โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Anethum graveolens L. 
ชื่อวงศ์ : APIACEAE / UMBELLIFERAE

ชื่อสามัญ : Dill 
ชื่ออื่นๆ : ผักชีเมือง  ผักชีเทียน ผักชีตั๊กแตน ผักชี เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน

ถิ่นกำเนิด :

เป็นพืชล้มลุกที่จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับผักชี มีถิ่นกำเนิดจากทั้งทางตอนใต้ของรัสเซีย ทางตะวันออกของยุโรป เอเชีย และแถบเมดิเตอเรเนียน ด้วยความที่ใช้กันมากหลายในอาหารลาวและอาหารอีสาน คนไทยจึงเรียกว่า “ผักชีลาว”

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

ราก รากผักชีลาว ประกอบด้วยรากแก้วที่มีขนาดสั้น และรากแขนงแตกออกจากรากแก้ว มีความยาวรากประมาณ 10-20 ซม.รากแทงลงในแนวดิ่ง

ลำต้น ผักชีลาวเป็นพืชล้มลุก มีอายุไม่ถึงปี มีลำต้นสูงประมาณ 40-120 ซม. ลำต้นกลม ลำต้นมีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5-10 มล. หรือประมาณไม้เสียบลูกชิ้นถึงเท่าแท่งดินสอ ลำต้นแตกกิ่งตั้งแต่โคนต้น ลำต้นมีสีเขียวเข้ม เนื้อลำต้นมีลักษณะอ่อน หักพับง่าย

ใบ ใบผักชีลาว เป็นใบประกอบ ออกตรงข้ามกันบริเวณข้อกิ่ง มีก้านใบยาว 10-20 ซม. บนก้านใบประกอบด้วยใบย่อยจำนวนมาก แต่ละใบย่อยมีก้านใบยาวประมาณ 4-6 ซม. แตกออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ส่วนของใบมีลักษณะเป็นเส้นแบนขนาดเล็ก มีสีเขียว ยาวประมาณ 0.5-2 ซม.

ดอก ดอกผักชีลาว ออกเป็นช่อหลายช่อในก้านดอก แทงออกบริเวณส่วนยอดของลำต้น มีก้านช่อดอกยาว 5-15 ซม. แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก ดอกประกอบด้วยกลีบดอกสีเหลืองเมล็ด

ผล 1 ผล เจริญมาจากดอก 1 ดอก เมล็ดมีรูปไข่ทรงรี ขนาดกว้างประมาณ 2 มล. ยาวประมาณ 4 มล. เมล็ดแห้งที่แก่จัดมีลักษณะแบน และมีลายสีน้ำตาลสลับดำอมเท่าพาดตามแนวยาวของเมล็ด

การขยายพันธุ์ :

เพาะเมล็ด

การใช้ประโยชน์

– ผลหรือเมล็ดมีน้ำมันหอมระเหย นำมาผลิตใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร อุสาหกรรมเครื่องสำอาง เช่น สบู่ โลชั่นบำรุงผิว เป็นต้น (ผล)
– ใบนิยมนำมาใส่แกงอ่อม แกงหน่อไม้ ห่อหมก น้ำพริกปลาร้า ผักชีลาวผัดไข่ ยอดของใบใช้รับประทานกับลาบและยังช่วยชูรสชาติอาหารอีกด้วย
– ผลนิยมนำมาบดโรยบนมันฝรั่งบดหรือสลัดผักเพื่อช่วยเพิ่มรสชาติของอาหาร
– ใบสดและแห้งนิยมนำมาโรยบนอาหารประเภทปลาเพื่อช่วยดับกลิ่นคาว
– น้ำมันผักชีลาวนำมาใช้แต่งกลิ่นผักดอง สตูว์ น้ำซอส ของหวาน และเครื่องดื่มรวมไปถึงเหล้าด้วย

 ที่มา : https://mgronline.com
https://medthai.com

บทความแนะนำ