ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus infectoria Roxb.
ชื่อวงศ์ : MORACEAE
ชื่อสามัญ : –
ชื่ออื่น : ผักเฮือด ,ต้นเลียบ
ถิ่นกำเนิด :
พบในป่าผลัดใบผสมป่าโปร่ง ป่าแถบชายทะเล ป่าชายทุ่ง ทางภาคเหนือมีการนำมาปลูกในหมู่บ้าน ที่สาธารณะ ปลูกเอาร่มเงาให้ความร่มเย็น เป็นพืชยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นสูง 5-15 เมตร ต้นที่อายุมากจะแตกพุ่มใหญ่ ต้นที่ถูกตัดกิ่งหักกิ่งบ่อย จะดูทรงต้นเป็นคล้ายตอไม้ เหมือนต้นมะเดื่อ ต้นไทร มีปุ่มปม กิ่งก้านมาก ยิ่งตัดฟันยิ่งแตกกิ่ง จะแตกใบอ่อนช่วงปลายฤดูหนาว เข้าสู่ร้อน เดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม ใบอ่อน ผลิยอดใบอ่อนสีชมพู หรือสีชมพูอมเขียว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
ลำต้น ไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 9-14 เมตร จะทิ้งใบในช่วงฤดูหนาว หรือฤดูร้อน หลังจากนั้นจะแตกยอดอ่อน ลำต้นมีรากอากาศใบอ่อนมีสีเขียวอ่อนและกาบใบสีขาว ใบเมื่อแก่มีสีเขียว
ใบ เป็นใบเดี่ยวกว้าง6-8 เซนติเมตร ยาว 10-15 เซนติเมตร
ผล ออกตามกิ่งหรือลำต้นคล้ายลูกมะเดื่อ แต่ผลเล็กกว่า
ดอก สีชมพู
การขยายพันธุ์:
ใช้เมล็ดและปักชำกิ่ง
การใช้ประโยชน์ :
ใช้เป็นยาทั้งภายนอก และภายใน โดยนำ เปลือก มาต้ม ใช้ล้างแผลเปื่อย สิวและ ใช้สวนทวารในกรณีลิวคีเมีย ใช้กลั้วคอในกรณีน้ำลายไหลออกมาก และ ยังใช้กรณีประจำเดือนไม่ปกติ และ ตกขาว ใบ มีสารคล้ายเอสโตรเจน ทั้งต้นใช้ล้างแผลติดเชื้อแบคทีเรียอย่างเฉียบพลัน ที่เข้าสู่ผิวหนังแท้ และ ระบบน้ำเหลืองได้ โดยเป็นเชื้อกลุ่ม เบต้าฮีโมไลติก สเตร็บโตคอกไค ซึ่งมักเป็นกลุ่มเอ นอกจากนี้ใช้รักษาเลือดกำเดา ผลสุกสด หรือแห้ง มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลใน ในประเทศจีนใช้ ใบรักษา การปวดเส้นเอ็น ปวดดวงตา ปวดหัว แก้คัน และรักษาแผล ใช้ เปลือก หรือ รากสำหรับการรักษาอาการปวดไขข้อ แขนขาชา อ่อนล้า กล่าวกันว่า
ที่มา : https://web2012.hrdi.or.th
https://www.pharmacy.cmu.ac.th