แท้จริงแล้วการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อคุณภาพชีวิตไม่ได้ยุ่งยากจนเราทำเองได้ ทางเลือกเพื่อการบริโภค อาหารปลอดสารพิษสามารถทำได้โดย…
1.ปลูกผักกินเอง เริ่มจากผักที่กินบ่อยๆ เช่น พริก กะเพรา โหระพา เป็นต้น
2.กินผักพื้นบ้าน เช่น ตำลึง ดอกโสน ผักโขม ฯลฯ เพราะต้านทานแมลงได้ดีและเหมาะกับพื้นที่ ฤดูกาล
3.เลือกกินผักตามฤดูกาล เพราะผักผลไม้นอกฤดูกาลมักใช้ยาเร่ง ยาฆ่าแมลง
4.ให้สังเกตุอาหารที่เลือกซื้อ เมื่อลองกินแล้วพบว่าผิดปกติควรหลีกเลี่ยง
5.หลีกเลี่ยงผักผลไม้ที่ใช้สารเคมีเกินขนาด เช่น องุ่น ส้ม ถั่วฝักยาว ฯลฯ
6.ล้างน้ำหรือแช่ผัก ผลไม้ทุกครั้ง ควรแช่นานๆและล้างน้ำหลายๆครั้งให้สะอาด
7.ทำอาหารกินเองที่บ้านดีที่สุดการกินอาหารนอกบ้านเราไม่มีโอกาสตรวจสอบวัตถุดิบและสารปรุงแต่ง
8.เลือกสินค้าปลอดสารพิษ โดยสนับสนุนเกาตรกรหรือองค์กรหรือหน่วยงานที่ผลิตพืชผักและสินค้าปลอดสารพิษ
9.เปลี่ยนทัศนคติเรื่องต้องกินอาหารสวยๆเช่น ผักผลไม้สวยๆ ไม่มีตำหนิ สดอยู่ได้นาน ควรพิจารณาดูว่า ผักผลไม้หรือสินค้าเหล่านั้นมีธรรมชาติและเก็บได้นานแค่ไหน
10.การเลือกสินค้าเป็นการลงคะแนนเสียงทางสังคม ในการเลือกสินค้าทุกครั้ง โปรดตระหนักเสมอว่าการเลือกบริโภคสินค้าแบบใดถือเป็นการลงคะแนนเสียงทางสังคมให้กับการผลิตสินค้าแบบนั้น
ที่มา : จุลสารเพื่อนธรรมชาติ จากหนังสืออาหารปลอดสารพิษร้านค้าและแหล่งผลิต เรียบเรียงโดย ชื่นสุข อาศัยธรรมกุล,ตรียดา ตรีมรรคา, สารี ยินดีชาติ