โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Tamarindus  indica  (L.)
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSSAE
ชื่อสามัญ : Tamarin
ชื่ออื่นๆ : มะขาม , มะขามไทย ( ภาคกลาง ) , ตะลบ ( นครศรีธรรมราช ), ม่วงโคล้ง ( กาญจนบุรี )

ถิ่นกำเนิด :

เป็นพื้นพรรณไม้พื้นเมืองของทวีปแอฟริกา  แถบประเทศซูดาน ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดแม้แต่ดินลูกรัง เจริญในดินร่วน ทนแล้งได้ดี ฤดูที่เหมาะสมคือฤดูฝน มะขามได้นำเข้าไปปลูกในประเทศอินเดีย  และต่อมาได้แพร่กระจายทั่วในเอเชียและเขตร้อนอื่นๆ   ประเทศไทยจัดว่าเป็นแหล่งปลูกมะขามหวานและเปรี้ยวที่ใหญ่ที่สุด

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

      ไม้ต้น ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ สูง 20-25 ม. แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นขรุขระและหนาสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทาดำ
     ใบ ใบเรียงสลับ ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคู่ มีใบย่อยขนาดเล็ก 20-40 คู่ ใบย่อยรูปขอบขนาน โคนใบไม่เท่ากัน ปลายใบมนหรือกว้าง ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบลื่น ใบมีสีเขียว ด้านล่างเส้นใบเรียบ
     ดอก ดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็ก ดอกสมบูรณ์ืเพศ กลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดงอยู่กลางดอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบขนาดไม่เท่ากัน เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.0-1.5 ซม. เกสรตัวผู้ 10 อัน ที่สมบูรณ์มี 3 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน
     ผล ฝักยาวหรือโค้ง กว้าง 1.0-2.5 ซม. ยาว 5-15 ซม. เปลือกผลหนา แ็ข็ง เปราะ สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมเทา ผลสดเมื่อแก่มีสีเขียวเข้ม เมื่อสุกมีสีน้ำตาลเนื้อฉ่ำน้ำ มีรสเปรี้ยว บางพันธุ์อาจหวาน หรือหวานอมเปรี้ยว เมล็ดกลมรีมีสีดำ มี 3-12 เมล็ด

การขยายพันธุ์ :

ทาบกิ่ง , ติดตา , ตอนกิ่ง

การใช้ประโยชน์ :

          เป็นสรรพคุณทางยา เช่น เป็นยาระบาย  ขับพยาธิไส้เดือน  ขับเสมหะ  และมีคุณค่าทางโภชนาการ  ยอดอ่อนและฝักอ่อนมีวิตามิน เอ มาก มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ ลดความร้อนของร่างกายได้ดี และอุดมด้วยกรดอินทรีย์  มีคุณสมบัติชำระล้างความสกปรกรูขุมขน  คราบไขมันบนผิวหนังได้ดีมากลและเนื้อไม้ปลูกเป็นไม้ประดับ และให้ร่มเงา  ทำเป็นเครื่องการเกษตร

ที่มา : https://sites.google.com
https://sites.google.com

บทความแนะนำ