โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

วัตถุประสงค์การก่อตั้งมูลนิธิฯ
1. การส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งงานศึกษาด้านนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมยั่งยืน
2. การเผยแพร่กิจกรรมที่เกี่ยวกับเกษตรกรรมยั่งยืน ตลอดจนเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเกษตรกรกับผู้บริโภค
3. การประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรการเกษตร องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน
4. การพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของถาบันและองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับเกษตรกรรมยั่งยืนในประเทศไทย

ยุทธศาสตร์การดำเนินงานของมูลนิธิ ประกอบด้วย
มูลนิธิฯ มีบทบาทการเป็นองค์กรทางวิชาการ เพื่อพัฒนาความรู้และสร้างกระบวนการพัฒนา เพื่อสร้างนวัตกรรมและพื้นที่ทางสังคมให้กับเกษตรกรและงานเกษตรกรรมยั่งยืน และใช้ความรู้ในการขับเคลื่อนทางนโยบาย โดยเน้นการดำเนินในภารกิจที่เกี่ยวกับ 
1. การพัฒนาความคิด/ความรู้เกษตรกรรมยั่งยืน ร่วมกับองค์กรชาวบ้าน สนับสนุนให้งานวิจัยของชาวบ้านสามารถชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของชุมชน/เกษตรกร ในการพัฒนาความรู้ โดยอยู่บนฐานการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรและชุมชน และการนำพาไปสู่การพึ่งตนเอง 
2. สร้างกระบวนการพัฒนาความรู้เกษตรกรรมยั่งยืน โดยประสานเชื่อมโยง/จัดการความรู้ และการวิจัยที่พัฒนาโดยกลุ่มและภาคีต่างๆ (ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันทางวิชาการ) รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดการศึกษา รวบรวมและเสริมสร้างกระบวนการพัฒนาความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของเกษตรกรและองค์กรชุมชน 
3. รณรงค์เผยแพร่ความรู้ และการศึกษาในเรื่องเกษตรกรรมยั่งยืน ความมั่นคงทางอาหารและสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคแก่สาธารณะชน 
4. การประสานความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ผลักดันนโยบายเกษตรกรรมยั่งยืน และประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 
5. การสร้างพื้นที่ทางสังคมให้กับเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรและภาคีที่ร่วมขบวนการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน โดยการเผยแพร่แนวคิด และอุดมการณ์เกษตรกรรมยั่งยืนเพื่อให้เกิดการยอมรับในสังคมไทย

ภาระกิจที่ผ่านมาประกอบด้วย
1. การจัดตั้งสถาบันเกษตรกรรมยั่งยืน 
2. สนับสนุนการศึกษา รวบรวมและเสริมสร้างกระบวนการพัฒนาความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของเกษตรกรและองค์กรชุมชน 
3. งานรณรงค์เผยแพร่เพื่อให้สาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจในเกษตรกรรมยั่งยืน 
4. การประสานองค์กรภาคี

บทความแนะนำ