โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

สร้างความสามัคคี สร้างความมั่นคงทางอาหาร สร้างธนาคารชุมชน

การสร้างความสามัคคีกับคนในชุมชน เป็นการแก้ปัญหาของชุมชนในเรื่องความแตกแยก การเห็นแก่ตัว การแย่งชิงทรัพยากร โดยการจัดตั้งกลุ่ม และจัดให้มีเวทีพูดคุย และสร้างกิจกรรมร่วมกัน เช่นจัดให้มีการประชุมร่วมกันเป็นประจำทุกเดือน การคิดแก้ปัญหาร่วมกัน และการสร้างผลประโยชน์ร่วมกัน

การสร้างความมั่นคงทางอาหาร เป็นแก้ปัญหาจากการทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และวิถีวัฒนธรรมชองชุมชน โดยการรักษาฐานการผลิตอาการ เช่น

      – ที่ดินทำกิน เช่น พื้นที่ทำนา ทำไร่ ปลูกพืช ผัก ผลไม้ ต้องมีการปกป้อง

      – น้ำในการบริโภคและใช้ในการทำการเกษตร ปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ต้องมีการฟื้นฟู

      – ป่า ซึ่งเป็นต้นกำเนิดที่ทำให้ดินดี น้ำดี มีพันธุกรรมที่หลากหลาย ต้องมีการรักษา

      – พันธุกรรมท้องถิ่น ที่มีคูณค่าทางอาหารและยา ต้องมีการอนุรักษ์

      – วัฒนาธรรม ในการปกป้องทรัพยากร และการอยู่ร่วมกันในสังคม ต้องมีการสืบทอด

สร้างธนาคารชุมชน โดย การจัดตั้งกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงบ้านคอกช้างขึ้นเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม 2551 มีสมาชิกก่อตั้ง 10 คน กองทุนออมทรัพย์ 1,000 บาท โดยมี นางนิภาพร คงสบาย เป็นประธานกลุ่ม ปัจจุบัน ณ. วันที่ 5 มิ.ย. 53 มีสมาชิก 82 คน กองทุนออมทรัพย์ ประมาณ 140,000 บาท

กิจกรรม ของกลุ่ม จัดตั้งกองทุนออมทรัพย์ จากสมาชิกคนละ 100 บาทต่อเดือน ปล่อยเงินกู้ให้สมาชิกไปใช้ตามความจำเป็น โดนคิดตอกเบี้ย ร้อย ละ 1 บาท/เดือน จัดสวัสดิการให้กับสมาชิกและคนทำงาน ตามสัดส่านจากรายได้ที่เกิดขึ้นจากการให้กู้เงิน 70-20-10 โดย 70% เฉลี่ยปันผลสมาชิก 20% เป็นค่าตอบแทนคนทำงาน10% เป็นค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์เครื่องใช้ และสร้างความมั่นคงทางอาหาร เช่นการปลูกข้าวไร่ ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์

นายหม้อหราด หวังสป แกนนำสมาชิกบ้านห้วยน้ำขาว เป็นวิทยากร เรื่องการขับเคลื่อนงานชาวนา ได้กล่าวถึงหลักคิดในการทำนาปลูกข้าวไว้กินเอง

นายชัยวัชต์ ขาวแขก สอ.บต, ตำบลคลองพน เป็นวิทยากรในการขับเคลื่อนงานการปลูกข้าวไร่ และการรวมกลุ่มซอแรงงานการทำไร่

ถึงเวลาลงมือ สมาชิก และผู้มาร่วมเรียนรู้ ได้ลงไปเรียนรู้ในแปลงจริงๆ และมีวันนี้ก็เป็นวันที่มีการลงแขกอีกวันหนึ่งที่ทำงานอยู่ก่อนแล้ว ประมาณ สิบกว่าคน ที่นอกเหนือจากการเข้าร่วมเวทีวันนี้

การทำหลุม หรือภาษาท้องถิ่นเรียกว่าการแทงสัก

การปลูกข้าว หรือภาษาท้องถิ่นเรียกว่าการหนำข้าว

แทงสัก..หนำข้าว  ร่วมแรงร่วมใจ

ปลูกข้าวพื้นบ้าน ปลูกความสัมพันธ์

นอกเหนือจากการได้ร่วมกันหนำข้าวแล้ว ก่อนจากกันได้มีการถ่ายรูปร่วมกัน และมีการมอบพันธุ์ข้าวท้องถิ่นและพืชผักพื้นบ้าน เป็นที่ระลึกและนำไปขยายพันธุ์ในพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนใต้ และจากการเชื่อมโยงกันในวันนี้ได้มีการสัญญาซึ่งกันและกันว่าจะไปเยี่ยม เยือนและช่วยเหลือซึ่งกันและกันเหมือนการซอแรงงานในชุมชนบ้านคอกช้าง และในเวทีครั้งนี้ได้มี “ไอ้คอ” หรือ “ไอ้เกลอ” กันถึงสองคู่

บทความแนะนำ