โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

ชื่อวิทยาศาสตร์  Tabebuia rosea (Bertol.) DC.
ชื่อวงศ์ BIGNONIACEAE
ชื่อสามัญ Pink Trumpet shrub, Pink Trumpet Tree, Pink Tecoma
ชื่ออื่น ชมพูอินเดีย ธรรมบูชา ตาเบบูย่าพันธุ์ทิพย์ แตรชมพู 

ถิ่นกำเนิด:

     ชมพูพันธุ์ทิพย์ อยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้ ต่อมาได้ถูกนำไปปลูกในเขตร้อนทวีปต่าง ๆ อย่างแพร่หลายรวมทั้งประเทศไทยหม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร เป็นผู้นำต้นชมพูพันธุ์ทิพย์เข้ามาปลูกในประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2500 พร้อมกับตั้งชื่อเรียกเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ผู้นำเข้าและสีของดอกว่า ชมพูพันธุ์ทิพย์

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

     วิสัย ไม้ต้นขนาดกลาง-ใหญ่ ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่หรือทรงกลมแผ่กว้างเป็นชั้นๆ
     ลำต้น เปลือกลำต้นเรียบสีน้ำตาลหรือเทา เมื่ออายุมากเปลือกแตกเป็นร่อง กึ่งเปราะง่าย
     ใบ เป็นใบประกอบรูปนิ้วมือมี 5 ใบย่อย(pentafolioate palmately compound leaf) ก้านใบรวมยาว 5-30 ซม. ก้านใบย่อยยาว 0.5-2.5 ซม. ใบรูปขอบขนาน(oblong) หรือรูปรีแกมรูปไข่(ovate-oblong) ขนาด 3-7 x 7.5-16 ซม. ปลายใบแหลม(acute) โคนใบมน(obtuse) แผ่นใบหนาสีเขียวเข้ม
     ดอก  ดอกช่อกระจุก(cyme) ที่ปลายกิ่ง มีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกเป็นสีชมพูอ่อน ชมพูสดและขาว กลางดอกสีเหลือง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดแยกเป็น 5 แฉกคล้ายรูปแตร(funnelform)

การขยายพันธุ์:

ชมพูพันธุ์ทิพย์ นิยมปลูกด้วยเมล็ด แต่จะชอบดินที่ระบายน้ำและระบายอากาศได้ดี

การใช้ประโยชน์:

ให้ร่มเงาในบริเวณสถานที่ราชการ สวนสาธารณะ และตามถนนหนทาง แต่กิ่งเปราะไม่เหมาะปลูกใกล้สนามเด็กเล่น ดอกร่วงมาก
ใบ :ต้มแก้เจ็บท้องหรือท้องเสีย ตำให้ละเอียดใส่แผล
ลำต้น :  ใช้ทำฟืน และเยื่อใช้ทำกระดาษได้

ที่มา : https://sites.google.com/
https://home.kapook.com/

บทความแนะนำ