โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

วิกฤตอาหารและวิกฤตเศรษฐกิจที่ประเทศไทยกำลังเผชิญขณะนี้ ยังคงอยู่ระหว่างการรับมือและยังคงไม่มีแนวทางการตั้งรับหรือแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที ความเจ็บช้ำที่ยังคงอยู่กับเกษตรกรและชาวนาแม้ราคาของสินค้าหลายอย่างจะเพิ่มสูงขึ้น แต่ราคาสินค้าเกษตรยังคงตกต่ำและมีข่าวผลผลิตล้นตลาดอย่างต่อเนื่อง

.

งานมหกรรมแลกเปลี่ยนพันธุกรรมพื้นบ้าน ที่บ้านสวนซุมแซง เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ที่ผ่านมา คุณอารัติ แสงอุบล ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์ข้าวในประเทศ และคาดการณ์การรับมือวิกฤตที่เกิดขึ้นขณะนี้

.

[ข้าวแพงแต่ชาวนายังขาดทุน]

สถานการณ์ข้าวในตลาดปัจจุบันมีความมั่นคงน้อยมาก ประเทศไทยส่งออกข้าวประมาณ 34 ล้านตัน จากพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 70 ล้านไร่ เน้นพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตมากแต่คุณภาพไม่สูง (ข้าวแข็ง) ปัจจัยสำคัญในการผลิตอีกอย่างคือที่ดิน แต่พื้นที่การผลิตก็มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์การทำนาไปไม่รอด เพราะชาวนาไม่ได้อยู่กับเศรษฐกิจค้าข้าว เป็นเพียงผู้ผลิตอาจไม่เพียงพอ แต่ต้องวางแผนการผลิต และทำการตลาดด้วย

.

การส่งออกข้าวของประเทศไทย สู้ประเทศเพื่อนบ้านไม่ได้ เพราะไทยเน้นส่งออกข้าวแข็ง ซึ่งส่งออกได้น้อยกว่าประเทศอินเดีย และเวียดนาม เพราะสองประเทศสามารถผลิตได้ผลผลิตต่อไร่มากกว่าไทย ทำให้ขายได้ในราคาที่ถูกกว่า ในส่วนของการส่งออกข้าวหอม (ข้าวนิ่ม) ก็ยังเป็นรองประเทศกัมพูชา เพราะคุณภาพข้าวของกัมพูชาดีกว่า

.

ราคาข้าวมีแนวโน้มลดต่ำลง ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเปรียบเทียบข้อมูลตั้งแต่หลังโครงการจำนำข้าว จาก 20,000 บาทต่อตัน เหลือ 12,000 บาทต่อตัน และต่ำลงมาเรื่อยๆ ตอนนี้เหลือเพียง 7,000 บาทต่อตัน ข้อมูลราคาขายข้าวมีความผันผวน ราคาข้าวจะต่ำสุดในช่วงเก็บเกี่ยว และเพิ่มสูงขึ้นหลังจากผ่านช่วงเก็บเกี่ยว เนื่องจากเป็นภาวะล้นตลาด ราคาลดลงไปถึง 5-6 พันบาทต่อตัน ทำให้ชาวนาขายข้าวขาดทุนและอยู่ไม่ได้

.

ต้นทุนการปลูกข้าวสูงขึ้น การผลิตข้าวแข็งที่ไทยนิยมส่งออก ต้นทุนต่อไร่ประมาณ 5,000-5,500 บาท ซึ่งยังไม่รวมค่าปุ๋ยและค่าเช่าที่ ผลผลิตประมาณ 400 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน (อินเดียและเวียดนาม) ประเทศไทยสู้เชิงปริมาณไม่ได้ รวมทั้งต้นทุนที่ดินจากค่าเฉลี่ยการถือครองที่ดิน 15 ไร่ต่อครอบครัว ขนาดที่ดินสำหรับผลิตข้าวก็เล็กลง ฉะนั้นกำไรของการขายข้าวจึงไปรวมอยู่กับโรงสีที่มีแหล่งเก็บข้าว (โกดัง) ตัวเลขการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์สงคราม ทำให้ข้าวราคาสูงขึ้น แต่น่าเสียดายที่ข้าวไม่ได้อยู่ในมือชาวนาในช่วงที่ราคาข้าวแพงนี้

บทความแนะนำ