ลักษณะเด่น
เป็นข้าวนาปี ดูแลง่าย หนีน้ำท่วมได้ไว ไม่กินปุ๋ย ต้านทานโรคแมลงต่างๆได้ดี ไวต่อช่วงแสง ต้นสูง 1.70 เมตร สามารถปลูกในที่น้ำหลากได้ดี เมล็ดยาวและปลายงอเล็กน้อยเหมือนข้าวนาปีทั่วไป เมื่อหุงออกมาแล้วจะมีความหอมเนื้อสัมผัมที่เหนียว นุ่ม หนึบ มีธาตเหล็กสูง เป็นข้าวที่มีน้ำตาลต่ำ RAG 27.34 (g/100g cooked rice) (21-32 ในข้าวขาวอื่น) ให้แมกนีเซียม 18.39 mg/100g เหล็ก สังกะสี และทองแดง 0.16 1.14 และ0.02 mg/100g มีโพลีฟินนอล 60.6 (mg ep GA/100g)(สูงในข้าวขาวด้วยกัน) มีค่า ORAC การดูดจับอนุมูลอิสระ 106.34 (umoles TE/100g)(700-900 ในข้าวขาวอื่น)มีโฟเลท 20.5 μg/100g dietary folate equivalent DFE (11.2 .ในข้าวขาวอื่น)มีกรดเฟอรูริก ต้านอนุมูลอิสระ 2119.59μg/100g(1500-3000ในข้าวขาวอื่น) มีโทโคฟิรอลรวม (วิตามินE) 352 μg/100g (250-900 ในข้าวขาวอื่น)
วิธีการปลูก
ปลูกช่วงเดือนสิงหาคม เก็บเกี่ยวในเดือนธันวาคม โดยวิธีดำนา ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นนาโยน เพื่อข้าวจะแตกกอดีมากขึ้น ไม่งั้นจะแน่นเกินไปหรือใช้การปักดำ (จ้างรถดำนา)
การแปรรูป
รสชาติคล้ายข้าวหอมมะลิ ทำขนมครก ขนมกล้วย ขนมชั้น พิซซ่า และขนมปัง
แหล่งอ้างอิง
วิสาหกิจชุมชนบ้านโฉนดชุมชนลานตากฟ้า จ.นครปฐมและ ข้อมูลจาก ผศ.ดร.ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์