ปัจุบันเรื่องสิทธิเกษตรกรในทรัพยากรพันธุกรรมเป็นประเด็นที่ถูกกล่าวถึงในหลายระดับ ทั้งระดับความตกลงระหว่างประเทศ เช่นอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ สนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สอนทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า พิธีสารว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพเป็นต้น
ประเทศไทยนั้น มีกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรพันธุกรรมในหลากหลายระดับ ตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดเรื่อยมาจนถึงพระราชบัญญัติฉบับต่างๆที่สำคัญๆ ได้แก่ พระราชบัญญิคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 โดยกฎหมายเหล่านี้มีสาระสำคัญและเชื่อมโยงกับสิทธิของเกษตรกรในทรัพยากรพันธุกรรมที่ต่างแตกต่างกันไป
กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเกษตรและชุมชนในทรัพยากรพันธุกรรม
1.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญหมวดที่เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของชาวไทยระบุบ ” บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพสหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน หรือหมู๋คณะอื่น ” (มาตรา 64 วรรค 1 ) โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิชุมชน รัฐธรรมนูญ ปี 50 ระบุไว้อย่างชัดเจนในมาตราที่ 66 ว่าบุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมี สิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติและมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมรวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน
และในมาตรา 67 วรรค 1 ระบุไว้ว่า “สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ บำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพและในการคุ้มครองส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ย่อมได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสม”
สรุปได้ว่านโยบายพื้นฐานแห่งรัฐจะรับรองสิทธิชุมชนให้สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพนั่นเอง
1.2 พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542
เป็นกฎหมายที่ประกอบด้วย 8 หมวด รวมทั้งสิ้น 69 มาตรา ถูกตราขึ้นด้วยเจตนารมณ์ 2 ประการ คือ
1) เพื่อส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้มีการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืชใหม่ภายใต้หลักความปลอดภัยทางชีวภาพและความมั่นคงทางอาหารด้วยการให้สิทธิการคุ้มครองตามกฎหมาย
2) เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์พืชดั้งเดิม ทั้งพันธุ์พืชพื้นเมืองและพันธุ์พืชป่าที่คำนึงถึงสิทธิเกษตรกรและสิทธิของชุมชน ด้วยการกระตุ้นให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมอนุรักษ์และใช้ประโยขน์ในทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยั่งยืน
โดยพันธุ์พืชที่จะได้รับความคุ้มตรองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ
1.พันธุ์พืชใหม่ คือ พันธุ์พืชที่มีลักษณะคุณสมบัติที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในพันธุ์นั้น
2.พันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น คือพันธุ์พืชที่มีอยู่ในชุมชนใดชุมชนหนึ่งโดยเฉพาะ
3.พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป คือ พันธุ์พืชที่กำเนิดในประเทศ หรือมีอยู่ในประเทศและได้มีการใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป
4.พันธุ์พืชป่า คือ พันธุ์พืชที่มีหรือเคยมีอยู่ในประเทศตามสภาธรรมชาติและไม่ได้นำมาใช้เพาะปลูกอย่างแพร่หลาย โดยพืชป่าไม่จำเป็นต้องมีความสม่ำเสมอ
ทั้นนี้พันธุ์พืชเฉพาะถิ่นและพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น จะได้รับความคุ้มครองก็ต่อเมื่อได้รับการจดทะเบียนตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น ในขณะที่พันธุ์พืชที่ไม่ต้องจดทะเบียน (คือได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายทันที) ได้แก่ พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปและพันธุ์พืชป่าหรือส่วนใดส่วนหนึ่งเพื่อปรับปรุงพันธุ์ ศึกษาทดลอง หรือวิจัยเพื่อประโยชน์ทางการค้า จะต้องได้รับอนุญาติจากพนักงานเจ้าหน้าที่และทำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่รัฐ
1.3 พระราชบัญ้ติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ.2546
เป็นกฎมหายที่เน้นส่งเสริมให้มีการพัมนาคุณภาพของสินค้าที่ผลิตในท้องถิ่นให้ดียิ่งขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัมนาทางด้านการค้าของประเทสต่อไป การให้คุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จะช่วยกระตุ้นให้ผู้ผลิตในท้องถิ่นมีความต้องการที่จะเสริมสร้างและรักษาภาพพจน์ในสินค้าที่ผลิตจากท้องถิ่นของตน การป้องกันไม่ให้ประชาชนสับสนหรือหลงผิดมนแหล่งภูมิศาสตร์ของสินค้า โดยกำหนดให้ขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สำหรับสินค้าที่มาจากแหล่งภูมิศาสตร์และห้ามการใช้บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์อันจะทำให้เกิดความสับสนหรือหลงผิดในแหล่งภูมิศาสตร์อันแท้จริงของสินค้าที่ระบุในทะเบียน
“สิ่งที่บ่ชี้ทางภมิศาสตร์” หมายถึง สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เรยกหรือใช้ใช้แทนแหล่งภูมิศาสตร์ และที่สามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้นเป็นสินค้าที่มีภาพ ชื่อเสียงหรือคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์ดังกล่าว การขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ไม่สามารถใช้กับ ชื่อสามัญ ที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่าเป็นชื่อที่ใช้เรียกขานสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง
จะเห็นได้ว่า สิ่งที่บ่ชี้ทางภมิศาสตร์มีความแตกต่างจากทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่น คือผู้เป็นเจ้าของไม่ใช่บุคคลนึ่งบุคคลใดแต่เป็นกลุ่มชุมชนที่เป็นผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์นั้นๆ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ผลิตที่อาศัยอยู่ในสถานที่หรือแหล่งภูมิศาสตร์เท่านั้นอผู้ผลิตคนอื่นที่อยู่นอกแหล่งภูมิศาสตร์จะไม่สามารถผลิดสินค้าโดยใช้ชื่อแหล่งภูมิศาสตร์เดียวกันมาแข่งขันได้ สิทธิดังกล่าวนี้นักวิชาการบางท่านเรียกว่า “สิทธิชุมชน”
ที่มา : หนังสืออิสรภาพทางพันธุกรรม : สิทธิแห่งเกษตรกร บรรณาธิการ โดย คุณสุภา ใยเมือง คณะผู้เขียน คุณวิฑูร เลี่ยนจำรูญ,คุณวลัย อดออมพานิช,คุณพัชราวรรณ มาทีฆะ,คุณนาถพงศ์ พัฒนาพันธ์ชัย,คุณวีระยุทธ โพธิ์ถาวร จัดพิมพ์โดย มูลนิธเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) ,แผนงานทรัพยากรอาหาร และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)