โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

ประมวลข้อเสนอของคณะทำงานชาวนาทางเลือกภาคใต้จากเวทีสรุปบทเรียนการจัดการพันธุกรรมข้าวพื้นบ้านชาวนาทางเลือกภาคใต้

เรียบเรียงโดย นาถพงศ์ พัฒนพันธ์ชัย
เมื่อวันที่ 26-27 มีนาคม 2552 


ที่ผ่านมา คณะทำงานชาวนาทางเลือกภาคใต้ ร่วมกับศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคใต้ และมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย)

ได้ร่วมกันจัด “เวทีสรุปบทเรียนการจัดการพันธุกรรมข้าวพื้นบ้านชาวนาทางเลือกภาคใต้” ขึ้น ณ ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง อ.เมือง จ.พัทลุง เพื่อให้เกิดการประมวล สังเคราะห์ และสรุปบทเรียนการจัดการพันธุกรรมข้าวพื้นบ้านขององค์กรชาวบ้านในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งเป็นเวทีสำหรับการปรึกษาหารือเพื่อกำหนดทิศทางและแนวทางขับเคลื่อน งานของขบวนการชาวนาทางเลือกภาคใต้ในอนาคต ทั้งนี้ ข้อเสนอที่เกิดขึ้นจากเวทีในวันนั้นสามารถประมวลได้ดังต่อไปนี้ ข้อเสนอแนวทางขับเคลื่อนขบวนชาวนาทางเลือกภาคใต้
– การพัฒนายกระดับอุดมการณ์ชาวนาและสร้างให้ศักดิ์ศรีชาวนาหวนกับคืนมา – การขยายพื้นที่ปลูกข้าวพื้นบ้านและพัฒนาเป็นแหล่งขยายเมล็ดข้าวพื้นบ้านที่ เหมาะสมกับชุมชนอย่างน้อยชุมชนละ 2-3 สายพันธุ์
– การพัฒนาอาสาสมัครพันธุกรรมข้าวพื้นบ้านและแปลงรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้น บ้านอย่างน้อย 12 จุด ใน 3 จังหวัดลุ่มทะเลสาบสงขลา (พัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช)
– หนุนเสริมความเข้มแข็งของกลุ่มองค์กรชาวนา ผ่านเวทีพบปะหารือหรือการทำกิจกรรมร่วมกันเป็นระยะ รวมทั้งให้มีเวทีพบปะเยี่ยมเยือนไปในแต่ละพื้นที่ เพื่อสร้างกำลังใจและปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน
– การขยายผลเรื่องพันธุกรรมข้าวพื้นบ้านภาคใต้ในวิถีนาอินทรีย์ให้กลับชาวนาและกลุ่มองค์กรเกษตรกรอื่นๆ ที่สนใจ
– ผลิตสื่อ/สิ่งพิมพ์ สำหรับการรณรงค์เผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชุมชน วิถีวัฒนธรรมข้าว และคุณค่าของข้าวพื้นบ้านภาคใต้ให้สังคมรับรู้ในวงกว้าง
– สร้างการเชื่อมโยงสืบทอดภูมิปัญญาและวิถีวัฒนธรรมข้าวให้กับกลุ่มเยาวชน คนรุ่นใหม่ และคนทั่วไปในชุมชน รวมทั้งการเชื่อมโยงกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียน วัด สภาองค์กรชุมชน ฯลฯ ให้เห็นความสำคัญของข้าวพื้นบ้านและวิถีชาวนา
– บริหารจัดการกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้านทางเลือกภาคใต้ และใช้เป็นกลไกในการขยายผลเรื่องพันธุกรรมข้าวพื้นบ้านและวิถีชาวนาไปยัง ชุมชนอื่นๆ
– จัดงานแลกเปลี่ยนพันธุกรรมพื้นบ้านภาคใต้เป็นประจำทุกปี เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนพันธุ์พื้นบ้าน (ข้าว ผัก สัตว์) ระหว่างกัน และเป็นเวทีสำหรับการปรึกษาหารือการขับเคลื่อนขบวนการของชาวนาและกลุ่ม องค์กรชาวนา
– พัฒนากลไก “คณะทำงานชาวนาทางเลือกภาคใต้” เพื่อร่วมขับเคลื่อนข้อเสนอข้างต้นให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งคณะทำงานประกอบด้วยตัวแทนชาวนาจากสามจังหวัดลุ่มทะเลสาบสงขลา (พัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช) ตัวแทนจากหน่วยราชการ (ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง กรมพัฒนาที่ดิน) และตัวแทนจากองค์กรพัฒนาเอกชน (เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคใต้) รวมทั้งที่ปรึกษาทั้งจากส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง (เช่น มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน มูลนิธิชีวิตไท มหาวิทยาลัยในท้องถิ่น เป็นต้น) ข้อเสนอเชิงนโยบายในระดับท้องถิ่น
– เชื่อมโยงกับ อปท. รร. วัด กลุ่มสุขภาพชุมชน สภาองค์กรชุมชน ฯลฯ ให้เห็นความสำคัญของข้าวพื้นบ้านอินทรีย์และวิถีชาวนาทางเลือก รวมทั้งประสานเชื่อมโยงกับแผนงานหรือข้อบัญญัติของ อปท.
– ผลักดันใน อปท. มีข้อกำหนดในการควบคุมการใช้สารเคมีทางการเกษตร รวมทั้งสนับสนุนการรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเตรียมปัจจัยพื้นฐาน สำหรับสนับสนุนการทำนาข้าวพื้นบ้านอินทรีย์ เช่น การพัฒนาแหล่งน้ำ การรักษาสายคลอง เป็นต้น
– ประสานความคิดให้ อปท. เข้ามามีบทบาทในการการสงวนและรักษาฐานทรัพยากรอาหาร โดยเฉพาะการรักษาพื้นที่นาจากการถูกรุกโดยพืชเศรษฐกิจ (ยาง/ปาล์ม)
– ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนมี “ข้าวพื้นบ้านประจำท้องถิ่น” ที่เหมาะสมและมีศักยภาพในการอนุรักษ์และพัฒนา ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวพื้นบ้านประจำถิ่นที่เด่นๆ 1-2 พันธุ์ เพื่อพัฒนาเป็นสินค้าที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน และให้การคุ้มครองสิทธิของชุมชนในพันธุ์เหล่านั้น
– สร้างหลักสูตร “วิถีวัฒนธรรมชุมชนชาวนา” ให้เป็นหลักสูตรประจำท้องถิ่น
– สนับสนุนให้มีการดำเนินการขยายผลการปลูกข้าวพื้นบ้านอินทรีย์และฟื้นฟูวิถีวัฒนธรรมชาวนาภาคใต้
– จัดให้มีกองทุนปฏิรูปที่ดิน เพื่อปกป้องรักษาพื้นที่ฐานทรัพยากรอาหาร โดยเฉพาะการป้องกันการบุกรุกจากนายทุนและทุนข้ามชาติ ข้อเสนอเชิงนโยบายในระดับภาคใต้
– พลิกฟื้นวิถีอุดมการณ์ชาวนาภาคใต้ในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน
– สนับสนุนการรวมตัวของเครือข่ายชาวนาทางเลือกภาคใต้ และสร้างให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน
– จัดเวทีประชุมสัมมนาชาวนาภาคใต้ เพื่อระดมความเห็นและข้อเสนอในระดับนโยบาย เช่น เรื่องกองทุนชาวนา สิทธิชาวนา เป็นต้น
– ปกป้องวิถีชุมชนชาวนาภาคใต้จากโครงการพัฒนาและนโยบายของภาครัฐที่สร้างผลกระทบกับวิถีชีวิต ข้อเสนอเชิงนโยบายในระดับประเทศ
– สังคมไทยเป็นสังคมที่เคารพในวัฒนธรรมข้าว ตระหนักถึงคุณค่าของข้าวพื้นบ้านและชาวนารายย่อย รวมทั้งมีมาตรการในการปกป้องรักษาวิถีชุมชนชาวนาให้ดำรงอยู่สืบไป
– สร้างความเข้มแข้งและสนับสนุนให้มีการจัดการผลผลิต (การแปรรูป การตลาด ฯลฯ) โดยกระบวนการกลุ่มชุมชน/กลุ่มเกษตรกรรายย่อย
– สร้างสวัสดิการให้กับชาวนารายย่อย โดยเฉพาะการให้มีกองทุนสำหรับการรักษาฐานทรัพยากรอาหารของชุมชน
– ปฏิเสธข้าวจีเอ็มโอและมีมาตรการในการจับตาไม่ให้มีการเข้ามาของข้าวจีเอ็มโอในวิถีการผลิตของสังคมไทย


บทความแนะนำ