โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

ชื่อวิทยาศาสตร์Dolichandrone serrulata (DC.) Seem.
วงศ์ :  Bignoniaceae
ชื่อสามัญ :   D. longissima Schum D.rheedii Seem
ชื่ออื่น : แคป่า แคขาว แคเค็ตถวา (เชียงใหม่) แคทราย(นครราชสีมา) แคแน แคฝอย(ภาคเหนือ) แคภูฮ่อ(ลำปาง) แคยอดดำ(สุราษฎร์ธานี) แคยาว แคอาว(ปราจีนบุรี)

ถิ่นกำเนิด :

       – ไม่ระบุถิ่นกำเนิดที่ชัดเจนหลักฐานการนำเข้าในไทยที่ชัดเจน แต่แหล่งแพร่กระจาย ของแคนาจัดเป็นต้นไม้ที่พบมากในป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ รวมถึงพบได้ทั่วไปตามหัวไร่ปลายนา โดยพบแพร่กระจายมากในภาคอีสาน รองลงมาจะเป็นภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ส่วนภาคใต้พบน้อย

ลักษณะทางพฤกศาสตร์ :

       – ไม้ต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงได้ถึง 10-20 เมตร ผลัดใบ
       – เปลือกลำต้น สีน้ำตาลอ่อนอมเทา อาจมีจุดดำประ ผิวเรียบ หรือล่อนเป็นเกล็ดขนาดเล็ก ลำต้นเปลาตรง มักแตกกิ่งต่ำ
       
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ปลายคี่ ออกตรงข้าม 3-5 คู่ รูปไข่แกมขอบขนาน ปลายแหลม โคนใบเบี้ยว กว้าง 2.5-7 เซนติเมตร ยาว 6-16 เซนติเมตร ขอบใบหยักแบบซี่ฟันตื้นๆ ผิวใบด้านล่างมีขนสั้นประปรายบนก้านใบ ก้านใบย่อยยาว 7-10 มิลลิเมตร 
       – ดอก เป็นดอกช่อแบบช่อกระจะสั้น ดอกใหญ่ รูปแตร สีขาว ออกตามปลายกิ่ง ยาว 2-3 ซม. ก้านดอกยาว 1.8-4 เซนติเมตร แต่ละช่อมี 2-10 ดอก บานทีละดอก กลิ่นหอม บานตอนกลางคืน รุ่งเช้าร่วง กลีบเลี้ยงหนาและเหนียว ปลายเรียวเล็กโค้งยาว 3-4 เซนติเมตร จะหุ้มดอกตูมมิด เชื่อมติดกันเป็นหลอดโค้งปลายแหลม เมื่อดอกบานจึงมีรอยแตกทางด้านล่าง มีลักษณะเป็นกาบหุ้มกลีบดอก ติดกันเป็นท่อ ปลายขยายออกเป็นรูประฆัง และแยกออกเป็น 5 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกัน ยาว 16-18 เซนติเมตร หลอดกลีบดอกยาว 13-14 เซนติเมตร ส่วนโคนแคบคล้ายหลอด สีเขียวอ่อน ส่วนบนบานออกคล้ายกรวยสีขาวแกมชมพู แฉกกลีบดอกมี 5 กลีบ รูปไข่ ยาว 3-4 เซนติเมตร ขอบกลีบย่น เป็นคลื่น ดอกสีขาว ดอกตูมสีเขียวอ่อนๆ โคนกลีบมีสีน้ำตาลปน เกสรเพศผู้ 4 อัน ติดอยู่ที่ด้านในของท่อกลีบดอก ปลายแยกมีขนาดสั้น 2 อัน ยาว 2 อัน และมีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 1 อัน รูปร่างเป็นเส้นเรียวเล็กรูปเส้นด้าย ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร อับเรณูยาวประมาณ 1 เซนติเมตร สีเทาดำ จานฐานดอกรูปเบาะ เป็นพูตื้นๆ เกสรเพศเมีย 1 อัน
       – ผล เป็นฝัก ช่อละ 3-4 ฝัก แบน รูปขอบขนาน โค้ง บิดเป็นเกลียว ยาว 40-60 เซนติเมตร พบตามป่า ทุ่ง ไร่ นา ป่าเบญจพรรณออกดอกช่วงเดือน มีนาคมถึงมิถุนายน กลีบดอกบานใช้ต้มจิ้มน้ำพริก หรือแกงส้ม

การขยายพันธุ์ :

       การปลูก และขยายพันธ์แคนาจะใช้วิธีการเพาะเมล็ด ส่วนต้นแคนาที่เราเห็นตามปั๊มน้ำมันนั้น จะเป็นต้นแคนาที่โตเต็มที่โดยได้มาจากการขุดทั้งส่วนราก และลำต้น แล้วย้ายมากปลูก นอกจากการปลูกขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดแล้ว แคนายังสามารถขยายพันธุ์ด้วยการตอน และการปักชำได้ด้วย แต่ยังไม่เป็นที่นิยมนัก สำหรับบางพื้นที่ที่มีต้นแคนามาก ผู้ที่สนใจปลูกแคนามักออกหากล้าแคนาที่เกิดใกล้ๆกับต้นแม่ แล้วย้ายนำมาปลูกตามที่ต้องการ

สรรพคุณ :

       – ดอก กินเป็นผัก ใช้ประกอบอาหารหรือลวกกินกับน้ำพริก ขับเสมหะ ขับลม 
       – ใบ ตำพอกบาดแผล ต้มเอาน้ำบ้วนปาก 
       – เปลือก แก้ท้องเฟ้อ ใช้กับสตรีหลังคลอด 
       – เมล็ด แก้ปวดประสาท แก้โรคชัก 
       – ราก แก้เสมหะและลม บำรุงโลหิต

ที่มา : https://sites.google.com/
http://www.natres.psu.ac.th/
http://www.phargarden.com/

บทความแนะนำ