โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

ชื่อวิทยาศาสตร์  : Piper sarmentosum  Roxb.
ชื่อวงศ์ :   PIPERACEAE
ชื่อสามัญ :  Wildbetal Leafbush
ชื่ออื่น :  ช้าพลู ชะพลูเถา เฌอภลู ผักปูนา ผักปูลิง ผักปูริง ปูลิงนก ผักพลูนก ผักอีไร ผักอีเลิศ พลูลิง  เย่เท้ย  พลูนก ผักปูนก พลูลิงนก นมวา

ถิ่นกำเนิด :

                มีถิ่นกำเนิดมาจากหมู่เกาะมาเลย์และหมู่เกาะชวา ประเทศมาเลเซีย ถือเป็นผักสมุนไพรพื้นบ้านอีกชนิดที่อยู่คู่ครัวคนไทยมานานหลายทศวรรษทั้งในโหมดอาหารที่ทำได้หลากหลายเมนู เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ด้วยสภาพภูมิอากาศที่ไม่แตกต่างกันมาก จึงมีการเพาะปลูกชะพลูเติบโตได้ดีในประเทศไทย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

                ลำต้น เป็นเถาเลื้อยทอดไปตามพื้นดิน สูง 30-80 เซนติเมตร สีเขียว แบ่งเป็นข้อแต่ละข้อจะมีรากงอกออกมาช่วยยึดเกาะ
                ใบ เป็นใบเดี่ยว สีเขียวสด ออกเรียงสลับ แผ่นใบมีบาง ผิวใบเรียบเป็นมัน ลักษณะเป็นรูปหัวใจ กว้าง 5-10 ซม. ยาว 7-15 ซม. ปลายใบแหลม ฐานใบกว้าง โคนใบเว้า ใบมีกลิ่นฉุนและรสเผ็ดดอกมีสีขาว
                ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบ ดอกออกอัดแน่นเป็นทรงกระบอกยาว 
                ผล สดกลมอัดแน่นอยู่บนแกน

การขยายพันธุ์ :

                ขยายพันธุ์ ด้วยวิธีปักชำ เจริญเติบโตได้ทั่วไปตามที่เปียกชื้นปลูกง่าย โตไว

การใช้ประโยชน์ :

                คนไทยส่วนใหญ่นิยมนำใบของต้นชะพลูมาทำเป็นผักจิ้มรับประทานกับอาหารไทยหลายชนิด เช่น เมี่ยงคำ เมี่ยงปลาทู ชุบแป้งทอด หรือนำไปใส่ในอาหารประเภทแกงกะทิต่าง ๆ เป็นต้น
                ใบชะพลูจะมีรสเผ็ดร้อน ซึ่งช่วยขับเสมหะและทำให้เจริญอาหารยิ่งขึ้น
                รากต้นชะพลูมีรสเผ็ดร้อนและมีสรรพคุณทางตำรับยาไทย โดยใช้บำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ ขับเสมหะ แก้โรคบิด บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลมในลำไส้
                หากใช้ทั้งต้นชะพลูจะมีสรรพคุณเป็นยาช่วยรักษาโรคเบาหวานและโรคดีซ่าน

ที่มา : http://www.the-than.com
https://kaset1009.com

บทความแนะนำ