โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

สรุปบทเรียนข้าวคืนนาบอกเล่าเรื่องราว หลังขวบปีที่ได้พาแม่โพสพกลับบ้าน

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 

เกษตรกรจากเครือข่ายการทำงานด้านเกษตรในภูมินิเวศต่าง ๆ เจ้าหน้าที่องค์กรร่วมจัด นักวิชาการที่เกี่ยวข้อง จากภาครัฐและเอกชน กว่า 200 คน มารวมกันในงาน “ ข้าวคืนนา” เพื่อขอรับพันธุ์ข้าวพื้นบ้านกลับไปปลูกรักษาไว้ยังถิ่นฐานดั้งเดิมที่แม่ โพสพได้จากมาก โดยการจัดงานครั้งนั้นมีวัตถุประสงค์สำคัญ 4 ประการ คือ

1 ) เพื่อสนับสนุนให้ชาวนาและชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองใน ภูมินิเวศต่าง ๆ เพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ และนำพันธุ์ข้าวพื้นเมืองไปพัฒนา และใช้ประโยชน์ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตวัฒนธรรมและประเพณีของแต่ละท้องถิ่น

2 ) เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมแบ่งเบาภาระในการอนุรักษ์พันธุ์ข้าว การบริหารความงอกของเมล็ดพันธุ์ ข้าว และเพื่อลดข้อจำกัดของการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวในรูปแบบธนาคารพันธุกรรม

3 ) เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโดยทำ ให้พันธุกรรมข้าวที่มีสามารถปรับตัวกับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศได้ตาม สภาพจริง

4 ) เป็นการป้องกันการสูญพันธุ์ของข้าวที่จะเกิดในอนาคต โดยสาเหตุด้านการตลาด และสาเหตุต่างๆ ที่เกิดจากการพัฒนาที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า ระยะเวลากว่าปีได้ล่วงเลยผ่าน ข้าวพื้นบ้านที่ได้รับมาทั้ง 104 สายพันธุ์ กระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ ใน20จังหวัด เกษตรกรจึงได้ร่วมสรุปผลจากการนำข้าวสายพันธุ์ต่างๆไปปลูกร่วมกัน

ภาคเหนือ 1 จังหวัด ได้แก่ น่าน มี 5 พันธุ์ภาคอีสาน 10 จังหวัด มี 56 พันธุ์ ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น อุดรธานี ชัยภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานีภาคกลาง 5 จังหวัด มี 27 พันธุ์ ได้แก่ พิจิตร นครสวรรค์ เพชรบุรี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทราภาคใต้ 4 จังหวัด มี 21 พันธุ์ ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี

บทความแนะนำ