โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

ชื่อวิทยาศาสตร์  : Phyllanthus acidus Linn.
ชื่อวงศ์ : Euphorbiaceae
ชื่อสามัญ :   Star goose berry / Otaheite-goose berry
ชื่ออื่น :   หมากยม , ยม ,หมักยม

ถิ่นกำเนิด :

     มีถิ่นกำเนิดเอเชียใต้ และอเมริกาเขตร้อนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การนำเข้ามาในประเทศไทย  สันนิฐานว่ามีผู้นำเข้ามาจากประเทศบราซิล และบางคนสันนิษฐานว่าเป็นพืชคู่บ้านคู่เมืองของไทยมานานแล้ว เพราะมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

     ลำต้น มะยมเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง มีความสูงประมาณ 3-10 เมตร ลำต้นมีลักษณะค่อนข้างกลม ผิวเรียบ เป็นลูกคลื่นเล็กน้อย ลำต้นแตกกิ่งตั้งแต่ระดับล่างของลำต้น กิ่งค่อนข้างเปราะ และหักง่ายแตกใบจำนวนมากตามกิ่ง
     ใบ ใบมะยมเป็นใบประกอบ แทงออกตามกิ่ง มีก้านใบยาว 20-30 ซม. แต่ละก้านใบมีใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ใบมีสีเขียว แผ่นใบเรียบ ใบเป็นรูปไข่ค่อนข้างเบี้ยว ฐานใบค่อนข้างกลม ปลายใบแหลม กว้างประมาณ 2-4 ซม. ยาวประมาณ 4-8 ซม.
     ดอก ดอกมะยมออกเป็นช่อ แทงออกตามกิ่ง และลำต้น แต่ส่วนมากออกตามปลายกิ่งจนถึงยอด แทงงอกบริเวณด้านล่างของใบ เป็นดอกเพศผู้ และดอกเพศเมียในต้นเดียวกัน มีก้านดอกยาว 1-2 มม.กลีบดอกมีรูปร่างคล้ายไต มีสีเขียวหรือสีแดงรื่อ กลีบดอกยาวประมาณ 1.5 มม. ดอกตัวผู้มีเกสรตัวผู้ 4 อัน ดอกตัวเมียมีรังไข่ 3-4 ห้อง บางครั้งอาจพบเกสรตัวผู้ 1-3 อัน บริเวณฐานรังไข่
     ผล และเมล็ด ผลมะยมมีลักษณะเป็นพูเว้านูนรอบผล ประมาณ 6-8 พู (เหลี่ยมนูน) ผลค่อนข้างกลมแบน ผลกว้างประมาณ 1-3 ซม. มีขั้วผลสั้นประมาณ 0.5 ซม. ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีเหลืองอมเขียวเล็กน้อย และแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองนวล เนื้อผลมีรสเปรี้ยว ผล 1 ผล มีเมล็ด 1 เมล็ด มีลักษณะเป็นพูคล้ายพูผล เมล็ดมีสีนวลอมน้ำตาล เนื้อเมล็ดแข็งมากแตกกิ่งก้านมาก ดอกมีสีเหลืองเขียว ออกดอกดก ติดผลดกทั่วลำกิ่ง เพราะต้นตัวเมียจะมีเกสรตัวเมียมากกว่าเกสรตัวผู้

การขยายพันธุ์ :

     การปลูกมะยมนิยมใช้วิธีการเพาะเมล็ด ,การตอน

การใช้ประโยชน์ :

     – ผลมะยมใช้รับประทานเป็นผลไม้ ผลสุกให้รสเปรี้ยวอมหวาน ผลดิบหรือผลอ่อนให้รสเปรี้ยวอมฝาด
     – ผลมะยมใช้ตำหรือยำ เป็นของว่าง
     – ผลมะยมใช้ทำไวน์มะยม
     – ผลนำมาดองเค็มหรือดองหวานเป็นผลไม้ดองรับประทาน
     – ใบมะยมใช้รับประทานคู่กับเมี่ยงหรือตำข่า
     – สาร Phyllanthusols A และ B ที่พบในรากมะยม ใช้ปรุงเป็นยาสำหรับใช้ในทางการแพทย์
     – ต้นมะยมใช้ปลูกเป็นไม้มงคล ตามความเชื่อว่า จะทำให้คนในครอบครัวเป็นที่นิยมรักใคร่ของคนที่รู้จัก ซึ่งทั่วไปมักนิยมปลูกไว้หน้าบ้าน
     – ใบมะยมมักใช้เป็นเครื่องประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
     – ต้นมะยมทั้งต้นตัวเมีย และตัวผู้มีลักษณะใบดกเขียว ช่วยเป็นร่มเงาให้อาศัย
     – ราก รสจืด แก้โรคผิวหนัง ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง ประดง ดับพิษเสมหะ
     – เปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ และแก้เม็ดผดผื่นคัน

ที่มา : https://puechkaset.com
http://clgc.agri.kps.ku.ac.th/

บทความแนะนำ