ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gymnema inodorum (Lour.) Decne.
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ชื่อสามัญ : –
ชื่ออื่น : เจียงดา, ผักเจียงดา, เซียงดา, ผักม้วนไก่, ผักเซ็ง, ผักฮ่อนไก่, ผักอีฮ่วน, เครือจันปา
ถิ่นกำเนิด :
ถิ่นกำเนิดของผักเชียงดานั้นอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นผักพื้นบ้านของทางเหนือ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
ผักเชียงดา เป็นพืชไม้เถาเลื้อย
ใบ เป็นใบเดี่ยวสีเขียวเข้ม หน้าใบเขียวเข้ม มากกว่าหลังใบ ลำต้น สีเขียว และ ขนาดของลำต้น มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 ถึง 5 cm ส่วนของลำต้น ที่อยู่เหนือดินขึ้นมา จะมียางสีเขียว
ดอก สีขาวอมเขียว ขนาดเล็ก รูปร่างกลม ออกเป็นช่อ ขอบใบ มีคลื่นเล็กน้อย หรือ ขอบใบเรียบ ใบกลมรี ฐานใบ และปลายใบจะแหลม ผิวใบเรียบ ไม่มีขน ใบออกจาก ข้อเรียงกันเป็นคู่ ตรงข้าม และ มีก้านยาว
การขยายพันธุ์ :
นิยมใช้วิธีปักชำหรือการเพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์ :
ชาวบ้านทางเหนือ นิยมนำ ใบ เซียงดา มาตำให้ละเอียด พอกที่กระหม่อม แก้หวัด และลดไข้ และยังนำ ไป เป็นส่วนผสม ในตำรายา แก้ลดไข้ มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการแตกของเม็ดเลือดแดง ช่วยควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ ลดความร้อนในร่างกาย ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยชำระล้างสารพิษตกค้างในร่างกาย ใช้รักษาเบาหวาน ช่วยคุมน้ำตาลได้ในคนเป็นเบาหวานทั้งชนิด type 1และ type 2 ปรับระดับอินซูลินในร่างกายให้สมดุล
ที่มา : https://medthai.com
https://health.kapook.com