โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

 การจัดกระบวนการเรียนรู้ของแต่ละพื้นที่

1. การเรียนรู้ผ่านกระบวนการโรงเรียนชาวนา ซึ่งเป็นการรวมตัวของเกษตรกรเพื่อสร้างแปลงรวมและเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งด้านการเพาะปลูก การจดบันทึกลักษณะสายพันธุ์ เช่น โรงเรียนชาวนา บ้านป่าอ้อย อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน ซึ่งรับพันธุ์ข้าวคืนนา มะน้ำปั๋ว ผาโก่งน้อย ขี้ต้มขาว นางเก๋าและ เจ้าดอ ไปปลูกร่วมกัน โดยมีศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้เป็นผู้คอยสนับสนุนด้านข้อมูลต่างๆและจัดหลัก สูตรต่างๆให้กับนักเรียนชาวนา

2. แปลงรวมเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน เป็นการรวมกลุ่มกัน เลือกสถานที่ในการเป็นแปลงทดลอง แล้วให้สมาชิกแต่ละคนมาเรียนรู้ร่วมกันผ่านแปลงทดลอง เช่น ภูมินิเวศยโสธร ได้รวมตัวกันสร้างแปลงนารวมเพื่อศึกษาคุณลักษณะของข้าวพันธุ์ท้องถิ่น สมาชิกกลุ่มจะมีการมาประชุมร่วมกัน ทำการจดบันทึกลักษณะพันธุ์ ปรึกษาหารือเรื่องราวต่างๆและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร

3. ทำร่วมกับหน่วยงานอื่น เป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างเกษตรกรกับหน่วยงานในชุมชนเพื่อทำการศึกษา พันธุกรรมข้าวร่วมกัน เช่น ภูมินิเวศกาฬสินธุ์ มีการสร้างความร่วมมือกับโรงเรียน ให้นักเรียนเป็นผู้เพาะพันธุ์ข้าว พร้อมทั้งดูแล จดบันทึกลักษณะของสายพันธุ์ ซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงานในชุมชน และเปิดโอกาสให้เยาวชนได้เรียนรู้เรื่องข้าวร่วมกับผู้ใหญ่ หรือภูมินิเวศสุรินทร์ หลังจากที่ได้รับพันธุ์ข้าวคืนนาไปแล้วก็ได้มีการนักประชุมผู้นำ หมู่บ้านเพื่อมาหารือในการจัดการกับเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ได้มา ซึ่งท้ายที่สุดก็ตกลงตั้งคณะทำงานในการดูแลร่วมกันจำนวน 25 คนเพื่อจัดการแปลง ทำการเพาะปลูก จดบันทึกและเรียนรู้ร่วมกันในข้าวที่ได้รับไป เนียงกวง ชบาสราล กระโตม ผาแดง นางกอง

4.ให้เกษตรรายบุคลเป็นผู้รับผิดชอบ เป็นการแบ่งเมล็ดพันธุ์ให้กับเกษตรกรผู้ที่สนใจในพันธุ์ข้าวนั้นๆไปรับผิด ชอบในการปลูก ดูแลรักษา จดบันทึกลักษณะประจำพันธุ์ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาแลกเปลี่ยนกันกับผู้ที่สนใจรายอื่น เช่น จังหวัดสงขลาแบ่งกันจัดการในเรื่องการปลูก โดยให้ คุณรัญจวน ปรีชา เป็นผู้คอยดูแลสายพันธุ์ข้าวที่ได้รับไป แล้วนำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนกับพื้นที่อื่น

บทความแนะนำ