ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carissa carandas Linn.
ชื่อวงศ์ : Apocynaceae
ชื่อสามัญ : Karanda, Carunda, Christ ‘ s Thom
ชื่ออื่น : มะนาวไม่รู้โห่ ,มะนาวโห่ ,หนามขี้แฮด ,หนามแดง
ถิ่นกำเนิด :
มะม่วงไม่รู้หาวมะนาวไม่รู้โห่ มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินเดีย พบมากในประเทศไทย กัมพูชา เวียดนาม และแอฟริกา เป็นผลไม้ที่ออกดอกและออกผลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนพบมากในจังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดราชบุรี
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ต้น : เป็นไม้พุ่ม สูง 2-3 เมตร ทรงพุ่มกลม แตกกิ่งจำนวนมากทุกส่วนมียางสีขาวเหมือนน้ำนม ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมยาว 2-5 เซนติเมตร ปลายหนามมีสีแดง
ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่กลับ ปลายใบมนหรือเว้าเข้าเล็กน้อย โคนใบกลม ผิวใบสีเขียวเข้มเป็นมัน
ดอก : เป็นดอกช่อสั้น ๆ ที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบมีขนโคนกลีบเชื่อมติดกัน
ผล : เป็นผลเดี่ยวออกรวมกันเป็นช่อ ผลรูปกลมรี มนรี หรือรูปไข่ ผลอ่อนมีสีขาวอมชมพู ผลดิบมีน้ำยางมาก ผลจะค่อยๆ เข้มขึ้นเป็นสีแดง กระทั่งสุกจึงกลายเป็นสีดำ
เมล็ด : มี 1 เมล็ด ติดอยู่ที่ส่วนปลายรูปไต ยาว 2.5-3 เซนติเมตร สีน้ำตาลอมเทา มีเปลือกแข็งหุ้ม
การขยายพันธุ์ :
ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
การใช้ประโยชน์ :
– ผล ฆ่าเชื้อ ขับปัสสาวะ พอกดับพิษ แก้โรคลักปิดลักเปิด
– เมล็ด แก้กลากเกลื้อน แก้เนื้อหนังชาในโรคเรื้อน แก้โรคผิวหนัง แก้ตาปลา แก้เนื้องอก บำรุงไขข้อ บำรุงกระดูก บำรุงเส้นเอ็น บำรุงกำลัง บำรุงผิวหนัง
– เปลือก แก้บิด ขับน้ำเหลืองเสีย แก้ท้องเสีย แก้กามโรค ทำยาอมรักษาแผลในปาก แก้ปวดฟัน
– ยอดอ่อน รักษาริดสีดวงทวาร
– ยาง ใช้ทำลายตาปลา กัดทำลายเนื้อที่ด้านเป็นปุ่มโต แก้เลือดออกตามไรฟัน รักษาหูด รักษาขี้กลาก แผลเนื้องอก โรคเท้าช้าง
– น้ำมัน ใช้ฆ่าเชื้อ ทาถูนวดให้ร้อนแดง ยาชา รักษาโรคเรื้อน กัดหูด แก้ตาปลา แก้บาดแผลเน่าเปื่อย