โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  
ชื่อวงศ์ : Pandanaceae
ชื่อสามัญ : Pandom wangi
ชื่ออื่นๆ :  เตย ต้นเตย ใบเตย  เตยหอม เตยหอมเล็ก เตยหอมใหญ่ หวานข้าวไหม้ ส้มพอดี ผักเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง ส้มปู ส้มม่า ปาแนะวองิง ปาแง๊ะออริง ปาแป๊ะออริง

ถิ่นกำเนิด :

เชื่อกันว่าเตยมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

เป็นไม้ยืนต้นที่มีพุ่มขนาดเล็ก โดยขึ้นเป็นกอ
ใบ เป็นใบเดี่ยวสีเขียวสดเรียงสลับเป็นเกลียวจนถึงยอดใบ มีลักษณะเรียวยาวเป็นรูปดาบ ปลายใบแหลม  แผ่นใบและขอบใบเรียบ แผ่นใบด้านล่างจะมีสีอ่อนกว่าด้านบน มีเส้นกลางใบลึกเป็นแอ่งเล็กน้อยตรงกลาง
ลำต้น มีลักษณะทรงกลมเป็นข้อสั้นๆ โคนลำต้นจะแตกรากแขนงออกเป็นรากค้ำจุน เป็นพืชไม่มีดอก

การขยายพันธุ์ :

ทำโดยการปักชำลำต้น หรือกิ่งแขนง

การใช้ประโยชน์ :

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์เป็นหลักคือใบ ซึ่งนำมาบดและคั้นน้ำเพื่อเป็นส่วนประกอบของการทำอาหารและขนม หรือใช้เป็นสารแต่งสีและกลิ่นสำหรับอาหารและของใช้ภายในบ้านแล้ว ยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายอีกหลายชนิด และเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาอีกด้วย

ใบเตยมีฤทธิ์เป็นยาเย็น เมื่อนำมาต้มกับน้ำเพื่อดื่มจะช่วยดับความกระหายน้ำได้เป็นอย่างดี รู้สึกสดชื่นมากขึ้น แก้อาการร่างกายอ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ และทำให้อัตราการเต้นของหัวใจลดลง ช่วยแก้ไข้ ดับพิษร้อนในร่างกาย แก้ร้อนใน เหมาะสำหรับผู้ที่มีธาตุเจ้าเรือนเป็นธาตุไฟ รักษาโรคหัด โรคอีสุกอีใส แก้อาการท้องอืดหรืออาหารไม่ย่อย นอกจากนี้ยังสามารถนำมาตำเพื่อรักษาโรคผิวหนังได้อีกด้วย

น้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จากใบเตยมีสรรพคุณช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายจากความตึงเครียด บรรเทาอาการวิงเวียนและปวดศีรษะ นอกจากนี้ยังช่วยแก้โรคลมชัก อาการหน้าท้องเกร็ง แก้เจ็บคอ ลดอาการอักเสบภายในลำคอ ส่วนรากและลำต้นเมื่อนำมาชงดื่มจะช่วยขับปัสสาวะและสลายก้อนนิ่วในไต เป็นยากระษัยที่ช่วยคลายความปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อ แก้ตานซางในเด็ก

ที่มา : http://www.thaichef.in.th

บทความแนะนำ