โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

ห้องเรียนกลางสายฝน… กิจกรรมพบปะของกลุ่มชาวนาทางเลือกภาคใต้

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2551 ณ ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง

เช้าวันที่ 24 พฤศจิกายน 2551 ท่ามกลางสายฝนที่ตกลงมาอย่างไม่ขาดสาย กลุ่มชาวนาจากสามจังหวัดมีนัดหมายมาพบกันอีกครั้ง ตามการนัดหมายจากการประชุมครั้งก่อน (วันที่ 4 พ.ย. 51) เพื่อมาฝึกบันทึกข้อมูลลักษณะพันธุ์ข้าวพื้นบ้านในแปลงนารวมศูนย์วิจัยข้าว พัทลุง รวมทั้งติดตามการเจริญเติบโตของข้าวทั้ง 10 สายพันธุ์

                ทั้งนี้ ด้วยเวลาที่จำกัดและสภาพฟ้าฝนที่ไม่เป็นใจนัก ทำให้วันนี้กลุ่มชาวนาสามารถลองฝึกบันทึกข้อมูลได้ไม่กี่สายพันธุ์ (ไข่มดริ้น เหนียวดำ เหนียวกาบโหนด และเข็มทอง) จนเมื่อเสร็จสิ้นการเรียนรู้ในแปลงนาแล้ว เหล่าชาวนาก็ชักชวนกันมาล้อมวงกินข้าว (โดยก่อนหน้านี้ได้นัดหมายกันว่าให้แต่ละคนพกข้าวห่อมากินร่วมกันเหมือนดัง เช่นวิถีเดิมๆ) ซึ่งวันนี้ทุกคนก็ได้หอบหิ้วอาหารกันมา ใครมีอะไรมาก็เอามาให้ชมให้ชิมกันถ้วนหน้า ทั้งอิ่มทั้งอร่อย และอบอุ่นสนุกสนานไปพร้อมๆ กัน

                ในช่วงบ่าย เหล่าชาวนาก็ได้ชักชวนกันพูดคุยถึงเนื้อหาที่ได้รับจากกิจกรรมการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ในวันนี้ ซึ่งพี่สำเริง แซ่ตัน ได้กล่าวถึงการเรียนรู้ที่ผ่านมาว่าเป็นการรวมใจกันปฏิบัติให้เกิดมรรคผล ซึ่งต้องอาศัยความเสียสละของชาวนาแต่ละคนค่อนข้างมาก สำหรับศูนย์วิจัยเองก็มองว่าแปลงนารวมแห่งนี้ คงไม่ได้ต้องการให้เป็นเพียงโรงเรียนที่เน้นแต่การให้ข้อมูลอย่างเดียว แต่ต้องการให้เป็นฐานในการพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันและช่วยอำนวย ความสะดวกต่างๆ เป็นเสมือน “ศูนย์บริการชาวนา” เพื่อเสริมสร้างพลังของชาวนาให้สังคมวงกว้างรับรู้ โดยความคาดหวังลึกๆ ก็คืออยากเห็นข้าวพื้นบ้านของเรากระจายอยู่ทั่วไปในท้องนาภาคใต้

ทั้งนี้ จากการชักชวนกันไปศึกษาข้อมูลและติดตามการเจริญเติบโตของข้าวในแปลงนารวม สามารถสรุปผลได้ว่า

– โดยทั่วไปข้าวเจริญเติบโตได้ดี แม้ว่าจะไม่ได้ใส่ปุ๋ยเคมีเลย ใช้เพียงปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพที่กลุ่มชาวนาผลิตขึ้นเอง เป็นข้อพิสูจน์ได้ในระดับหนึ่งว่าข้าวพื้นบ้านสามารถเติบโตได้ดีโดยไม่ต้อง พึ่งปุ๋ยเคมี สำหรับข้าวบางแปลงที่เจริญเติบโตไม่เต็มที่ น่าจะมีสาเหตุมาจากสภาพพื้นที่ การควบคุมน้ำ และบางจุดน้ำหมักอาจเข้าไปไม่ถึง

– ภาพรวมในพื้นที่ 10 ไร่ ถือว่าข้าวค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ถ้าดูในกอผลผลิตอาจไม่เต็มที่ ด้วยวิธีปฏิบัติ การปักดำ การให้น้ำ ที่ไม่สามารถควบคุมให้เหมาะสมที่สุดได้ แต่จุดแข็งของข้าวพื้นบ้านคือสามารถปรับตัวได้ตามสภาพการเพาะปลูก

– จะพบเห็นความหลากหลายของข้าวที่มีอายุต่างกัน เช่น พบว่าข้าวเหนียวดำเป็นข้าวเบาจึงออกรวงแล้ว ในขณะที่หลายพันธุ์อยู่ในช่วงการแตกกอ ซึ่งความหลากหลายเหล่านี้ชาวนาสามารถนำมาปรับให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ตนเอง ได้ อย่างไรก็ตามการให้ผลผลิตของข้าวพื้นบ้านจะขึ้นอยู่กับสภาพธรรมชาติซึ่งไม่ สามารถควบคุมได้ทั้งหมด ดังนั้นผลผลิตจึงมักได้พอประมาณและโดยทั่วไปจะน้อยกว่าข้าวนาปรัง

ทั้งนี้ พี่สำเริง กล่าวสรุปไว้ว่าเป้าหมายในอนาคตคือให้พันธุ์ข้าวพื้นบ้านแต่ละพันธุ์ได้กลับ ไปอยู่ในท้องถิ่น เพื่อสร้างให้เกิดความยั่งยืนของอาหารในชุมชน เพราะก่อนหน้านี้ข้าวพื้นบ้านภาคใต้ที่มีหลากหลายได้สูญหายไปจากการส่งเสริม ข้าวพันธุ์แนะนำ ดังนั้น แปลงนารวม 10 ไร่ ตรงนี้ คือจุดเริ่มต้นของการนับหนึ่งให้ความหลากหลายกลับคืนมาสู่ท้องนาของเรา อีกทั้งการทำงานเรื่องข้าวพื้นบ้านก็จะมองในมิติคุณค่าอื่นๆ นอกเหนือจากเชิงเศรษฐกิจ เพราะข้าวเป็นพืชที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าทำให้ก่อเกิดวัฒนธรรม

ในเรื่องการบันทึกข้อมูลลักษณะพันธุ์ข้าว ก็ได้ ป้านวลอนงค์ เต็มยอด มาให้ข้อมูลข้าวไข่มดริ้น และป้าฉิ่ง แพ่งโยธา มาให้ข้อมูลข้าวเหนียวดำ, เหนียวกาบโหนด, เข็มทอง และได้พี่จำนงค์ อินอักษร มาช่วยดำเนินรายการสรุปข้อมูล

บทความแนะนำ