ลักษณะพันธุ์
ต้นสูง120-140 cm. ลำต้นมีความแข็งแรงปานกลาง แตกกอดี โคนต้นสีม่วงอ่อน ลำต้นสีม่วง ใบสีเขียวมีเส้นม่วง จับรวงถี่ เมล็ดเล็ก เปลือกสีเหลืองอมม่วง ข้าวสารสีขาวใสเก็บเกี่ยวกลางเดือนธันวาคม (ข้าวหนัก) ข้าวในตระกูลเนียงกวง มี 3 สายพันธุ์ สังเกตุความแตกต่างแต่ละสายพันธุ์ได้โดย ข้าวเนียงกวงกะเบิดมุ จะมีใบธงชูตั้งเวลาออกรวง ใบใหญ่ ป้องกันนกมาจิกกินเมล็ดข้าวได้ดี ข้าวเนียงกวงละอองกะสัด แตกกอดี ต้นเตี่ย เปลือกบาง ข้าวเนียงกวงกาวะนู มีสีเปลือกออกแดงอมม่วง
การแปรรูป
หุงขึ้นหม้อและเหมาะสำหรับทำขนมจีน
ความเชื่อ/ตำนาน
เป็นข้าวพื้นบ้านของคนเชื้อสายเขมรแถบอีสานใต้ ชื่อเนียงกวง แปลว่า นางคง หรืออย่าได้ขาดหายไป ต้องปลูกเอาไว้ในนาเสมอ และมีความเชื่อว่ากินแล้วทำให้ร่างกายแข็งแรง ต้านทานโรค และช่วยให้กระดูกแข็งแรง
แหล่งอ้างอิง
หนังสือข้าวพื้นบ้าน เชื้อพันธุ์แผ่นดินอีสาน
ผู้เขียน คุณจิตติมา ผลเสวก และคุรอารีวรรณ คูสันเทียะ
หัวข้อ ภาคผนวก ข้าวพื้นบ้านในนิเวศน์นาภาคอีสานหน้า 154
อารีวรรณ คูสันเทียะ