โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Abelmoschus esculentus Linn.
ชื่อวงศ์ :   MALVACEAE
ชื่อสามัญ : Okra
ชื่ออื่นๆ : –

ถิ่นกำเนิด :

มีถิ่นกำเนิดในแถบแอฟริกาตะวันตกในประเทศซูดาน และสันนิษฐานว่าน่าจะมีการนำเข้ามาในประเทศไทยหลังปี พ.ศ.2416 โดยจัดเป็นพืชล้มลุกที่มีอายุประมาณ 1 ปี

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ : 

ลักษณะทั่วไป กระเจี๊ยบเขียวเป็นพืชผักยืนต้น อายุประมาณ 1 ปี มีความสูง 40 เซนติเมตร ถึง 2 เมตร 
ลำต้น  มีขนสั้น ๆ มีหลายสี แตกต่างตามพันธุ์ 
ใบ  มีลักษณะกว้างเป็นแฉกคล้ายใบละหุ่ง แต่ก้านใบจะสั้นกว่า 
ดอก  มีสีเหลือง โคนดอกด้านในสีม่วง เมื่อบานคล้ายดอกผ้าย มีเกสรตัวผู้ตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน
ฝัก  มีรูปเรียวยาว ปลายฝักแหลม มีทั้งชนิดฝักกลมและฝักเหลี่ยม ซึ่งมีเหลี่ยม 5-10 เหลี่ยม ขึ้นกับพันธุ์  ในแต่ละฝักมีเมล็ด 80-200 เมล็ด
ฝักแก่  สีฝักจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และจะแตกออกตามแนวรอยสันเหลี่ยม ทำให้เห็นเมล็ดที่ข้างใ

การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด

การใช้ประโยชน์

มีวิตามินซี และแคลเซียมสูง เมื่อเทียบกับผักชนิดอื่น ประกอบด้วยสารจำพวกกัม(gum) และเพคติน (pectin) ในปริมาณสูง ทำให้อาหารที่ประกอบขึ้นจากฝักกระเจี๊ยบมีลักษณะเป็นเมือก ซึ่งช่วยป้องกันอาการหลอดเลือดตีบตัน สามารถรักษาโรคความดันโลหิต บำรุงสมอง ลดอาการโรคกระเพาะอาหารและยังมีสารขับพยาธิตัวจี๊ดได้ เป็นแหล่งที่ให้น้ำมันไม่น้อยกว่า 14 เปอร์เซนต์ มีศักยภาพเป็นแหล่งให้โปรตีนโดยมีปริมาณโปรตีนไม่น้อยกว่า 20 เปอร์เซนต์

ที่มา : https://www.sanook.com
https://medthai.com

บทความแนะนำ