กลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาพันธุกรรมข้าวพื้นเมือง ตำบลกำแมด
1. ชื่อศูนย์ :กลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาพันธุกรรมข้าวพื้นเมือง ต.กำแมด อ.กุดชุม จ.ยโสธร
2. ที่ตั้งและภูมินิเวศ
2.1 ที่ตั้ง : นาแปลงรวมเป็นพื้นที่พัฒนาสายพันธุ์ข้าว มี 2 แห่ง
1) ในพื้นที่นาของนายวรรณา ทองน้อย จำนวน 1 ไร่ เลขที่ 151 หมู่ 16 บ้านกำแมด ต.กำแมด อ.กุดชุม จ.ยโสธร
2) ในพื้นที่นาของนายดาวเรือง พืชผล จำนวน 1 ไร่ เลขที่ 147 หมู่ 4 บ้านกุดหิน ต.กำแมด อ.กุดชุม จ.ยโสธร
2.2 ลักษณะภูมินิเวศ : ทุ่งราบปานกลาง ดินร่วนปนทราย
3. ขนาดพื้นที่นาแปลงรวม: 2 ไร่ แปลงละ 1 ไร่
4. ความเป็นมา :
ต.กำแมด อ.กุดชุม จ.ยโสธร ประกอบด้วยหมู่บ้านจำนวนทั้งหมด 18 หมู่บ้าน สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ลุ่มสลับที่ดอน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาข้าวเป็นหลักและมีอาชีพอื่นๆ เป็นอาชีพเสริมบ้าง เช่น ค้าขาย งานก่อสร้าง เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
การทำอาชีพทางการเกษตรของต.กำแมดไม่ว่าจะเป็นการทำนา การปลูกผัก โดยส่วนใหญ่ทำเพื่อบริโภค และการขายเป็นรายได้บางส่วน การเกษตรส่วนใหญ่มีการใช้สารเคมีโดยเฉพาะปุ๋ยเคมี การใช้พันธุกรรมจากภายนอก มีการจ้างแรงงานสูง ซึ่งระบบการเกษตรแบบนี้ทำให้เกษตรกร ต้องพึ่งพิงปัจจัยจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่ นำมาซึ่งการไม่สามารถพึ่งตนเองได้ในระดับครัวเรือนและชุมชน ก่อให้เกิดปัญหาหนี้สินตามมา
ในอดีตที่ผ่านมา เกษตรกรมีการเก็บรักษาพันธุกรรมพื้นบ้านทั้งข้าว ผัก สัตว์ ผลไม้ไว้ในครัวเรือนของตนเอง มีการจัดการวางแผนการผลิตอย่างสอดคล้องกับสภาพธรรมชาติ มีแรงงานอย่างเพียงพอต่อการผลิต มีการวางระบบการทำนาที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ เช่น ในที่ลุ่มน้ำขังยาวนานก็จะปลูกข้าวที่เป็นข้าวหนัก เช่น ข้าวสันป่าตอง ข้าวที่ปลูกในนาดอนก็จะเป็นข้าวเบาต้องการน้ำน้อย อายุสั้น เป็นต้น ทำให้ไม่มีปัญหาในเรื่องแรงงานและปัญหาผลผลิตไม่เพียงพอ ทั้งนี้ก็เนื่องด้วยการมีพันธุกรรมพื้นบ้านที่มีความหลากหลายในระบบการผลิต
แต่ปัจจุบันเกษตรกรในต.กำแมด ส่วนมากไม่มีพันธุกรรมพื้นบ้านไว้ในระบบการผลิต ลืมภูมิปัญญาพื้นบ้าน ในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง ชาวบ้านหันไปนิยมใช้เมล็ดพันธุ์ส่งเสริมจากภาครัฐและกลุ่มธุรกิจเกษตรโดยเฉพาะพันธุ์ข้าว และพันธุ์ผัก เวลาชาวบ้านต้องการปลูกกินเองก็จะต้องไปพึ่งพาเมล็ดพันธุ์ผักจากตลาดเกือบทั้งหมด จนเป็นคำพูดกับชาวนาด้วยกันว่า “พันธุ์เราดีไม่เท่าของเขา” เกษตรกรส่วนใหญ่ที่ทำนาหันไปใช้ข้าวพันธุ์ใหม่ที่ได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ คือ พันธุ์ข้าวกข.6 กข.15 และข้าวหอมมะลิ 105 การปลูกผักก็ต้องไปซื้อเมล็ดพันธุ์ผักกระป๋องจากร้านค้าธุรกิจเกษตรเป็นหลัก ส่งผลให้พันธุกรรมข้าวและผักพื้นบ้านหลายชนิดสูญหายไป บางชนิดก็กำลังสูญหาย ข้าวบางชนิดคนรุ่นปัจจุบันไม่รู้จัก เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกในช่วงโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อย พูดถึงเกษตรกรรมยั่งยืนว่าถ้าตัวผู้ผลิตยังต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ แล้วจะใช่เกษตรกรรมยั่งยืนหรือไม่ จึงวิเคราะห์ว่ายังไม่ใช่ เพราะยังต้องอาศัยปัจจัยภายนอกทั้งที่ในอดีตที่ผ่านมา ชาวบ้านในต.กำแมดมีพันธุกรรมข้าวพื้นบ้านหลายสายพันธุ์ ด้วยเหตุผลที่ว่าเหมาะกับพื้นที่ เช่น ข้าวดอหรือข้าวเบาเหมาะกับพื้นที่ดอน ข้าวกลางเหมาะกับพื้นที่ลุ่มกึ่งดอน ข้าวหนักเหมาะกับพื้นที่น้ำขังนานๆ เป็นต้น นอกเหนือจากจะเหมาะกับสภาพพื้นที่แล้วก็ยังกระจายแรงงานให้สอดคล้องกับการจัดการผลผลิตในช่วงการเก็บเกี่ยวด้วย ถือว่าพันธุกรรมข้าวเป็นตัวกำหนดระบบการผลิตของชาวนา ให้มีความเหมาะสมกับสภาพภูมินิเวศและสอดคล้องต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคน สัตว์ พืช และธรรมชาติ
จากการทำงานของเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภูมินิเวศยโสธรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา มีพื้นที่ดำเนินการใน 3 อ.ของจ.ยโสธร คืออ.เมือง อ.กุดชุม อ.ทรายมูล มี 8 ต. 21 หมู่บ้าน มีสมาชิกในเครือข่ายจำนวน 200 ครอบครัว โดยในต.กำแมดมี 3 หมู่บ้าน เป้าหมายคือ บ้านกำแมด บ้านโนนยาง และบ้านกุดหิน มีสมาชิกเครือข่ายจำนวน 36 ครอบครัว กิจกรรมที่เครือข่ายได้มีการสนับสนุนให้มีการดำเนินการมีหลายด้านไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ประชุมสัมมนา งานสนับสนุนการผลิต แปรรูปตลาด งานรณรงค์ ผลักดันทางนโยบาย ทั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างความมีอธิปไตยทางอาหารของเกษตรกร สามารถพึ่งตนเองได้ในด้านปัจจัยการผลิตด้วยระบบเกษตรกรรมยั่งยืน
เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกในจังหวัดต่างๆ มีข้อตกลงว่าให้สำรวจพันธุ์ข้าวพื้นบ้านหรือที่ใช้อยู่ในแต่ละพื้นที่ซึ่งขณะนั้นที่ยโสธรแทบไม่หลงเหลือ จึงหารือกันว่าน่าจะมีการรวบรวมเก็บมาปลูก จากการทำงานที่ผ่านมาของเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภูมินิเวศยโสธร ได้มีสมาชิกกลุ่มจำนวน 16 คน โดยเฉพาะในพื้นที่ 3 หมุ่บ้าน ในต.กำแมด ได้เล็งเห็นความสำคัญของพันธุกรรมข้าวพื้นบ้าน ซึ่งถือว่า ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน มีเกษตรกรที่ยังคงรักษาพันธุกรรมข้าวพื้นบ้านไว้ ในบ้านกำแมด มี 3 ครอบครัวคือ นายวรรณา ทองน้อย นายบุญสง ทองน้อย นางวิฑูรย์ เมฆมน บ้านโนนยางมี 4 ครอบครัวคือ นายอนนท์ งิ้วลาย นายบุญกอง สุวรรณเพชร นายบุญส่ง มาตขาว นายถาวร พิลาน้อย และบ้านกุดหิน มี 1 คือนายดาวเรือง พืชผล
การขยายตัวของบริษัทค้าเมล็ดพันธุ์กว้างขวางขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ชาวนาเองก็ไม่อยากเก็บพันธุ์ จึงมีข้อตกลงร่วมกันว่าควรมีกลุ่มคนมาทำเรื่องนี้ กลุ่มนี้เกิดจากคนสนใจจริงๆ 12 ครอบครัว จากสมาชิกโครงการนำร่องฯ เดิม 200 ครอบครัว แล้วมาจัดตั้งกลุ่มเล็กๆ ขึ้นมาปี พ.ศ. 2548 ก็นำข้าวพื้นบ้านมาปลูกครั้งแรก 15 พันธุ์ในปีแรก ปีที่สองเพิ่มมาเป็น 30 สายพันธุ์ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนปัจจุบันมีข้าวพื้นบ้าน 80 สายพันธุ์ รวมกับข้าวที่หน่วยงานภาครัฐส่งเสริมรวมประมาณ 100 สายพันธุ์ กลุ่มสามารถฟื้นฟูข้าวพื้นบ้านให้กลับมาปลูกในแปลงนาแล้ว 13 สายพันธุ์จากที่เคยมีมากกว่า 50 สายพันธุ์ คือ ข้าวขาวใหญ่ เล้าแตก สันป่าตอง หอมเสงี่ยม นางนวล ข้าวก่ำ มะลิดำ โสมาลี มะลิแดง เหนียวแดง แสนสบาย ดอฮี เจ้าแดง โดยมีการปลูกรักษาพันธุ์ไว้ในแปลงเกษตรในพื้นที่ปลูกประมาณ 35 ไร่ นอกจากนั้นกลุ่มยังได้มีการรณรงค์ให้ชาวบ้านทั่วไปเห็นคุณค่าข้าวพื้นบ้านโดยการร่วมจัดนิทรรศการข้าวพื้นบ้าน ประกวดหุงข้าว นึ่งข้าวพื้นบ้าน ชิมข้าวพื้นบ้าน 8 สายพันธุ์ในงานบุญเดือนสาม (กุ้มข้าว) ที่บ้านกำแมด นอกจากนั้นยังได้มีการสร้างแปลงเรียนรู้ในนาม กลุ่มอาสาสมัครอนุรักษ์พัฒนาและปรับปรุงพันธุกรรมพื้นบ้าน เครือข่ายเกษตรทางเลือกยโสธร ที่บ้านกำแมด จำนวน 1 ไร่ เพื่อใช้เป็นสถานที่ให้ชาวบ้านมาเรียนรู้พันธุกรรมข้าวพื้นบ้าน
5. วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน :
1. เพื่อรวบรวม อนุรักษ์พันธุกรรมท้องถิ่น
2. เพื่อพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่
3. เพื่อเป็นแหล่งผลิตและจำหน่ายพันธุ์ข้าว
วิสัยทัศน์ ปลูกธำรง รักษา สร้างคุณค่า/มูลค่า พันธุกรรมหลากหลายเพื่อความมั่นคงทางอาหาร
6. โครงสร้างกลุ่มและสมาชิก :
โครงสร้าง ประธาน นายดาวเรือง พืชผล
รองประธาน นายอนนท์ งิ้วลาย
เลขานุการ นายสนิจ ทองน้อย
เหรัญญิก นายวรรณา ทองน้อย
ที่ปรึกษา นายบุญส่ง มาตขาว
กรรมการผู้ดูแลสมาชิกแต่ละชุมชน
– บ้านโนนยาง นายสนิจ ทองน้อย และนายสุพิศ แสงศรีเรือง
– บ้านหัวงัว นายเหมี่ยว จงสดับกลาง
– บ้านแสนศรี นางมุกดา บุญศรี
– บ้านกำแมด นางบพิตร กอแก้ว
– บ้านกุดหิน นายดาวเรือง พืชผล
– บ้านหนองตาไก้ นายสุคนธ์ ชาญกล้า
คณะกรรมการศูนย์
1.นายเหมี่ยว จงสดับกลาง
2. นางมุกดา บุญศรี
3. นายสุคนธ์ ชาญกล้า
4. นายบุญสา หูตาชัย
5. นางอพรรณตรี โตศรี6. นางบพิตร กอแก้ว
7. นายผดุง เวฬุวนารักษ์
กรรมการผู้ตรวจสอบ
1. นายสุพิศ แสงศรีเรือง
2. นายผดุง เวฬุวนารักษ์
3. นายเหมี่ยว จงสดับกลาง
4. นายอนนท์ งิ้วลาย
5. นายดาวเรือง พืชผล
6. นายวรรณา ทองน้อย
7. นายบุญกอง สุวรรณเพ็ชร์
ผู้สังเกตการณ์
1. นางสาวมณี หงส์พิพิธ (ชมรมรักษ์ธรรมชาติ)
สมาชิก ต.กำแมด
1. บ้านกำแมด 6 คน
1) นายวรรณา ทองน้อย
2) นายบุญสา หูตาชัย
3) นางบพิตร กอแก้ว
4) นายถาวร สินชัย
5) นางบุญเกิด เวฬุวนารักษ์
6) นางวิจิตตรา เวฬุวนารักษ์
2. บ้านโนนยาง 10 คน
1) นายบุญส่ง มาตขาว
2) นายอนนท์ งิ้วลาย
3) นายบุญกอง สุวรรณเพ็ชร
4) นายเริ่ม ชูรัตน์
5) นางพิมพ์ณิศา ดลโพธิ์ศรี
6) นายถาวร พิลาน้อย
7) นายสุพิศ แสงสีเรือง
8) นายสี ทองน้อย
9) นายสนิจ ทองน้อย
10) นายเกษดา งิ้วลาย
3. บ้านกุดหิน 7 คน
1) นายดาวเรือง พืชผล
2) นางสุพรรณี แก่นจำปา
3) นางไชยศรี แก่นจำปา
4) นายสมบูรณ์ หอมหวล
5) นางอนงค์ เตียงชัย
6) นายสุภักดิ์ แก่นจำปา
7) นางอ่อนจันทร์ พรมวงค์
4. บ้านแสนศรี 4 คน
1) นางมุกดา บุญศรี
2) นายวิวัฒน์ ทองน้อย
3) นางบุญเพ็ง ศรีมันตะ
4) นางสุภาพ ศรีมันตะ
5. บ้านหัวงัว 8 คน
1) นายเหมี่ยว จงสดับกลาง
2) นายไชยยงค์ กองศรีมา
3) นายบุญสม โสบุญ
4) นางสมผล ศรีพูล
5) นายรังสรรค์ โสภาบุตร
6) นายประจักษ์ คุณุ
7) นายกมล ไชยจันทร์
8) นายบุญมี วงษ์หินกอง
6. บ้านหนองตาไก้ 2 คน
1) นายสุคนธ์ ชาญกล้า
2) นายไฉน นารมย์
ต.นาโส่
1. บ้านหนองแคน 1 คน
1) นายผดุง เวฬุวนารักษ์
ต.โนนเปือย
1. บ้านคำม่วงไข่ 1 คน
1) นายทองหล่อ ขวัญทอง
ต.ไผ่
1. บ้านไผ่ 1 คน
1) นายทองอินทร์ เวฬุวนารักษ์
2. บ้านโคกกลาง 2 คน
1) นายสมนึก พานิชกุล
2) นายสุรัตน์ วรรณชาติ
ต.หนองเป็ด
1. บ้านหนองบ่อ 1 คน
1) นายอุ่น ศรีวันคำ
กติกากลุ่ม
1. มีการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง ของวันที่ 9 ทุกเดือน
2. ขาดการประชุม 3 ครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควรถือว่าขาดจากการเป็นสมาชิก
3. ผลผลิตที่ไม่ผ่านมาตรฐานกลุ่มถือว่าไม่เป็นเมล็ดพันธุ์ข้าว
4. สมาชิกต้องยินยอมให้ความร่วมมือคณะกรรมการตรวจแปลง
5. ถ้าสมาชิกเปลี่ยนแปลงข้อมูลการผลิตให้แจ้งกรรมการ
ระบบควบคุมกลุ่ม
1. เลือกพื้นที่ที่เหมาะสมกับพันธุ์ข้าว
2. ผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์เท่านั้น
3. ควรปักดำต้นเดียว
4. ปลูกไม่เกิน 3 ไร่/คน/พันธุ์
5. ควรตัดข้าวปนอย่างน้อย 3 ครั้ง
6. เก็บเกี่ยวด้วยมือเท่านั้น
7. นวดด้วยมือหรือเครื่องสีเฉพาะเท่านั้น
8. บรรจุด้วยภาชนะที่กลุ่มกำหนดให้
มาตรฐานเมล็ดพันธุ์
3 ชั้น ได้แก่ พันธุ์หลักพันธุ์ขยาย และพันธุ์จำหน่าย
พันธุ์หลัก
1. ความบริสุทธิ์ไม่ต่ำกว่า 98 เปอร์เซ็นต์
2. พันธุ์อื่นปน 0 เปอร์เซ็นต์
3. สิ่งเจือปน 0 เปอร์เซ็นต์
4. ความงอกไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์
5. ความชื้นไม่เกิน 14 เปอร์เซ็นต์
พันธุ์ขยายและจำหน่าย
1. ความบริสุทธิ์ไม่ต่ำกว่า 98 เปอร์เซ็นต์
2. พันธุ์อื่นปนไม่เกิน 2 เมล็ดใน 1 กิโลกรัม
3. สิ่งเจือปนไม่เกิน 2 เปอร์เซ็นต์
4. ความงอกไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์
5. ความชื้นไม่เกิน 14 เปอร์เซ็นต์
ชั้นพันธุ์ขยายและจำหน่าย แบ่งออกเป็น 3 เกรด
1. เกรดดีมาก
– ความบริสุทธิ์ของสายพันธุ์ 98 เปอร์เซ็นต์
– มีพันธุ์อื่นปนไม่เกิน 3 เมล็ดใน 1 กิโลกรัม
– สิ่งเจือปนไม่เกิน 2 เปอร์เซ็นต์
– อัตราความงอกไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์
– ความชื้นไม่เกิน 14 เปอร์เซ็นต์
2. เกรดดี
– ความบริสุทธิ์ของสายพันธุ์ 98 เปอร์เซ็นต์
– มีพันธุ์อื่นปนไม่เกิน 6 เมล็ดใน 1 กิโลกรัม
– สิ่งเจือปนไม่เกิน 2 เปอร์เซ็นต์
– อัตราความงอกไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ – ความชื้นไม่เกิน 14 เปอร์เซ็นต์
3. เกรดพอใช้
– ความบริสุทธิ์ของสายพันธุ์ 98 เปอร์เซ็นต์
– มีพันธุ์อื่นปนไม่เกิน 10 เมล็ดใน 1 กิโลกรัม
– สิ่งเจือปนไม่เกิน 2 เปอร์เซ็นต์
– อัตราความงอกไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์
– ความชื้นไม่เกิน 14 เปอร์เซ็นต์
7. กิจกรรมของกลุ่ม :
1. ประชุมเดือนละ 1 ครั้ง
2. รวบรวมอนุรักษ์พันธุกรรมข้าวพื้นบ้าน
3. พัฒนาปรับปรุงพันธุกรรมข้าว
4. ประเมินเพื่อค้นหาพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่
5. บันทึกลักษณะประจำพันธุ์ข้าว
6. รณรงค์เผยแพร่
6.1 ประชาสัมพันธ์ผ่านงานบุญชุมชน (งานบุญเดือนสาม)
6.2 ประชาสัมพันธ์ผ่านรายการวิทยุชุมชน รายการเกษตรทางเลือก คลื่น 96.25 เมกกะเฮิร์ตซ และคลื่น 103 เมกกะเฮิร์ต (รายการคนรักสุขภาพ) และสปอตโฆษณาในสถานีวิทยุคลื่น อสมท.ยโสธร
6.3 ประชาสัมพันธ์ผ่านป้ายรณรงค์ในจังหวัด อำเภอ ตำบล
7. งานแลกเปลี่ยนพันธุกรรมภาคอีสาน
8. ขยายเครือข่ายการพัฒนาและผลิตเมล็ดพันธุ์ ร่วมกับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและกรมการข้าว
9. งานนโยบาย ร่วมผลักดันนโยบายเกษตรกรรมยั่งยืน และผลักดันให้มีการยกเลิกการขึ้นทะเบียนสารเคมีอันตราย 4 ชนิด และคัดค้านอนุสัญญายูปอฟ รวมถึงติดตามนโยบายที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร เป็นต้น
10. จัดทำหลักสูตรและฝึกอบรมเรื่องการอนุรักษ์และพัฒนาพันธุกรรมข้าวพื้นบ้านให้ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้านในนามของนายบุญส่ง มาตขาว
8. ผู้รับผิดชอบ/ผู้ประสานงาน :
1. นายดาวเรือง พืชผล บ้านเลขที่ 147 หมู่ที่ 4 บ้านกุดหิน ต.กำแมด อ.กุดชุม จ.ยโสธร หมายเลขโทรศัพท์ 081-4700864
2. นายวรรณา ทองน้อย บ้านเลขที่ 151 หมู่ที่ 16 บ้านกำแมด ต.กำแมด อ.กุดชุม จ.ยโสธร หมายเลขโทรศัพท์ 080-4663590
9.ผู้ให้ความรู้/ผู้สื่อสารเรื่องราวภายในกลุ่ม :
1. นายดาวเรือง พืชผล การผสมพันธุ์ข้าว การพัฒนาพันธุ์ การบันทึกลักษณะพันธุ์ข้าว การประเมินพันธุ์ข้าวของกลุ่ม มาตรฐานพันธุ์ข้าว การส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน และการวางแผนผังแปลงเกษตร
2. นายวรรณา ทองน้อย การบันทึกลักษณะพันธุ์ การวางแผนผังแปลงเกษตร การพัฒนาพันธุ์ข้าว และการส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน
3. นายอนนท์ งิ้วลาย การพัฒนาพันธุ์ข้าว การวางแผนผังแปลงเกษตร และการส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน
4. นายบุญกอง สุวรรณเพชร การพัฒนาพันธุ์ข้าว และการส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน
5. นายบุญส่ง มาตขาว การพัฒนาพันธุ์ข้าว การแปรรูปข้าว และการส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน
6. นายถาวร พิลาน้อย การพัฒนาพันธุ์ข้าว
7. นายเริ่ม ชูรัตน์ การส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนและการปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ
8. นายเหมี่ยว จงสดับกลาง การแปรรูปข้าวและการตลาด
9. นายสนิจ ทองน้อย การส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน การตรวจแปลงแบบมาตรฐานมกท. การพัฒนาพันธุ์ข้าว
10. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน :
1. ปริมาณการผลิตเมล็ดพันธุ์ยังไม่ได้ถึงปริมาณที่กลุ่มกำหนด
2. หน่วยงานภาครัฐยังไม่สนับสนุนกลุ่มโดยตรง แต่สนับสนุนในลักษณะให้เป็นสมาชิกของศูนย์ข้าวของรัฐซึ่งต้องผลิตเมล็ดพันธุ์ตามพันธุ์ที่รัฐกำหนด ยังไม่มีความเชื่อมั่นว่าชาวนามีศักยภาพ ไม่มั่นใจในมาตรฐานของกลุ่ม ยังติดกรอบการทำงานในแบบเป็นทางการ
3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่เห็นความสำคัญในการผลิตเมล็ดพันธุ์ของกลุ่ม
4. การควบคุมมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ สมาชิกยังไม่เห็นความสำคัญในการคัดพันธุ์ข้าว (ตัดข้าวปน)
11. แนวทางการทำงานและทิศทางการทำงาน/ความต้องการการสนับสนุนจากภายนอก
1. จำเป็นต้องมีสถานที่เก็บเมล็ดพันธุ์ เครื่องทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์
2. ตาชั่งลานตาก เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ในการตรวจสอบมาตรฐานเมล็ดพันธุ์
12. ความโดดเด่น :
กลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาพันธุกรรมข้าวพื้นเมือง ตำบลกำแมด เป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมข้าวพื้นบ้านหลากหลายสายพันธุ์ ผลิตและแปรรูปข้าวอินทรีย์ออกสู่ตลาด เป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีมาตรฐาน และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่เกษตรกรผู้สนใจในการทำนาอินทรีย์และการอนุรักษ์พัฒนาพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน