โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

            แนวปฏิบัติในการดูแลข้าว

พี่สำเริง แซ่ตัน ได้อธิบายเพิ่มเติมว่านารวมที่ปลูกข้าวไว้นั้น เป็นนาที่ทิ้งไว้ไม่ได้ทำอะไร 2 ปี จึงมีโอกาสที่ความอุดมสมบูรณ์จะลดน้อยลง ประกอบกับข้าวที่ปลูกในนารวมก็เป็นข้าวที่อายุแตกต่างกัน การนำมาปลูกพร้อมกันและใส่ปุ๋ยพร้อมกันจึงส่งผลต่อการเจริญเติบโตของข้าวไม่ เท่ากัน ดังนั้นแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการดูแลข้าวให้เจริญเติบโตเต็มที่จึงควร…

                1. ในปีหน้าการวางแปลงปลูกข้าว ควรแยกแถวของข้าวอายุต่างๆ ให้อยู่ในโซนเดียวกัน เพื่อให้สะดวกต่อการจัดการและใส่ปุ๋ยบำรุงข้าว อีกทั้งการให้ปุ๋ยในช่วงไม่เหมาะสมทำให้ข้าวเจริญเติบโตไม่เต็มที่และเป็น การสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ โดยตามหลักการควรใส่ปุ๋ยครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง ดีกว่าการใส่ปุ๋ยมากๆ เพียงครั้งเดียว

2. การใส่ปุ๋ยครั้งแรกให้ใช้ในช่วง 7 – 10 วันหลังการปักดำ หรือ ถ้าเป็นปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพก็ควรใส่ก่อนหน้านั้นสักเล็กน้อยเพื่อให้ปุ๋ย กระจายตัวไปก่อนได้

3. การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ให้ใส่ช่วงก่อนออกรวง เพื่อให้อาหารไปสะสมในเมล็ดข้าว ถ้าให้ปุ๋ยหลังจากข้าวตั้งท้องไปแล้วจะไม่ค่อยได้ประโยชน์ และยิ่งถ้าใส่ในช่วงข้าวออกรวงแล้วจะยิ่งทำให้เมล็ดข้าวลีบได้เพราะปุ๋ยจะไป บำรุงต้นข้าวไม่ได้บำรุงรวงข้าว (การสังเกตช่วงนี้ให้ทำการฉีกกอข้าวดูข้อเป็นปุ่มเล็กๆ แล้วยัง ถ้าเป็นแล้วหลังจากนั้น 7 วัน ข้าวจะตั้งท้อง)

ทั้งนี้ ที่เห็นกันว่าข้าวพื้นเมืองที่ให้ผลผลิตน้อยกว่าเมื่อเทียบกับข้าวส่งเสริม ทั่วไปมีหลายสาเหตุ คือข้าวพื้นเมืองให้ผลผลิตไม่เต็มที่เพราะไม่สามารถควบคุมธรรมชาติได้ เช่น ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำ ไม่สามารถควบคุมสภาพดินฟ้าอากาศ รวมทั้งข้าวพื้นเมืองโดยทั่วไปมีจำนวนเมล็ดต่อรวง (ประมาณ 200 เมล็ด) มากกว่าข้าวส่งเสริม (ประมาณ 70 – 80 เมล็ด) แต่มักมีการแตกกอน้อยกว่าโดยเฉลี่ย จึงทำให้ผลผลิตรวมน้อยกว่า แต่ชาวนาสามารถปลูกข้าวพื้นเมืองให้ได้ผลผลิตดีได้ โดยต้องทำการปักดำในช่วงอายุที่เหมาะสม ใส่ปุ๋ยให้เหมาะสม และควรดูแลเอาใจใส่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ข้าวพื้นเมืองแม้ไม่ให้ปุ๋ยก็ยังให้ผลผลิตได้ ต่างจากข้าว กข. ที่ตอบสนองต่อปุ๋ยเต็มที่ ถ้าไม่ให้ปุ๋ยผลผลิตจะลดลงอย่างมาก เพราะถูกปรับปรุงมาให้ตอบสนองต่อปุ๋ยเคมีเป็นหลัก

เมื่อเสร็จจากการแลกเปลี่ยนเรื่องแปลงนารวมแล้ว ผู้ที่ได้เป็นตัวแทนเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การอนุรักษ์ พัฒนาและยกระดับความรู้ เรื่องข้าวพื้นบ้านในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน (ภาคใต้ – ภาคอีสาน) ระหว่างวันที่ 16 – 21 พฤศจิกายน 2551 ณ จังหวัดยโสธร จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดมหาสารคาม ได้มาถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆ ซึ่งสรุปได้ว่า “คำตอบของข้าวอยู่ในพื้นที่ของชาวนาเรานี้เอง” และชาวนาในเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกก็เป็นกลุ่มคนที่คิดคล้ายกัน และพยายามสร้างรูปธรรมให้สังคมเห็น ทั้งเรื่องแปลงนารวม เรื่องแปลงครอบครัว เรื่องการทำงานของ อบต. เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนอีสานมียุ้งฉางกันเกือบทุกครัวเรือน และมีเมล็ดพันธุ์เป็นของตัวเอง ดังนั้นประสบการณ์จากการดูงานครั้งนี้สร้างความประทับใจ และทำให้เกิดกำลังใจในการกลับมาทำงานในพื้นที่และขยายผลชักชวนเพื่อนบ้านใน ชุมชนต่อไป แม้ไม่ได้ทั้งหมดแค่เพียงเล็กน้อยก็จะเกิดผลดีแน่นอน

ในช่วงท้ายนั้น กลุ่มชาวนาทางเลือกได้นัดหมายที่จะกลับมาพบกันอีกครั้งในวันที่ 23 ธันวาคม 2551 ณ ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงที่เดิม เวลาเดิม เพื่อลงแปลงฝึกบันทึกลักษณะพันธุ์ รวมทั้งปรึกษาหารืองานขบวนเครือข่ายชาวนาทางเลือกภาคใต้ต่อไป..

บทความแนะนำ