เก็บข้าว…ทิ่มเม่า : กิจกรรมคณะทำงานชาวนาทางเลือกภาคใต้ วันที่ 23 มกราคม 2552 ณ ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
ร่วมแรงร่วมใจเก็บข้าวสามสายพันธุ์
กิจกรรมในแปลงนารวมศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงได้เดินทางมาเกือบถึงวันที่จะพร้อม เก็บเกี่ยวและส่งมอบกลับมาเป็นกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้านของชาวนาในไม่ ช้านี้ และในวันนี้เอง (23 มกราคม 2552) ที่เหล่าพี่น้องชาวนาจากสามจังหวัดนัดหมายมาช่วยกันเก็บข้าวบางสายพันธุ์ที่ กำลังออกรวงสุกพร้อมเก็บเกี่ยว รวมทั้งช่วยกันเก็บข้าวเหนียวบางสายพันธุ์ที่อยู่ในระยะข้าวเม่าหรือที่ เรียกว่า “ดีเม่า” สำหรับนำมาใช้ในกิจกรรมทิ่มข้าวเม่าในช่วงเย็นอีกด้วย
จากการสำรวจข้าวในแปลงนารวม เราก็พบว่าข้าวที่สุกพร้อมเก็บเกี่ยวมีอยู่ด้วยกัน 3 สายพันธุ์ คือ ข้าวหอมจันทร์ (ที่สุกจนเริ่มล้มไปคนละทิศละทาง) ข้าวนางกลาย (ที่สุกกำลังดี) และข้าวเหนียวตอก (ที่เอาเข้าจริงๆ เป็นข้าวเจ้าไม่ใช่ข้าวเหนียว)
วันนี้ชาวนากว่า 60 ชีวิต จึงพร้อมเพรียงกันนำอุปกรณ์เก็บข้าวที่เรียกว่า “แกะ” ติดมือกันมา และเมื่อได้เวลาพร้อมหน้าพร้อมตาก็ชักชวนกันลงแปลงช่วยกันเรียงหน้าลงเก็บ ข้าวอย่างสนุกสนาน หลายคนยังเก็บข้าวด้วยความชำนาญ มีบางคนที่ไม่ได้เก็บกับแกะมานานแล้วจึงยังไม่คล่องนัก ส่วนบางคนก็คอยรวบรวบเลียงข้าวมาวางคันนาและดูแลบริการน้ำดื่มให้กับคนอื่นๆ ภาพความร่วมแรงร่วมใจที่เห็นในวันนี้จึงทำให้หลายคนอดนึกถึงคืนวันเก่าๆ ไม่ได้
เริ่มต้นด้วยการเก็บข้าวหอมจันทร์ แม้นาจะมีน้ำมากไปหน่อย และต้นข้าวก็ล้มไปคนละทาง แต่สำหรับชาวนาภาคใต้แล้วสบายมาก
ด้วยแกะอันเล็กๆ และการร่วมแรงร่วมใจของเหล่าชาวนานี้เอง ในเวลาไม่นานข้าวหอมจันทร์ก็ถูกเก็บเกี่ยวมาวางเรียงไว้ที่คันนา ยังไม่ทันเที่ยง ก็ได้ชวนกันย้ายไปเก็บข้าวนางกลายเป็นแปลงต่อไป
ถึงเวลาเที่ยงเป็นเวลาพักกินข้าว และเช่นเคยชาวนาแต่ละคนก็ได้พกข้าว กับข้าวและขนมมาให้คนอื่นๆ ได้ชมและชิมกันอย่างถ้วนหน้า กินกันไปคุยกันไป เก็บพลังไว้เก็บข้าวที่เหลือในช่วงบ่าย ประชุมคณะทำงานเครือข่ายชาวนาทางเลือกภาคใต้
ทั้งนี้ในช่วงบ่าย ได้แบ่งชาวนาออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มใหญ่ลงไปเก็บข้าวที่เหลือให้แล้วเสร็จ ส่วนกลุ่มที่สองลงไปเก็บข้าวเหนียวที่จะนำมาทิ่มเม่า และชาวนาอีกส่วนหนึ่งจำนวน 10 กว่าคน ได้ชักชวนกันมาปรึกษาหารือเกี่ยวกับการขับเคลื่อนขบวนงานเครือข่ายชาวทาง เลือกภาคใต้ ซึ่งเกี่ยวกับประเด็น “กองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้านทางเลือกภาคใต้” กำหนดทิศทางร่วมกันว่าหลังจากเก็บเกี่ยวทั้งหมดแล้ว กลุ่มชาวนาทางเลือกภาคใต้จะนัดหมายรวมตัวกันสรุปบทเรียนและวางแนวทางการขับ เคลื่อนงานในอนาคต โดยในเบื้องต้นจะให้แต่ละกลุ่มนำเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้านที่ได้รับกลับไป บริหารจัดการอนุรักษ์และขยายผลในพื้นที่ตามความเหมาะสม รวมทั้งจะจัดงาน “แลกเปลี่ยนพันธุกรรมข้าวพื้นบ้านภาคใต้ประจำปี” ร่วมกับกลุ่มองค์กรชาวนาและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจะมีการพบปะปรึกษาหารืออย่างสม่ำเสมอ และร่วมกันเป็นคณะทำงานหลักในการขับเคลื่อนขบวนการเครือข่ายชาวนาทางเลือก ภาคใต้
สำหรับการนัดหมายกิจกรรมในครั้งต่อไป มีดังนี้
1. งาน “ออกปากเก็บข้าวพื้นบ้าน” วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2552 ระหว่างเวลา 7.00 น. เป็นต้นไป เพื่อเก็บข้าวพันธุ์อื่นๆ ที่เหลืออยู่อีก 6 สายพันธุ์ โดยกำหนดให้เป็นกิจกรรมร่วมกันของชาวนาและเยาวชนจากทั้งสามจังหวัด
2. งาน “สรุปบทเรียนชาวนาทางเลือกภาคใต้” เพื่อ ให้ชาวนาได้มาช่วยกันสังเคราะห์และสรุปบทเรียนจากการดำเนินงานเรื่องพันธุ์ ข้าวพื้นบ้านและขบวนการชาวนาทางเลือกที่ผ่านมา (เนื้อหาตามการบ้านที่ฝากให้แต่ละกลุ่มกลับไปปรึกษาหารือในพื้นที่) ในเบื้องต้นกำหนดไว้ว่าจะใช้เวลา 2 วัน 1 คืน ส่วน วัน เวลา และสถานที่ ที่แน่นอนจะกำหนดหลังจากงานออกปากเก็บข้าวพื้นบ้าน
3. งาน “คืนกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน” ในเบื้องต้นกำหนดไว้วันศุกร์ที่ 3 เมษายน 2552 (ตรงกับวันขึ้น 9 ค่ำเดือน 5) ซึ่งเนื้อหาในงานอาจประกอบไปด้วยการส่งมอบเมล็ดพันธุ์ให้กับชาวนา การประกาศข้อเสนอของชาวนาทางเลือกในระดับจังหวัด ระดับภาค หรือระดับประเทศ เวทีสัมมนา เวทีวิชาการ รวมทั้งเวทีวัฒนธรรม เป็นต้น ซึ่งจะนัดหมายคณะทำงานชุดเล็กมาปรึกษาหารือและเตรียมงานต่อไป
ตกเย็นทิ่มเม่า ฟื้นวัฒนธรรมข้าวภาคใต้
เมื่อแดดร่มลมตก และเสร็จสิ้นจากการเก็บข้าวทั้งสามสายพันธุ์แล้ว เหล่าชาวนาก็ได้ชักชวนกันมาทิ่มเม่า ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่หาดูได้ยากแล้วในปัจจุบัน ลูกหลานชาวนาหลายคนรวมทั้งคนหนุ่มสาวบางคนที่ร่วมกิจกรรมก็ยังบอกว่าไม่เคย เห็นการทิ่มเม่ามาก่อน การจัดงานครั้งนี้จึงเป็นทั้งการสืบสานวัฒนธรรมดั้งเดิมและการสังสรรค์ตาม ประสาชาวนาภาคใต้ไปด้วยในตัว
ขั้นที่ 1 เก็บข้าวเหนียวสำหรับทิ่มเม่า
ขั้นที่ 2 นวดข้าวเป็นเมล็ด
ขั้นที่ 3 นำเมล็ดข้าวมาต้ม (กรณีข้าวสุก)
ขั้นที่ 4 คั่วด้วยกระทะให้ข้าวสุก
ขั้นที่ 5 แล้วก็ถึงเวลาทิ่ม..ทิ่ม.. จนเริ่มกลายเป็นข้าวเม่า
ขั้นที่ 6 แล้วก็นำมาฝัดเลือกเปลือกข้าวออก ก็จะได้ข้าวเม่าหน้าตาน่ากิน
ขั้นที่ 7 ขูดมะพร้าวเตรียมไว้ มาคลุกเคล้าก็จะเป็นขนมข้าวเม่าที่แสนอร่อย