ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia bellirica (Gaertn.) Roxb.
ชื่อวงศ์ : Combretaceae
ชื่อสามัญ : Beleric myrobalan
ชื่ออื่น : ลัน สมอแหน แหน แหนขาว แหนต้น สะคู้ ซิบะดู่ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่)
ถิ่นกำเนิด :
สมอพิเภกมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถได้โดยทั่วไปในประเทศแถบนี้ ในประเทศไทย สามารถพบได้ทั่วไปตามป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100 – 400 เมตร ต้นสมอพิเภก เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เป็นไม้ผลัดใบ มีความสูงราว 15-35 เมตร ลักษณะเป็นทรงเรือนยอดกลมแผ่กว้างและค่อนข้างทึบ มีลำต้นเปราตรง โคนต้นมักขึ้นเป็นพูพอน เปลือกต้นมีสีเทาอมน้ำตาลหรือเป็นสีดำ ๆ ด่าง ๆ เป็นแห่ง ๆ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น สมอพิเภกเป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ มีความสูง 25-50 เมตร ส่วนยอดแผ่กว้าง บริเวณโคนต้น มักมีรากค้ำยัน (พูพอน) ขนาดใหญ่ เปลือกหนาสีดำแกมขาวประปราย และมีรอยแตกเป็นร่องตามยาว
ใบ ใบสมอพิเภกเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับกัน รูปไข่กลับ กว้าง 2-10 เซนติเมตร ยาว 4-16
เซนติเมตร ปลายใบมนกลมหรือแหลม โคนใบสอบแคบ เนื้อใบค่อนข้างหนาเป็นมัน มีเส้นใบ 6-8 คู่ ก้านใบมีความยาว 3-9 เซนติเมตร และมักมีตุ่มหูดเล็กๆอยู่กลางก้านใบหรือใกล้ๆโคนใบ
ดอก ดอกสมอพิเภกมีสีเหลืองมีขนาดเล็กออกเป็นช่อตามง่ามใบ ช่อดอกยาว 3-15 เซนติเมตร เป็นดอกย่อยไม่มีก้านดอก ดอกเพศผู้จะอยู่ที่ปลายช่อ ส่วนดอกสมบูรณ์เพศจะอยู่ที่โคนช่อ มีกลีบรองดอกเชื่อมติดกัน มีขน ตอนล่างเป็นรูปท่อยาว 1.5-3 มิลลิเมตร ตอนบนแผ่ออกเป็นรูปถ้วยตื้นๆ กว้าง 0.4 เซนติเมตร ยาว 0.1 เซนติเมตร ส่วนปลายแยกเป็นกลีบรูปสามเหลี่ยม ไม่มีกลีบดอก เกสรตัวผู้มี 10 อัน และก้านเกสรตัวผู้ยาว 3 มิลลิเมตร รังไข่มี 1 ช่อง โดยท่อเกสรตัวเมียมีลักษณะเกลี้ยง ยาว 4 มิลลิเมตร
ผล รูปกลมหรือรี แข็ง กว้างประมาณ 1.5-2 ซม. ยาว 2.5-3 ซม. มีสัน 5 สัน ผิวนอกปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลหนาแน่น ผลอ่อนรสเปรี้ยว ผลแก่รสเปรี้ยวฝาดหวาน
เมล็ด เมล็ดเดี่ยวแข็ง เมล็ดในรสฝาด
การขยายพันธุ์ :
เพาะเมล็ด ปักชำตอนกิ่ง
การใช้ประโยชน์ :
– ผลอ่อน มีรสเปรี้ยว แก้ไข้ แก้ลม เป็นยาระบาย ยาถ่าย
– ผลแก่ มีรสฝาด แก้โรคในตา บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้ริดสีดวงทวารหนัก เป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน
– เมล็ดใน แก้บิด บิดมูกเลือด
– ใบ แก้บาดแผล
– ดอก แก้โรคในตา
– เปลือกต้น ต้มขับปัสสาวะ
– แก่น แก้ริดสีดวงพรวก
– ราก แก้โลหิต อันทำให้ร้อน
ที่มา : http://www.rspg.or.th
http://www.thaicrudedrug.com
https://www.chiangdaoherb.com