 5 เดือนจึงย้ายลงปลูกในแปลง ไถพรวนดินในแปลงปลูก ขุดหลุมปลูกขนาด 30 x 30 x 30 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋นคอกอัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้น ระยะปลูกที่ใช้  2 x 2 เมตร

การใช้ประโยชน์ :

เปลือก 
– หอมหวาน บำรุงดวงจิต แก้อ่อนเพลัน ทำให้มีกำลัง ขับผายลม  
– เปลือกต้ม หรือทำเป็นผง แก้โรคหนองในและแก้โทษน้ำคาวปลา
– ใช้เป็นยานัตถุ์ แก้ปวดศีรษะ ปรุงรับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง ปรุงเป็นยาแก้บิด และไข้สันนิบาต
ใบ 
– เป็นสมุนไพรหอม ปรุงเป็นยาหอมเป็นยาบำรุงกำลัง และบำรุงธาตุ
รากกับใบ
– ต้มน้ำรับประทาน แก้ไข้เนื่องจากความอักเสบของสตรีที่คลอดบุตรใหม่ๆ

ที่มา : https://sites.google.com/
http://www.rspg.or.th/
https://hd.co.th/

บทความแนะนำ