โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

ชื่อวิทยาศาสตร์  : Cananga odorara  (Lamk.) Hook.f.& Th var.fruticosa
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE
ชื่อสามัญ :  –
ชื่ออื่น :  กระดังงอ  กระดังงาเบา  กระดังงาสาขา

ถิ่นกำเนิด :

          มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทยที่จังหวัดสงขลา และมีความแตกต่างกับต้นกระดังงาไทยก็คือ ต้นกระดังงาไทยนั้นเป็นไม้ยืนต้นที่มีความสูงประมาณ 8-15 เมตร ส่วนต้นกระดังงาสงขลานั้นจะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของต้นไม่เกิน 4 เมตร โดยจัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 1-2.5 เมตร บ้างว่าสูงประมาณ 1-4 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีเทาอมสีน้ำตาลและมีกลิ่นฉุน เนื้อไม้เปราะ ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ กิ่งตั้งฉากกับลำต้นปลายย้อยลู่ลง ที่กิ่งมีขนอ่อน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมกันมาก และอีกวิธีคือการตอนกิ่ง แต่ไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากกิ่งเปราะและหักได้ง่าย โดยต้นกระดังงาสงขลาที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะเจริญเติบโตได้ดีและมีความแข็งแรง ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าต้นที่เกิดจากการตอน แต่การออกดอกจะช้ากว่าต้นที่ได้จากการตอน เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ระบายน้ำดี มีความชื้นสูง ต้องการน้ำมาก แต่ไม่ทนต่อน้ำท่วมขัง ชอบแสงแดดแบบเต็มวัน หากปลูกในพื้นที่ที่มีแสงแดดแบบรำไรจะออกดอกน้อยและไม่แข็งแรง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

          ลำต้น เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของต้นไม่เกิน 4 เมตร โดยจัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 1-2.5 เมตร บ้างว่าสูงประมาณ 1-4 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีเทาอมสีน้ำตาลและมีกลิ่นฉุน เนื้อไม้เปราะ 
          ใบ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบมนเว้าหรือเบี้ยวเล็กน้อย ส่วนขอบใบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-14 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวบางและอ่อน มีเส้นแขนงของใบประมาณ 8-9 คู่ สามารถมองเห็นเส้นใบได้ชัดเจน และมีก้านใบยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร
          ดอก ดอกแทงออกบริเวณตั้งแต่กลางกิ่งจนถึงปลายกิ่ง แต่จะพบออกมากที่ปลายกิ่ง แทงออกเป็นกลุ่ม 1-6 ดอก ดอกมีสีเหลือง มีกลิ่นหอม ออกรวมกันเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว 0.5-1 เซนติเมตร ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 3 กลีบ เรียงกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ เมื่อบานเต็มที่ดอกกว้างประมาณ 4-5 เซนติเมตร ปลายกลีบดอกเรียวแหลมโค้งงอ
          ผล ผลออกเป็นกลุ่ม ลักษณะทรงกลม 4-15 ผล/พวง เมื่อแก่จะมีสีเขียวคล้ำเกือบดำ ด้านในประกอบด้วยเมล็ดรูปไข่ ทรงแบนสีน้ำตาลอ่อน กว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร

การขยายพันธุ์ :

          ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง

การใช้ประโยชน์/สรรพคุณ :

          – ดอกสดสามารถนำมาสกัดทำเป็นน้ำมันหอมระเหย ใช้แก้ลมวิงเวียนได้ (สกัดโดยวิธีการต้มกลั่น (Hydrodistillation) จะได้น้ำมันหอมระเหยร้อนละ 0.90เนื้อไม้และใบใช้ทำบุหงา อบร่ำ ใช้ทำน้ำหอม และน้ำมันหอมระเหย (Essential oil)
          – บ้างว่าใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางประเภทครีมหรือโลชัน จะช่วยลดความมันบนใบหน้าได้ (ไม่ยืนยัน)
          – ใช้เป็นส่วนประกอบในการทำขนม อบขนม อบข้าวแช่ (แต่ไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด)
          – แพทย์ตามชนบทใช้บำบัดรักษาโรคได้เช่นเดียวกับกระดังงาไทย[5]
          – นิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วประเทศ โดยใช้ตามสวน มุมอาคาร หรือปลูกเป็นกลุ่มแบบ 3 ต้นขึ้นไป เพื่อใช้เป็นฉากหรือบังสายตา ดอกมีกลิ่นหอมแรงในช่วงเช้าและเย็น สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี การปลูกและการดูแลรักษาทำได้ง่าย ไม่ค่อยมีโรคและแมลงมารบกวน อีกทั้งยังเป็นพันธุ์ไม้ที่มีราคาไม่แพงและให้ดอกมากอีกชนิดหนึ่ง จึงเหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มปลูกพันธุ์ไม้หอมมือใหม่ที่ไม่ควรมองข้าม

ที่มา : http://www.rspg.or.th
https://medthai.com/

บทความแนะนำ