
ทุกคนต้องเป็นเจ้าของเมล็ดพันธุ์อย่างเท่าเทียม โดยไม่มีบริษัทมาผูกขาดผ่านความตกลง CPTPP : ดร.บุญส่ง ธารศรีทอง

การเกษตรของกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นวิถีรักษาความหลากหลายพันธุกรรมพืช ….แต่การส่งเสริมเกษตรเชิงเดี่ยว และการจำกัดสิทธิการถือครองและใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นปัจจัยทำให้พันธุกรรมพืชลดลง : สุพจน์ หลี่จา

เชื่อมั่นว่าระบบเกษตรกรรมยั่งยืนและการอนุรักษ์พันธุกรรมพื้นบ้านเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ลดความเสี่ยงเรื่องรายได้ เป็นภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ชุมชนได้แบ่งปันแลกเปลี่ยนระหว่างรุ่นสู่รุ่นและระหว่างเครือข่ายภาคีต่างๆ : มัทนา อภัยมูล

กล่าวได้ว่ากรอบแผนฯ 13 ในมิติทางการเมืองยังคงเป็นไปในลักษณะรัฐรวมศูนย์ ที่กลไกระบบบริหารจัดการของรัฐได้เข้ามาจัดการชีวิตสาธารณะในทุกมิติ เป็นการยึดอำนาจไว้ส่วนบน มากกว่าถ่ายโอนอำนาจลงสู่ล่าง

ร่างกรอบแผนฯ 13 ไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีที่ได้ระบุถึงการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ การรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ การสร้างความมั่นคงทางอาหาร

“กรอบแผนฯ 13 ควรให้ความสำคัญการศึกษานอกระบบที่สนับสนุนระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ผ่านศูนย์เรียนรู้ที่มีหลักสูตรเกิดจากประสบการณ์ของเกษตรกรในชุมชนนั่นเอง…”
