ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barleria strigosa Willd
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่อสามัญ : –
ชื่ออื่น : สังกรณี บีปลาข่อ ดีปลาข่อ
ถิ่นกำเนิด :
มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน และทางตอนใต้จนถึงตอนกลางของประเทศจีนและแพร่กระจายไปยัง มอริเชียส เรอูนียง และหมู่เกาะวินด์เวิร์ด เป็นพืชที่ชอบแสงแดดเต็มวันและรำไร พบตามป่าดิบแล้งใกล้ลำธาร ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 200 เมตร ชอบแสงแดดเต็มวันและรำไร พบตามป่าดิบแล้งใกล้ลำธารที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 200 เมตร
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
– เป็นไม้พุ่มสูง 50-150 ซม. ลำต้น ตั้งตรง
– ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน ยาว 8-16 ซม. กว้าง 3-5 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ก้านใบ ยาว 1-3 ซม. ช่อดอก แบบช่อเชิงลด ออกที่ปลายยอด
– ดอก สมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยง มีสีเขียว รูประฆัง ยาว 5 มม. กลีบดอก สีม่วงอมแดง เชื่อมกันเป็นรูปคนโท ส่วนหลอดกลีบพองออกด้านเดียว ส่วนปลายแยกเป็น 5 แฉก
– ผล แบบแคปซูล ยาว 2.5-3.5 ซม.
การขยายพันธุ์ :
การขยายพันธุ์ต้นดีปลากั้งสามารถทำได้ด้วยกัน 3 วิธี เพาะเมล็ด ,ตอนกิ่ง ,ปักชำ
การใช้ประโยชน์ :
ราก ต้มแก้ไข้และแก้หืดหอบ โรคความดัน เบาหวาน ลำต้น ต้มบำรุงโลหิตบำรุงธาตุขับลมในลำไส้ บำรุงน้ำดี แก้กำเดา ช่วยขับปัสสาวะ
ใบอ่อน แก้เบาหวาน
ดอก ใช้ขับลมในลำใส้ ทำให้ผายลมและเรอ
ที่มา : https://sites.google.com/
https://rpplant.royalparkrajapruek.org/