โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

การสูญเสียทรัพยากรป่าไม้อย่างรวดเร็วส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทั้งดินและน้ำ และสภาพฝนฟ้าอากาศมีการแปรปรวนในแต่ละปีมากขึ้น โดยเฉพาะในฤดูร้อนฝนมักจะไม่ตกต้องตามฤดูกาล หรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นปัญหาต่อการเกษตรอย่างมาก ในบางพื้นที่พืชผลที่ปลูกไว้แห้งตาย หรือติดดอกออกผลแล้วร่วงหล่นเสียหาย การให้น้ำพืชจึงต้องให้พอเหมาะสมกับสภาพการเจริยเติบโต และสภาพดินฟ้าอากาศในช่วงนั้นด้วย เพราะการให้น้ำมากหรือน้อยเกินไปจะเกิดผลเสียได้

พืชที่ควรให้น้ำฤดูแล้ง

การให้น้ำไม้ผล เช่น เงาะ,ทุเรียน,ลำไย,ลิ้นจี่ ซึ่งเป็นไม้ผลทางเศรษฐกิจให้ผลตอบแทนสูง ส่วนพืชไร่ เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพด, และอื่นๆ ในช่วงแล้งจะเป็นช่วงเก็บเกี่ยวจึงไม่จำเป็นต้องให้น้ำ และจะเริ่มปลูกพืชไร่ในฤดูต่อไปเมื่อไเริ่มต้นฤดูฝนในเดือนเมษษยน – พฤษภาคม ปัยหาขาดน้ำกับของไร่จะประสบกับฝนทิ้งช่วงมากกว่าการขาดน้ำในฤดูแล้ง
ฉะนั้น ปัญหาการให้น้ำพืชในฤดูแล้งเมื่อคำนึงผลตอบแทนที่คุ้มค่าแล้ว มักจะเป็นไม้ผล เพราะไม้ผลต้องการน้ำมากในช่วงฤดูแล้ง และไม้ผลส่วนใหญ่มีระบบรากที่แพร่กระจายไปทั่วผิวดิน เนื่องจากมีการขยายพันธุ์ด้วยกิ่งตอน และกิ่งทาบ ซึ่งมีระบบรากที่ไม่สามารถหยั่งลึกเหมือนกับรากแก้วที่ปลูกจากเมล็ด เพราะการทาบกิ่งมักจะตัดปลายรากแก้วทิ้งจะทำให้มีการแตกรากใหม่เร็วขึ้น จากสาเหตุนี้จึงทำให้ไม้ผลส่วนใหญ่มีรากบริเวณผิวดินมาก และน้ำที่รากพืชจะดูดได้จะอยู่ลึกประมาณหนึ่งเมตรเท่านั้น ในช่วงฤดูแล้งความชื้นในดินจะมีน้อยมาก เราจึงจำเป็นต้องใช้น้ำแก่พืช

วิธีการให้น้ำพืชในฤดูแล้ง

1.การตักรด มักใช้ในสวนผักและไม้ผลขณะต้นยังเล็ก และปลูกบนสวนยกร่อง
2.ระบายน้ำให้ท่วมแปลงในสวนผัก โดยปล่อยน้ำเข้าท่อพลาสติก ปล่อยรดทั้งแปลง หรือบริเวณทรงพุ่ม 2-3 วันต่อครั้ง
3.การให้น้ำแบบระบบพ่นฝอย ซึ่งสามารถใช้กับพืชไร่ ทุ่งหญ้า และไม้ผล
4.การให้แบบร่อง จะเหมาะกับพื้นที่มีความลาดเท ดินระบายน้ำดีโดยให้น้ำ 7- 15 วันต่อครั้ง
5.ระบบน้ำหยด เป็นวิธีการที่ต้องลงทุนมากกว่าวิธีการอื่นๆ แต่วิธีนี้จะประหยัดน้ำได้ประมาณ 10 เท่า

หลักการพิจารณาเพื่อเลือกวิธีการให้น้ำ

1.สะดวก เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และสภาพการให้น้ำแก่พืชที่ปลูก
2.ประหยัดทั้งทุนและเวลาปฏิบัติ รวมไปถึงการประหยัดน้ำด้วย
3.วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้มีความคงทน และมีระยะเวลาใช้งานคุ้มทุน
4.เหมาะสมกับต้นทุนการผลิต และผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ

ที่มา : หนังสือเกษตรธรรมชาติ เขียนโดย ผศ.มุกดา สุขสวัสดิ์

บทความแนะนำ