โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

การเดินทางของพันธุกรรม…สู่อิสรภาพ

หลังจากที่มีการปฏิวัติด้านการเกษตรกรรมภายในประเทศขนานใหญ่ส่งผลโดยตรงต่อการใช้พันธุกรรมในการผลิต อันเนื่องมาจากระบบแบบใหม่นั้นเน้นการผลิตเชิงเดี่ยวที่เข้มข้น มีการใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี เพื่อให้ได้ผลผลิตในปริมาณที่สูงโดยใช้พันธุกรรมเพียงไม่กี่ชนิดโดยอาศัยกลไกทางการตลาด จนส่งผลให้บทบาทของเกษตรกรในฐานะผู้มีความเชี่ยวชาญในการคัดเลือก อนุรักษ์ และใช้ประโยชน์สายพันธุ์พืชและสัตว์ที่เหมาะสมกับลักษณะนิเวศภายในแปลงของตนเอง รวมถึงการลดทอนคุณค่าจากการเป็นผู้มีความรู้สู่การเป็นแรงงานและผู้พึ่งพาด้านความรู้และปัจจัยการผลิตจากภายนอก

          ระบบการผลิตแบบใหม่ที่นำไปสู่การผูกขาดด้านความรู้ พันธุกรรมและเทคโนโลยีนั้นไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกรได้ เนื่องมาจากการผลิตที่มากขึ้น เข้มข้นขึ้นไม่ได้ช่วยให้มีรายได้ที่มั่นคง มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจนนำไปสู่การสร้างกระบวนการในการวิเคราะห์ทบทวนถึงนโยบายด้านการพัฒนาที่ผ่านมาโดยกลุ่มเกษตรกร และองค์กรพัฒนาเอกชนถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้พันธุกรรมที่ไม่หลากหลายทั้งที่ด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมจนเกิดแนวคิดในรื้อฟื้นภูมิปัญญาในการจัดการพันธุกรรมของตนเองขึ้นมาอีกครั้งโดยมีกระบวนการสำคัญ 4 ประการ คือ

          การอนุรักษ์พันธุ์ พันธุกรรมพื้นบ้านมีการคัดเลือก ใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมกับลักษณะนิเวศมาเป็นระยะเวลายาวนาน ไม่ต้องอาศัยระยะเวลาในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม จึงมีความแข็งแรง ทนทานมากกว่าสายพันธุ์สมัยใหม่  แต่ส่วนหนึ่งได้สูญหายไปในช่วงที่มีการสนับสนุนการเกษตรแผนใหม่ เช่น จากการสำรวจในพื้นที่ตำบลกำแมด อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร* พบว่าข้าวที่ปลูกเกือบทั้งหมดมีเพียง 2-3 สายพันธุ์ในช่วงปี2550 ซึ่งเป็นข้าวที่ได้รับการส่งเสริมมาจากภายนอก หรือสายพันธุ์ทุเรียนพื้นบ้านที่เคยมีอยู่หลากหลายได้สูญหายไปจากตลาดพบเพียงพันธุ์หมอนทอง ก้านยาวและชะนี เป็นต้น จึงเกิดการรวมรวมพันธุกรรมพื้นบ้านกลับมาสู่ชุมชนอีกครั้งโดยการออกสำรวจ ค้นหาพันธุกรรมเหล่านี้จากทั้งในและนอกพื้นที่ รวมถึงรื้อฟื้นภูมิปัญญาที่มีอยู่ในการดูแลรักษา เก็บพันธุกรรมทั้งในรูปแบบของเครือข่ายเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรและผู้สนใจในระดับครอบครัว เช่น การสำรวจพันธุกรรมข้าวพื้นบ้านของเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสานในปี2540 พบว่ามี 32 สายพันธุ์ จึงจัดเวทีในการสร้างกระบวนการวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนพันธุกรรมขึ้นในเวลาต่อมาซึ่งช่วยให้เกิดการกระจายในการอนุรักษ์สายพันธุ์ข้าวพื้นบ้านมากขึ้น หรือการรวมรวมองค์ความรู้และพันธุกรรมในพื้นที่ไร่หมุนเวียนของเครือข่ายเกษตรกรรมบนพื้นที่สูงซึ่งพบว่ามีความหลากหลายถึงกว่าร้อยสายพันธุ์มีทั้งพืชอาหาร สมุนไพร ไม้ใช้สอยและพืชที่ใช้ในพิธีกรรม เป็นต้น

          การปรับปรุงพันธุ์ หลังจากที่มีการสำรวจและรวบรวมพันธุกรรมพื้นบ้านนำมาอนุรักษ์ในถิ่นที่อยู่แล้วได้มีการรื้อฟื้น พัฒนาองค์ความรู้ด้านการปรับปรุงพันธุ์ให้ได้สายพันธุ์ที่มีความบริสุทธิ์(มีความนิ่ง ความคงตัว มีคุณสมบัติตามลักษณะที่แท้จริงของพันธุ์)ควบคู่กันไป ผ่านการศึกษาเรียนรู้จากที่ต่างๆ เช่น การเรียนรู้เรื่องการคัดพันธุ์ข้าวแบบแกะข้าวกล้องจากมูลนิธิข้าวขวัญ หรือการปักดำแบบกีบเดียว(System of Rice Intensification, SRI) จากศูนย์วิจัยข้าวจนนำมาสู่การพัฒนารูปแบบการทำแปลงนารวมคัดเลือกข้าวพันธุ์กรโดยการประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากทั้ง 2 แหล่งเข้าด้วยกัน เป็นต้น 

บทความแนะนำ