มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) ก่อเกิดจากฐานการพัฒนางานเกษตรกรรมยั่งยืนในประเทศไทย ด้วยเห็นว่า การคิดค้นแนวทางการแก้ปัญหาของเกษตรกรและกลุ่มองค์กรชุมชนด้วยระบบเกษตรกรรม ยั่งยืนนั้น ได้พัฒนารูปแบบและแนวคิดในการสร้างการพึ่งตนเองของครอบครัวและชุมชนบนฐาน นิเวศวัฒนธรรมที่แตกต่าง หลากหลาย และดำเนินไปท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและสังคมไทย ซึ่งอยู่ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ความเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งด้านการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ และแนวคิดในทางเศรษฐกิจ สังคมที่เปลี่ยนแปลงความรู้ และทัศนคติของคนในสังคม ทำให้งานเกษตรกรรมยั่งยืนยิ่งทวีความสำคัญ ในขณะเดียวกันก็ต้องการการพัฒนาและยกระดับทั้งด้านความรู้ และการยอมรับจากสาธารณชนและนโยบาย ความรู้ที่จะได้รับการพัฒนา ประยุกต์ใช้นั้นก็ควรดำเนินไปเพื่อสร้างพลังของเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรในการ แก้ไขปัญหาของตนเอง และสังคม ในขณะที่การยอมรับจากผู้บริโภค และสาธารณชน รวมทั้งระดับนโยบาย จะช่วยยกระดับให้เกษตรกรรมยั่งยืนมีสถานะไม่เพียงเป็นระบบเกษตรกรรมสำหรับ เกษตรกรและชุมชน แต่เชื่อมโยงสู่ระบบอาหารที่จะช่วยสร้างความมั่นคงและอธิปไตยทางอาหารสำหรับ ประชาชนในประเทศอีกด้วย
มูลนิธิฯก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2541 โดยช่วงแรกมูลนิธิฯ มีภารกิจหลักในการบริหารจัดการโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนของ เกษตรกรรายย่อย ซึ่งเป็นโครงการต้นแบบการผลักดันให้มีการนำนโยบายที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมาปฏิบัติจริง โครงการนำร่องฯ มีเป้าหมายเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนและการจัดการ ทรัพยากรชายฝั่งที่เหมาะสม อันจะนำมาสู่การพึ่งตนเองได้ของเกษตรกรและชุมชนในด้านเศรษฐกิจ อาหาร ที่ดินทำกิน และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนในการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนและการจัดการ ทรัพยากรต่อไป บทเรียนจากโครงการฯ ได้สร้างการพึ่งตนเองให้กับเกษตรกรสมาชิกสามารถพึ่งตนเองในด้านต่างๆ ได้มากขึ้น อาทิ การมีพืชผลหลากหลายชนิดบริโภคในครัวเรือนซึ่งช่วยลดรายจ่ายค่าอาหารได้มาก ขึ้น การลดละเลิกการใช้สารเคมีการเกษตร เป็นต้น ขณะเดียวกันเกษตรกรก็ได้พัฒนาแนวคิดและความรู้ผ่านกระบวนการเรียนรู้รูปแบบ ต่างๆ อาทิ การวิจัยและพัฒนาแบบมีส่วนร่วม การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน ซึ่งโครงการพยายามพัฒนารูปแบบและกระบวนการเรียนรู้เหล่านี้ให้สอดคล้องกับ บริบททางสังคมและวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่เป็นสำคัญ
การดำเนินงานที่สำคัญประการหนึ่งของมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) ก็คือการพัฒนาความรู้และภูมิปัญญาด้านเกษตรกรรมยั่งยืนผ่านแผนงานวิจัยและ พัฒนาแบบมีส่วนร่วม จากประสบการณ์ดังกล่าวทำให้มูลนิธิฯตระหนักมากขึ้นว่ายังจำเป็นต้องมีการพัฒนาความรู้และการวิจัยด้านเกษตรกรรม ยั่งยืนอีกมาก ทั้งในแง่ประเด็นการศึกษาวิจัย การพัฒนาแนวคิด/ทฤษฎี เครื่องมือในการศึกษาวิจัย การบูรณาการความรู้ด้านเกษตรกรรมยั่งยืนในมิติต่างๆ การส่งเสริมให้เกษตรกรและองค์กรชุมชนมีบทบาทในการสร้างและพัฒนาความรู้ด้าน เกษตรกรรมยั่งยืน ตลอดจนการใช้ประโยชน์จากงานศึกษาวิจัย ให้สามารถตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวได้ในทุกระดับทั้งระดับการผลิต การแปรรูป การตลาด การจัดการทรัพยากร และระดับนโยบาย
ต้นทุนของการดำเนินงานขับเคลื่อนการสร้างรูปธรรมการพัฒนาระบบเกษตรกรรม ยั่งยืนกับองค์กรชาวบ้าน เมื่อประกอบกับการวิเคราะห์ถึงความสำคัญของการทำงานด้านความรู้และงานเขียน ทำให้ในปัจจุบันมูลนิธิฯ ปรับบทบาทมาสู่การเป็นองค์กรภาคประชาชนที่ทำงานวิชาการโดยเอาชุมชนเป็นตัว ตั้งและสร้างปัจจัยที่นำไปสู่การพึ่งตนเองและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของชุมชน ควบคู่กับการสื่อสารกับคนรุ่นใหม่ (ทั้งที่เป็นเกษตรกร หรือ คนชั้นกลาง ข้าราชการ นักธุรกิจ เป็นต้น) ให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดการยอมรับความสำคัญของเกษตรกรรมยั่งยืน และการยอมรับในสิทธิและศักดิ์ศรีของเกษตรกรและชุมชน ร่วมกันสร้างความสัมพันธ์ใหม่ที่เกื้อกูลกันทั้งชุมชนท้องถิ่น และคนในสังคมโดยรวม
หน้า: 1 2