โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Sauropus androgynus (L.) Merr.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE 
ชื่อสามัญ :
ชื่ออื่นๆ : ผักหวานใต้ใบ (สตูล) มะยมป่า (ประจวบคีรีขันธ์) ก้านตง ใต้ใบใหญ่ จ๊าผักหวาน ผักหลน (เหนือ)

ถิ่นกำเนิด :

เชื่อกันว่าผักหวานบ้านมีถิ่นกำเนิดมาจากผักหวานป่าที่อยู่ในประเทศศรีลังกา อินเดีย จนถึงทางตอนใต้ของประเทศจีน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ผักหวานบ้านเป็นไม้พุ่ม กิ่งก้านค่อนข้างเล็ก สีเขียวปนเทาใบเป็นใบเดี่ยว ก้านใบสั้น ดอกเดี่ยวออกตรงซอกใบ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกเพศกัน ผลรูปร่างคล้ายลูก มะยม เรียงกันอยู่ใต้ใบ ผลมี 3 พู สีขาวนวลและออกสีชมพูเล็กน้อย เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม ขนาดเล็ก ผักหวานบ้านมักพบในป่าธรรมชาติ เช่น ป่าทุ่ง ป่าผสมผลัดใบ ป่าแดง และตามบริเวณ ทุ่งนา ชาวบ้านนิยมนำมาปลูกไว้ข้างบ้าน

 

การขยายพันธุ์

การปักชำหรือเมล็ด

การใช้ประโยชน์ :

          ยอดอ่อน ใบอ่อน ลูกอ่อน ของผักหวานบ้านรับประทานเป็นผักได้ยอดยอดอ่อนตลอดทั้งปี แต่ผลิมากในฤดูฝน ยอดอ่อนและใบอ่อนนำมาต้ม ลวก นึ่ง ผัดน้ำมัน ให้สุกและรับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกรสจัด หรืออาจนำผักหวานบ้านมาปรุงเป็นอาหาร เช่น แกงกับหมู แกงกับปลา แกงเลียงของชาวบ้านภาคกลาง และแกงอ่อมของชาวอีสาน

          ราก ระงับความร้อนถอนพิษไข้ซ้ำไข้กลับเนื่องจากการรับรับประทานของแสลง หมอพื้นบ้านภาคกลางใช้ฝนทาแก้โรคคางทูม และหมอพื้นบ้านภาคเหนือ ใช้รากผักหวานบ้านแก่นในของฝักข้าวโพด รากมะแว้ง และรากผักดีด ฝนกับน้ำอย่างละเท่า ๆ กันให้เด็กหรือผู้ใหญ่รับประทานแก้ไข้ ไข้หัด ไข้อีสุกอีใส ผักหวานบ้าน รสหวาน เย็น ช่วยบรรเทาความร้อนในร่างกาย

ที่มา : https://sites.google.com
http://www.thaichef.in.th

บทความแนะนำ