โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

2. แนวทางในการจัดการวัชพืชโดยวิถีธรรมชาติ จากประสบการณ์จากต่างแดน

2.1แปลงขนาดใหญ่ วัชพืชน้อยลงด้วย ปุ๋ยพืชสด การปลูกพืชหมุนเวียน และระบบการปลูกพืช

            นอกจาก ตัวอย่างเกษตรกรรายบุคคลที่ประสบความสำเร็จในการจัดการวัชพืชแล้ว ยังมีกลุ่มและเครือข่ายเกษตรกรที่ทำฟาร์มเกษตรกรรมอินทรีย์และเกษตรกรรมชีวพลวัตในเชิงพานิชย์อีกหลายราย ที่เพาะปลูกพืชไร่นาและพืชสวนในพื้นที่ขนาดใหญ่ ซึ่งมีกลยุทธ์ในการควบคุมวัชพืชที่สอดคล้องกับเงื่อนไขการผลิตของตน ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ซับซ้อน ต้นทุนต่ำและสามารถพึ่งตนเองได้ ก็คือ การใช้ปุ๋ยพืชสดปรับปรุงดิน การปลูกพืชหมุนเวียน และการปลูกพืชตามกันหรือเหลื่อมเวลากัน
            ดังตัวอย่างของเกษตรกรในเครือข่ายเกษตรชีวพลวัตดีมีเทอร์ออสเตรเลีย (Australian Demeter Bio-Dynamic Agriculture) ที่ส่วนมากเป็นเกษตรกรทำฟาร์มขนาดใหญ่หลายร้อยเฮกตาร์ ทำการปลูกทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ หมุนเวียนกับพืชผักหรือพืชไร่ชนิดอื่น ในเขตหน้าฝน ที่ได้มุ่งเน้นการปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสดร่วมกับการไถลึกด้วยเครื่องจักรฟื้นฟูดิน (Rehabilitator) ที่มีลักษณะเป็นไถระเบิดดินดาน (Rippers) ที่ผลิตขึ้นมาโดยเฉพาะร่วมกับการใช้สารปรับปรุงดินที่ผลิตจากการหมักบ่มมูลวัวและสมุนไพรตามแนวทางเฉพาะของเกษตรชีวพลวัต (Biodynamic Preparation) ซึ่งพบว่าพืชเจริญเติบโตแข็งแรงงอกงาม ปราศจากโรคและแมลง มีรสชาติดีและมีคุณภาพสูง และที่สำคัญคือ มีปัญหาจากวัชพืชน้อยลง เนื่องมาจาก (1) พืชสดหลายชนิดรวมถึงวัชพืชเมื่อปลูกร่วมกันจะแข่งขันกันเองและพืชสดที่คัดเลือกมาเป็นปุ๋ยพืชสดจะเติบโตได้เร็วและขึ้นได้หนาแน่นกว่า (2) เมื่อไถกลบปุ๋ยพืชสด วัชพืชก็จะถูกกลบลงไปด้วย (3) การไถลึกและการใช้สารปรับปรุงดินตามแนวทางเกษตรชีวพลวัตช่วยส่งเสริมการย่อยสลายของเศษวัชพืชในดินได้ดีขึ้น (4) การไถกลบปุ๋ยพืชสดช่วยปรับปรุงคุณภาพของดิน ทำให้ชนิดของวัชพืชเปลี่ยนแปลงไป จึงทำให้มีวัชพืชที่กำจัดได้ยากหรือมีปัญหาวัชพืชน้อยลง

นอกจากนี้ เครือข่ายเกษตรกรนักปฏิบัติแห่งไอโอว่า (Practical Farmers of Iowa) ได้แบ่งปันประสบการณ์ว่า การปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืชตามกัน สามารถใช้ยับยั้งวัชพืชได้ ซึ่งเป็นกลไกหลักในการควบคุมวัชพืชแบบเกษตรอินทรีย์ ในแปลงขนาดใหญ่ (Large-acreage) เพราะเป็นการตัดวงจรของวัชพืชไม่ให้เกิดการสะสมเมล็ดวัชพืชในแปลงเพาะปลูก และทำให้พืชที่เราปลูกหมุนเวียนลงไปตามฤดูกาลเข้าไปแข่งขันกับวัชพืช กดดัน ไม่เปิดโอกาสให้วัชพืชเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้ โดยเกษตรกรที่ปลูกพืชอินทรีย์ที่เป็นผลผลิตหลักอย่างข้าวโพดและถั่วเหลือง ได้ใช้กลยุทธ์การปลูกพืชหมุนเวียนโดยการปลูกพืชอายุยาวอย่างอัลฟาลฟ่าในฤดูที่มีอากาศเย็น ปลูกธัญพืชขนาดเล็กอย่างข้าวโอ๊ตในฤดูใบไม้ผลิ จนถึงฤดูใบไม้ร่วงก็ปลูกธัญพืชขนาดเล็กอย่างข้าวสาลีฤดูหนาว ข้าวไรย์ หรือข้าวทริทิเคลี (ธัญพืชชนิดหนึ่งที่ผสมข้ามกันระหว่างข้าวสาลีกับข้าวไรย์) เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วก็ปลูกบัควีท (พืชที่นามาทาแป้งโซบะ) เป็นต้น

2.2 การจัดวัชพืชพร้อมกับพรวนดิน ด้วยเครื่องจักรที่เหมาะสม

            มหาวิทยาลัยแห่งสหกรณ์แคลิฟอร์เนีย ได้เผยแพร่ เครื่องมือทางเลือกสำหรับรถไถและรถแทรกเตอร์ 2 ชนิด ในการกำจัดวัชพืชในแปลงพืชผักอินทรีย์เชิงพานิชย์ (ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในแปลงปลูกพืชอื่น ในระยะกล้าได้เช่นกัน) ได้แก่ แบบแท่งบิด (Torsion Weeder) และ แบบนิ้วมือ (Finger Weeder) โดยเครื่องมือกำจัดวัชพืชแบบแท่งบิด จะเป็นแท่งเหล็กยาวที่ลากไปกับพื้นเพื่อพรวนดินบนแปลง ในขณะที่แท่งเหล็กก็สามารถบิดตามแรงสั่นสะเทือนกับการลากไปกับพื้นและเข้าไปในบริเวณใต้ต้นกล้าได้โดยไม่เป็นอันตราย ส่วนแบบนิ้วมือ จะเป็นวงล้อที่มีความยืดหยุ่น มีแท่งคล้ายนิ้วที่เหยียดตรงยื่นยาว

            ออกมา เมื่อตั้งวงล้อให้หมุนเฉียงไปตามแถวที่ปลูกพืช นิ้วของวงล้อจะเข้าไปพรวนดินใต้ต้นพืชและกำจัดวัชพืชขนาดเล็กได้ โดยที่นิ้วมือจะไม่ดึงต้นพืชหลักออกมาTorsion Weeder และ Finger Weeder เป็นเครื่องจักรกลทีเหมาะสมในการช่วยพรวนดินและกำจัดวัชพืชในระยะกล้าของพืชที่ปลูก ไม่ให้แย่งน้าและสารอาหาร อีกทั้งยังช่วยให้ดินโปร่งร่วนซุยปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาได้มากขึ้นด้วย

Torsion Weeder และ Finger Weeder เป็นเครื่องจักรกลทีเหมาะสมในการช่วยพรวนดินและกำจัดวัชพืชในระยะกล้าของพืชที่ปลูก ไม่ให้แย่งน้ำและสารอาหาร อีกทั้งยังช่วยให้ดินโปร่งร่วนซุยปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาได้มากขึ้นด้วย

 2.3หลากหลายทางเลือกเพื่อผสมผสานวิธีการจัดการวัชพืชแบบเกษตรอินทรีย์ 

            อลิชา รัปเปิล และ ฮีทเธอร์ ฟรีดริช จากมหาวิทยาลัยอาร์คันซอส์ ได้แนะนาวิธีการจัดการวัชพืชแบบเกษตรอินทรีย์ที่ประสบความสำเร็จเอาไว้ว่า จะต้องใช้หลากหลายวิธีร่วมกันมากกว่าจะพึ่งพาวิธีการใดวิธีการหนึ่ง เปรียบได้กับมีค้อนหลายอันเอาไว้ทุบทลายปัญหาของเกษตรกร ซึ่งสามารถนำมาออกแบบและพัฒนาเป็นยุทธวิธีในการจัดการวัชพืชที่สอดคล้องกับความจาเป็นของการทาฟาร์มของเกษตรกรเอง ยุทธวิธีหรือค้อนที่ใช้ในการจัดการวัชพืช มีอยู่หลายวิธี แบ่งได้ตามขนาดของค้อนหรือยุทธวิธีที่มีประสิทธิภาพในวงกว้างหรือวงจำกัดที่สามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมตามการนำไปใช้ ดังนี้

 2.4เรียนรู้ที่จะใช้วิธีที่เหมาะสมในการจัดการวัชพืชแบบเกษตรอินทรีย์

            ชาร์ลส โมห์เลอร์ และ ซู อัลเลน จอห์นสัน สองนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ และมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนอร์ธแคโรไลนา เป็นบรรณาธิการและคณะผู้แต่ง “คู่มือการวางแผนการปลูกพืชหมุนเวียนสาหรับการเกษตรอินทรีย์” ได้เผยแพร่คำแนะนาวิธีการจัดการวัชพืชและผลของวิธีการต่างๆ ได้แก่ พืชคลุมดิน การไถพรวน การทำแปลงแบบล่อให้งอกแล้วไถกลบอีกครั้ง ระบบน้าหยด การคลุมดิน การย้ายปลูก การคัดเลือกพันธ์ การเพิ่มความหนาแน่นในการปลูก การรักษาและทาความสะอาดแปลงเพาะปลูก เพื่อนำไปใช้พิจารณาเป็นทางเลือกในการจัดการวัชพืชอย่างเหมาะสม ดังต่อไปนี้

ไม่มีวัชพืชอีกต่อไป มีแต่พืชอาสาสมัคร

            ในวิถีเกษตรกรรมเชิงนิเวศ ที่เป็นรากฐานของเกษตรกรรมยั่งยืนเสมอมา ต่างก็มีวิธีคิด วิธีปฏิบัติและวิธีให้คุณค่าต่อเกษตรกรรมว่าเป็นการทางานกับธรรมชาติ โดยอาศัยกลไกธรรมชาติและทรรศนะที่เข้าถึงและเข้าใจความเชื่อมโยงอันเป็นหนึ่งเดียวกันของชีวิต ระบบนิเวศ ธรรมชาติ หรือแม้แต่จักรวาล ถึงที่สุดแล้วพืชที่แวะเวียนมาเยี่ยมเยียนพืชที่เราปลูก และเติบโตได้เองในแปลงเพาะปลูกของเรา อาจไม่ได้เรียกว่าวัชพืชหรือพืชที่ต้องกำจัดออกไปอย่างไร้ค่าหรือถูกนิยามว่าเป็นศัตรูพืชอีกต่อไป ดังเช่น กลุ่มนักปฏิบัติที่สนใจในวิถีชีวิตและเกษตรกรรมที่สอดคล้องกันกับธรรมชาติด้วยความวัฒนาถาวร หรือ เพอร์มาคัลเชอร์ (Permaculture) เรียกตนเองว่า ชาวเพอร์มีย์ (Permies) ก็ได้บัญญัติ คาเรียกขานและนิยามใหม่ให้กับวัชพืชว่า เป็น “พืชอาสาสมัคร (Volunteer Plant)” ที่อาสามาช่วยรักษาหน้าดิน ปรับปรุงดิน สร้างระบบนิเวศและเสียสละตนเพื่อสอนเราให้รู้จักและเข้าใจเกษตรกรรมและธรรมชาติให้มากยิ่งขึ้น ดวงตาของเราจึงได้ถูกเปิดออกให้มองเห็นโลกแห่งเกษตรกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยเพื่อนใหม่ที่เคยมีชื่อว่า “วัชพืช” นี้นี่เอง

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

น้ำอยู่บนฟ้า อากาศอยู่ในดิน. Tiva, Areeya. [2017, 5 December]. Retrieved from https://www.facebook.com/search/posts/?q=areeya%20tiva%20%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2&epa=SERP_TAB
Alternative Cultivators for Organic Vegetable Production. UCANR. [2019, 14 November]. Video posted to https://www.youtube.com/watch?v=I4kzebMG6rE
Crop Rotation on Organic Farms: A Planning Manual. Mohler and Johnson. 2009. NRAES-177
Crop Rotation for Weeds Suppression-Organic Weed Control. Practcal Farmers of Iowa. [2019, 14 November]. Video posted to https://www.youtube.com/watch?v=RRXRMUAXkk0
Lessons from Nature: A Guide to Ecological Agricutlure in The Tropics. [Online]. Available: http://asianfarmers.org/wp-content/uploads/2015/07/Lessons-from-Nature-Shimpei-Murakami.pdf. [2019]
Organic Weed Management. Alisha Rupple and Heather Friedrich. [Online]. Available: https://www.slideshare.net/OrganicTraining/organic-weed-management . [2019]
Weeds and What They Tell Us. Ehrenfried E. Pfeiffer. 1970. Floris Book

“…เป้าหมายสูงสุดของเกษตรกรรมมิใช่แค่การเพาะปลูกพืชผล

หากแต่เป็นการบ่มเพาะความสมบูรณ์แห่งการเป็นมนุษย์…”

มาซาโนบุ ฟูกุโอกะ 

บทความแนะนำ