ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thunbergia laurifolia Lindl
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่อสามัญ : Laurel clockvine, Blue trumphet vine
ชื่ออื่น : รางเย็น คาย , ดุเหว่า, ทิดพุด, ย่่าแย้ แอดแอ, น้ำนอง, จอลอดิเออ ซั้งกะ ปั้งกะล่ะ พอหน่อเตอ , กำลังช้างเผือก ยาเขียว เครือเขาเขียว ขอบชะนาง , ว่านรางจืด
ถิ่นกำเนิด :
พบทั่วไปตามชายป่าดิบ ป่าละเมาะ ถิ่นกำเนิด เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะพฤกษศาสตร์ :
ต้นรางจืด เป็นไม้เลื้อยหรือไม้เถาที่มีเนื้อแข็ง ลำต้นหรือเถานั้นจะกลมเป็นปล้อง มีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม ลำต้นไม่มีขนและไม่มีมือจับเหมือนกับต่าลึง และมะระ แต่อาศัยลำต้นในการพันรัดขึ้นไป รางจืดเป็นพืชในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปเอเชีย จึงสามารถขึ้นได้ทั่วไปตามป่าดิบชื้นของประเทศไทยทั่วทุกภาค เจริญเติบโตได้เร็วมาก และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เถาในการปักชำ
ใบรางจืด เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบคล้ายรูปหัวใจหรือรูปใบขอบขนานหรือเป็นรูปไข่ โคนใบมนเว้า ปลายใบเรียวแหลม ใบกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร มีเส้นอยู่ 3 เส้นออกจากโคนใบ
ดอกรางจืด ลักษณะของดอกออกเป็นช่อห้อยลงมาตามซอกใบ ช่อละ 3-4 ดอก ดอกมีสีม่วงอมฟ้า มีใบประดับสีเขียวประแดง มีกลีบเลี้ยงรูปจาน ดอกเป็นรูปแตรสั้น โคนกลีบดอกมีสีเหลืองอ่อน โคนดอกเป็นหลอดกรวยยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เชื่อมติดกันเป็นหลอด และมักมีน้ำหวานบรรจุอยู่ภายในหลอด กลีบดอกมีปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 4 อัน
การขยายพันธุ์ :
เพาะเมล็ด ปักชำ
การใช้ประโยชน์ :
ตำรายาไทย ใช้ ใบ ราก และเถา รสจืดเย็น ตำคั้นหรือเอารากฝนกับน้ำหรือต้มเอาน้ำยาดื่มถอนพิษ แก้ไข้ ถอนพิษยาเบื่อเมา แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ประจำเดือนไม่ปกติ แก้ปวดหู ตำพอก แก้ปวดบวม เถาและใบ รับประทานแก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษร้อนต่างๆ ราก รสจืดเย็น แก้อักเสบ แก้ปวดบวม แก้เมาค้าง แก้อาการปวดหัวมึนหัวอันเนื่องมาจากพิษสุรา ถอนพิษสุรา พิษตกค้างในร่างกาย ใช้รากเข้ายารักษาโรคอักเสบและปอดบวม รากและเถา ใช้กินเป็นยารักษาอาการร้อนในกระหายน้ำ รักษาพิษร้อนทั้งปวง ทั้งต้น รสจืดเย็น
ตำรายาพื้นบ้านนครราชสีมา ใช้ ใบ แก้โรคเบาหวาน โดยใช้ใบประมาณ 58 ใบ มาโขลกให้ละเอียดผสมกับน้ำซาวข้าวรับประทานครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 เวลา
ที่มา : http://healthydee.moph.go.th
https://www.royalparkrajapruek.org