โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

ความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่

พันธุ์ข้าวพื้นบ้าน แต่ละสายพันธุ์มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน บางพันธุ์เหมาะสมกับสภาพพื้นที่หนึ่ง เช่น พันธุ์ข้าวเหนียวลอยที่มีความเหมาะสมกับที่ลุ่มน้ำขังนาน หรือพันธุ์ขาวใหญ่ใช้ปลูกในที่ลุ่มต่ำของพื้นที่ หรือพันธุ์ข้าวดอเหมาะสมที่จะปลูกที่ดอน ดังนั้นในแปลงนาหนึ่งจะต้องเลือกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับระบบนิเวศ เพื่อช่วยลดปัญหาพืชผลเสียหายและได้ผลผลิตต่ำ

พันธุ์ข้าวพื้นบ้านมีความต้านทานโรคและแมลงศรัตรูพืชได้ดีกว่า…

พ่อถาวร พิลาน้อยปลูกแฝกหอม แล้วพบว่าไม่มีแมลงมาลงกัดกินทำลายข้าว จึงปลูกไว้เพราะมีความต้านทานแมลงศรัตรูพืช อีกทั้งได้ปลูกพันธุ์ข้าวเหนียวเล้าแตก ไว้เพื่อล่อแมลงให้มาลง เพื่อที่จะได้ไม่ไปรบกวนข้าวพันธุ์อื่นๆ หรือกรณีพ่ทองหล่อปลูกพันธุ์แสนสบายไว้ควบคุมวัชพืช ทำให้ไม่ต้องไปยุ่งเรื่องการจัดการนา และปลูกข้าวพันธุ์เขี้ยวงู เนื่องจากต้านทานโรคเพลี้ยไฟได้ดี ทั้งยังเกี่ยวง่ายอีกด้วย

การจัดการระบบการผลิต

ด้วยคุณสมบัติเฉพาะตัวในการเจริญเติบโตตามความเหมาะสมของพื้นที่ ทำให้เกิดคุณลักษณะของข้าวเบา (ข้าวที่มีอายุ 120 วัน) ข้าวกลาง และข้าวหนัก ซึ่งทำให้แต่ละพันธุ์เจริญเติบโตไม่พร้อมกัน ดังนั้นการดูแล บำรุงรักษา จนถึงขั้นตอนเก็บเกี่ยว เป็นไปตามลำดับของแต่ละพันธุ์ จึงช่วยในการวางแผนการปลูกได้เหมาะสมลดปัญหาด้านแรงงานและการจัดการได้ดี โดยเฉพาะครอบครัวที่มีแรงงานน้อย จะไม่ต้องเร่งรีบที่จะให้เสร็จพร้อมกันทุกแปลง เมื่อเสร็จจากข้าวสายพันธุ์หนึ่งจึงไปดูแลอีกสายพันธุ์หนึ่ง โดยไม่ต้องใช้แรงงานและเทคโนโลยีเสริมจากภายนอก และช่วยให้การทำงานเป็นอิสระมากขึ้น อีกทั้งช่วยแก้ปัญหา หากมีพันธุ์ใดที่ต้องประสบผลผลิตเสียหายไม่ว่าจะมีสาเหตุมาจากโรคแมลงศรัตรูพืช ปัญหาน้ำไม่พอ ฝนตกล่าช้า หรือแล้ง ก็ยังมีสายพันธุ์ข้าวอื่นที่ทดแทนกันได้

การแปรรูปข้าว

เพื่อที่จะได้นำเสนอความสำคัญของความหลากหลายของข้าวพื้นบ้าน กลุ่มจึงได้รวบรวมความรู้การแปรรูปอาหารจากข้าวที่เป็นภูมิปัญญาแต่ในอดีตขึ้นมา เช่น ข้าวเล้าแตกเมื่อนึ่งแล้วมีความอ่อนนุ่ม เหนียวและติดมือ ซึ่งเหมาะกับการนำไปทำข้าวโป่ง(ข้าวเกรียบว่าว) เนื่องจากตำแล้วเป็นแผ่นแป้งเร็วกว่าพันธุ์อื่นและมีสีขาวสะอาดหรือการทำข้าวจี่ ด้วยข้าวเล้าแตกเพราะเป็นก้อนได้ดี เมื่อย่างไฟจะไม่แตกออกจากกันง่าย หรือนำข้าวเหนียวหลากสี มาทำขนมข้าวเหนียวหน้าสังขยา และหน้าเค็ม หรือทำข้าวต้มมัด นอกจากนี้ยังมีอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งทำเรื่องแปรรูปข้าวชื่อกลุ่มอารยะฟาร์ม หรือ วิสาหกิจชุมชนแปรรูปข้าวอินทรีย์ครบวงจร ต.วังหลวง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด สามารถ เข้าไปดูได้ตามลิ้งนี้เลย คลิ๊กที่นี่

ที่มา : หนังสืออิสรภาพทางพันธุกรรม : สิทธิแห่งเกษตรกร บรรณาธิการ โดย คุณสุภา ใยเมือง คณะผู้เขียน คุณวิฑูร เลี่ยนจำรูญ,คุณวลัย อดออมพานิช,คุณพัชราวรรณ มาทีฆะ,คุณนาถพงศ์ พัฒนาพันธ์ชัย,คุณวีระยุทธ โพธิ์ถาวร จัดพิมพ์โดย มูลนิธเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) ,แผนงานทรัพยากรอาหาร และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)

บทความแนะนำ