โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

ชื่อวิทยาศาสตร์  : Garcinia cowa Roxb. ex Choisy
ชื่อวงศ์ : Clusiaceae  
ชื่อสามัญ : –
ชื่ออื่น :
หมากโมง (อุดรธานี), กะมวง (ใต้), ส้มมวง (นครศรีธรรมราช) ส้มโมง

ถิ่นกำเนิด :

     ชะมวง เป็นพืชท้องถิ่นในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งประเทศพม่า มาเลเชีย ลาว เวียดนาม อินโดนีเชีย และไทย โดยพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย แต่พบได้มากในแถบพื้นที่ภาคใต้ เนื่องจากเป็นไม้ที่ชอบดินชื้น ส่วนภาคอื่นๆจะพบเติบโตได้ดีบริเวณใกล้แหล่งน้ำ แม่น้ำ ลำห้วย ลำคลอง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

     ลำต้น
     ชะมวงเป็นไม้ยืนต้นไม่พลัดใบ ลำต้นสูงประมาณ 15-20 เมตร เปลือกเรียบ สีน้ำตาลอมเทา ต้นอายุมากมีเปลือกแตกเป็นสะเก็ด มียางสีเหลือง ต้นแตกกิ่งในระดับต่ำ เปลือกลำต้นมักเกิดไลเคนเกาะหรือมีราเติบโตทำให้มองเห็นเป็นสีขาวของรา และสีเขียวของไลเคน โดยเฉพาะต้นที่โตบริเวณป่าดิบชื้นหรือใกล้แหล่งน้ำ เมื่อถากเปลือกจะพบเนื้อเปลือกเป็นสีแดงหรือออกชมพูเข้ม และมีน้ำยางไหลออกมา

ใบ
     ใบชะมวง เป็นใบเดี่ยว แตกใบมากบริเวณปลายกิ่ง ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน เป็นมุมฉาก มีรูปรี ค่อนข้างหนา แต่กรอบ กว้างประมาณ 2.5-5 ซม. ยาว 8-13 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน แผ่นใบเรียบ เป็นมัน ขอบใบเรียบ มองเห็นเส้นใบไม่ชัดเจน ก้านใบยาว 0.5-1 ซม. ใบอ่อนหรือยอดอ่อนมีสีม่วงแดง ใบแก่มีสีเขียวอ่อน และสีเขียวเข้มตามอายุใบ เมื่อเคี้ยวจะมีรสเปรี้ยว

     ดอก
     ดอก เป็นดอกเดี่ยว ขนาดเล็ก ออกเป็นกระจุกตามซอกใบ และกิ่ง ดอกมีสีเหลืองนวล ด้านในดอกมีสีชมพูหรือม่วงแดง กลีบดอกมี 4 กลีบ ค่อนข้างแข็ง ขนาดกลีบเท่ากับกลีบเลี้ยง ดอกบานมีกลิ่นหอม ดอกตัวผู้ และตัวตัวเมียแยกต้นกัน ดอกตัวผู้มักออกตามซอกใบ และกิ่ง 3-8 ดอก ส่วนดอกตัวเมียออกบริเวณปลายยอด 2-5 ดอก ติดดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน

     ผล
     ผลมีลักษณะกลม เบี้ยวเล็กน้อย ผลเรียบเป็นมัน มีร่องเป็นพู ขนาดผลประมาณ 2.5-6.0 ซม. ตามสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่หรือสุกมีสีเหลือง และสุกจัดมีสีเหลืองออกส้ม เปลือกผลมียางสีเหลือง เนื้อหุ้มเมล็ดสีเหลือง ฉ่ำน้ำ เนื้อผลดิบมีรสฝาดอมเปรี้ยว เมื่อสุกออกเปรี้ยวมากกว่า เมล็ดแบนรี 4-6 เมล็ด

การขยายพันธุ์ :

     ใช้เมล็ด ปักชำกิ่ง และตอนกิ่ง

การใช้ประโยชน์ :

     – ใบชะมวงอ่อน และยอดอ่อนมีรสเปรี้ยว ใช้นำมาปรุงอาหารประเภทต้มยำ แกงส้ม หมูชะมวง และแกงชนิดต่างๆ เมื่อถูกความร้อนใบจะกรอบนุ่ม
     – ใบชะมวงอ่อน และยอดอ่อน ใช้รับประทานสดหรือเป็นผักจิ้มน้ำพริก
     – ผลมีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานเป็นผลไม้
     – เนื้อไม้นำมาแปรรูปเป็นไม้ก่อสร้าง สร้างบ้านเรือน
     – เนื้อไม้นำมาแปรรูปทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ชนิดต่างๆ
     – เนื้อไม้ และกิ่ง ใช้เป็นฝืนหุงหาอาหาร
     – ใช้ปลูกเพื่อให้ร่มเงา และเป็นพืชผักสมุนไพรพื้นบ้าน

ที่มา : http://www.natres.psu.ac.th
http://www.phargarden.com
https://puechkaset.com

บทความแนะนำ