ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dieffenbachia sp.
ชื่อวงศ์ : Araceae
ชื่อสามัญ : Dumb cane
ชื่ออื่นๆ : อ้ายใบ ,ว่านพญาค่าง ,มหาพรหม
ถิ่นกำเนิด :
หมู่เกาะอินดิสตะวันตก และทวีปอเมริกาใต้
ละหุ่งสันนิษฐานว่ามีถิ่นกำเนิดในอินเดียหรือแอฟริกา [1] อ้างถึงใน Kulkarni และ Ramnamurthy (1977) ปัจจุบันพบแพร่กระจายทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศเขตร้อน เขตร้อนชื้น โดยพบมากในประเทศบราซิล จีน อินเดีย รัชเซีย และสหรัฐอเมริกา รวมถึงประเทศไทย [1] อ้างถึงใน อนันต์ (2526) ส่วนประเทศไทยพบละหุ่งแพร่กระจายในทุกภาค พบได้มากในพื้นที่ลุ่มหรือริมทางน้ำ ริมแม่น้ำ เพราะการไหลของน้ำช่วยในการแพร่กระจายของเมล็ด
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น ละหุ่ง เป็นพืชล้มลุกฤดูเดียวหรือมีอายุข้ามปี ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 2-6 เมตร ลำต้นแตกกิ่งแขนงออกน้อย ทำให้แลดูเป็นทรงพุ่มโปร่ง เปลือกลำต้น และกิ่งมีทั้งสีเขียว สีน้ำตาล สีเหลืองหรือสีม่วงแดง และอาจมีนวลสีขาวปกคลุม ซึ่งแตกต่างกันตามสายพันธุ์ ส่วนแก่นลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อน เปราะหักง่าย
ใบ ละหุ่ง เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ แทงใบออกเดี่ยวๆเรียงสลับตามลำต้น ใบมีก้านใบทรงกลม ยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร ถัดมาเป็นแผ่นใบที่มีลักษณะเว้าเป็นแฉกๆคล้ายใบมะละกอ แต่ก้านใบละหุ่งจะเชื่อมกับแผ่นใบบริเวณตรงกลาง แผ่นมีขนาดประมาณ 20-60 เซนติเมตร แต่ขนาดใบจะแตกต่างตามสายพันธุ์ แผ่นใบเป็นแฉกเว้า ประมาณ 7-11 แฉก เรียงกันเป็นวงกลม แต่ละแฉกมีโคนเชื่อมติดกัน แผ่นแต่ละแฉกเรียบ ขอบมีลักษณะหยักเป็นฟันเลื่อย แผ่นแฉกมีเส้นกลางใบ และเส้นแขนงใบมองเห็นชัดเจน ทั้งนี้ ทั้งก้านใบ แผ่นใบ เส้นกลางใบจะมีสีแตกต่างกันตามสายพันธุ์ อาทิ ก้านใบสีม่วงแดง ก้านใบสีเขียว เส้นกลางใบสีเขียวอ่อน เส้นกลางใบสีม่วงแดง เป็นต้น
ดอก ละหุ่งออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ประกอบด้วยดอกแยกเพศ แต่จะอยู่บนช่อดอกเดียวกัน ซึ่งใช้การผสมเกสรด้วยแมลงเป็นหลัก ประกอบด้วยมีช่อดอกยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร ช่อดอกมีลักษณะเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นประกอบด้วยดอกออกเป็นกระจุกรวมกันแน่น ดอกตัวผู้จะอยู่ด้านล่างของช่อดอก ประมาณ 50-70% ส่วนดอกตัวเมียจะอยู่ด้านบนของช่อ ประมาณ 30-50% โดยดอกตัวผู้จะไม่มีกลีบดอก มีเพียงกลีบเลี้ยงห่อหุ้มอับเรณูเอาไว้ เกสรด้านในมีสีเหลือง ส่วนดอกตัวเมียจะไม่มีกลีบดอก มีแต่กลีบเลี้ยงหุ้มไว้เช่นกัน โดยมีด้านล่างเป็นรังไข่ ปลายเกสรมีสีเหลืองแยกออกเป็น 3 แฉก
ผล ละหุ่งติดเป็นผลเดี่ยวที่รวมบนช่อผลเดียวกัน ผลมีลักษณะทรงกลม ขนาดผลประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร มีสีแตกต่างกันตามสายพันธุ์ เปลือกหุ้มผลหนา เปลือกหุ้มผลมีหนามปกคุลมทั่วผล คล้ายผลเงาะ ผลอ่อนมีหนามอ่อน ไม่ปักทิ่มร่างกาย แต่หากผลแก่ หนามจะแข็งขึ้น เมื่อผลแห้ง เปลือก และหนามจะแข็ง และคม เปลือกผลมีสีน้ำตาลอมดำ และปริแตกออก
เมล็ด เมล็ดละหุ่งมีรูปรี และแบนเล็กน้อย ขนาดเมล็ดกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร เปลือกเมล็ดเรียบ มีลายสีน้ำตาลดำ และสีครีมประ ผิวเป็นมัน และแข็ง ด้านในเมล็ดเป็นเนื้อเมล็ด สีขาวนวลหรือสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ซึ่งประกอบด้วยน้ำมันจำนวนมากเป็นพูชัดเจน จำนวน 3 พู แต่ละพูมีเมล็ด 3 เมล็ด
การขยายพันธุ์ :
เพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์ :
– เมล็ดละหุ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์จากต้นละหุ่งที่สำคัญ และมีมูลค่าสูงสุด เมล็ดที่กะเทาะเปลือกออกแล้วจะเข้าสู่กระบวนการสกัดน้ำมัน ซึ่งถูกนำใช้ในหลายด้าน ได้แก่
– ใช้ในทางการแพทย์ สารหล่อลื่นภายนอก ใช้เป็นส่วนผสมของยาถ่าย เป็นต้น
– ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอุตสาหกรรม อาทิ น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันขัดเงา สีทาบ้าน หมึกพิมพ์ ทำสบู่ ลิปสติก เป็นต้น
– ใช้เป็นส่วนผสมของยาป้องกัน และกำจัดแมลงศัตรูพืช หรือใช้ฉีดพ่นในแปลงผักโดยตรง
– พันธุ์สีม่วงแดงนำยอดอ่อนมาย้อมผ้า ให้ผ้าสีเขียวอมเหลือง ส่วนเปลือกผลที่มีสีแดงนำมาย้อมผ้าเช่นกัน ให้ผ้าสีชมพู
– ลำต้นใช้เป็นวัตถุดิบผลิตกระดาษ โดยเฉพาะกระดาษสา
– ชาวประมงอีสานรู้จักนำเมล็ดละหุ่งมาตำบด แล้วคลุกผสมกับน้ำมันพืชหรือน้ำมันหมู่ ก่อนใช้ทารอบตัวเพื่อป้องกันพิษจากหอยคันหรือป้องกันผื่นแพ้จากสาหร่ายเมื่อลงทอดแหหรือจำปลา
– กากละหุ่งหลังการสกัดน้ำมันใช้เป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์ เพราะกากที่เหลือมีโปรตีน และไขมันสูง ทั้งนี้ กากเมล็ดจะต้องเข้าสู่กระบวนการทำลายพิษก่อนนำไปใช้
– กากละหุ่งใช้คลุกผสมกับวัสดุเพาะเห็ดสำหรับเพาะเห็ดต่างๆ
– กากละหุ่งใช้ทำปุ๋ยหมักหรือเทใส่แปลงเกษตร และไถกลบก่อนฤดูเพาะปลูก
ที่มา : https://puechkaset.com