โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Artocarpus altilis (Parkinson) Fosberg
ชื่อวงศ์ : Moraceae
ชื่อสามัญ : Bread Fruit Tree   Bread  nut Tree
ชื่ออื่นๆ : ขนุนสำปะลอ

ถิ่นกำเนิด :

          ต้นสาเก มีสายพันธุ์มากกว่า 120 สายพันธุ์ มีการเพาะปลูกกันมานานมากกว่า 3,000 ปีแล้ว ซึ่งในเกาะมาวีและเกาะกาวาย คือแหล่งสะสมต้นสาเกสายพันธุ์ต่าง ๆ ไว้หลายสายพันธุ์ โดยปลูกเอาไว้ให้ชมกันมากที่สุดในโลก สาเกเป็นไม้ผลที่ออกลูกดก (ในหนึ่งฤดูต้นสาเกอาจออกผลราว 200 ผล) แต่ที่นิยมปลูกในบ้านเราคือ สาเกพันธุ์ข้าวเหนียว สำหรับสาเกในบ้านเรานั้นอาจจะพบได้บ้างตามหมู่บ้านจัดสรรต่าง ๆ โดยจะขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อจากโคนต้นเก่ามาปลูก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

ต้นสาเก มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่โพลีนีเซีย และเป็นผลไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดียตะวันออกและมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก และต่อมาได้แพร่หลายไปยังหมู่เกาะอินดีสตะวันตก ซึ่งปลูกอย่างแพร่หลายในภูมิภาคเขตร้อน โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงได้ประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นสีน้ำตาลปนเทา ทุกส่วนของสาเกจะมียางขาว ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำราก โดยสายพันธุ์ที่ปลูกในบ้านเรานั้นจะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก ๆ ได้แก่ สาเกพันธุ์ข้าวเหนียว (ผลใหญ่ ผลสุกเนื้อเหนียว นิยมปลูกทั่วไป หรือปลูกไว้ทำขนมสาเก), และสาเกพันธุ์ข้าวเจ้า (ผลเล็กกว่า เนื้อหยาบร่วน ไม่เป็นที่นิยมปลูก    และไม่ค่อยนำมารับประทานมากนัก)

ใบสาเก ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน ลักษณะใบคล้ายรูปไข่ ใบมีสีเขียวเข้ม ใบใหญ่และหนา มีรอยหยักหรือร่องลึกเกือบถึงก้านกลางใบ (คล้ายใบมะละกอ) ก้านใบเห็นเด่นชัด

ดอกสาเก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกมีสีเหลือง ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียจะอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้มีลักษณะคล้ายกระบองและห้อยลง มีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ส่วนช่อดอกตัวเมียมีลักษณะกลม แต่จะแยกกันคนละดอก และสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี

ผลสาเก ลักษณะของผลกลมรี ผลมีสีเขียวอมเหลือง ลูกคล้ายขนุน แต่จะลูกเล็กกว่า มีความกว้างประมาณ 15-20 เซนติเมตร ส่วนเนื้อในเป็นสีเหลืองซีดหรือขาวและไม่มีเมล็ด (แต่มีสายพันธุ์หนึ่งที่มีเมล็ด จะเรียกว่า ขนุนสำปะลอ)

การขยายพันธุ์ :

เพาะเมล็ด

การใช้ประโยชน์ :

– ผลไม้สาเกมีวิตามินหลากหลายชนิด ซึ่งช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย
– ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ โดยช่วยเพิ่มระดับไขมันชนิดดี (HDL) และช่วยลดระดับไขมันเลว (LDL)
– เส้นใยอาหารจากสาเก ช่วยลดการดูดซึมของน้ำตาลในร่างกาย มันจึงช่วยควบคุมโรคเบาหวานได้
– ช่วยในการทำงานของลำไส้และระบบขับถ่าย ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของลำไส้ ช่วยกำจัดสิ่งตกค้างในลำไส้ และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
– เนื้อของสาเกให้พลังงานสูง มีแคลเซียมและวิตามินเอที่จำเป็นต่อร่างกาย
– ต้นสาเกนิยมปลูกตามบ้านจัดสรรทั่วไปเพื่อเป็นไม้ประดับและใช้เป็นร่มเงา
– ผลสาเกสามารถนำมาย่าง ต้ม อบ หรือนำมาเชื่อมได้ ใช้ทำเป็นขนมสาเก เช่น แกงบวด สาเกเชื่อม เป็นต้น
– มีการนำสาเกไปป่นเป็นแป้งเพื่อนำมาใช้ทำเป็นขนมปังกรอบ
– สำหรับชาวอินโดนีเซียจะนิยมนำสาเกไปอบกรอบใช้รับประทานเป็นอาหารว่างยางของต้นสาเกนิยมนำมาใช้เป็นชันยาเรือ
– ดอกสาเกสามารถใช้ไล่ยุงได้
– เนื้อไม้สามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องประดับ และทำเป็นสิ่งปลูกสร้าง หรือนำมาสร้างบ้านได้
– สาเกสามารถนำมาสกัดเป็นผลิตภัณฑ์ ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบำรุงผิว ใช้ทำเป็นสารทำให้ผิวขาว

ที่มา : http://www.rspg.or.th

บทความแนะนำ