โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

ขอบคุณภาพจาก กลุ่มวิสากิจชุมชนบ้านโฉนดชุมชนลานตากฟ้า-คลองโยง

การปักดำใช้วิธีการปักดำโดยใช้กล้าต้นเดียว ซึ่งเป็นการปรับประยุกต์ความรู้จากการทำนาแบบ SRI (System of Rice Intensification ) ซึ่งเป็นการคิดค้นการเพิ่มผลผลิตข้าว โดยใช้กล้าข้าวไม่เกิน ๑๒ วันในการปักดำ ในสภาพพื้นที่ที่เหมาะสม และใช้วิธีการแบบทนุถนอม เมื่อนำมาปรับประยุกต์ใช้กับชาวนาในพื้นที่ทำให้พี่น้องชาวนาหลายคนไม่มั่นใจและเป็นกังวลว่าหอยเชอรี่จะกัดกิน ต้นกล้าจะเปื่อย กลัวว่าจะไม่ได้ข้าว พ่อสน เย็นดีรัมย์ อายุ ๕๘ ปี ชาวบ้านนากุดสิม หมู่ ๘  กล่าวว่า ทำนาตั้งแต่อายุ ๑๘ ปี ไม่เคยใส่ต้นเดียว ตมธรรมชาติที่พอแม่พาทำมีแต่ดำ ๓-๔ ต้น เลยยังไม่มั่นใจ กลัวต้นเน่าตาย การทดลองครั้งนี้อยากลองดู ว่าดำแบบไหนจะได้ผลผลิตมากกว่ากัน “ทดลองเบิ่ง ทดสอบเบิ่ง ” คำพูดย้ำถึงความไม่เชื่อมมั่น ซึ่งเชื่อว่าจะนำไปสู่การติดตามจนกว่าจะเก็บเกี่ยว  กิจกรรมในช่วงเช้านำไปสู่การสรุป ร่วมกัน เกิดเป็นความรู้ของพี่น้องชาวนา รวมถึงการวางแผนติดตามการเจริญเติบโตของข้าวในแปลง ซึ่งมีสมาชิกอาสา ๒ คน ดูแลติดตามและกำหนดการเรียนรู้ร่วมกันของทีมเป็นระยะ โดยมีการใช้แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป ข้อมูลการเพาะปลูก และข้อมูลลักษณะประจำพันธุ์ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ร่วมกัน

ภาพบรรยากาศการทำงานร่วมกัน ความกระตือรือร้นและการลงมือปฏิบัติอย่างแข็งขัน ทำให้ภารกิจร่วมกันเสร็จสิ้นในระยะเวลาอันรวดเร็ว “พี่น้องกระตือรือร้นในการทำงานร่วมกัน แม้เขายังไม่มั่นใจ มีข้อสงสัย มีความค้างคาใจ แต่ก็มีความกระตือรือร้น ในการเรียนรู้ เป็นที่น่าพอใจกับการเสียสละเวลาจากกิจกรรมของตัวเองมาร่วมด้วยความตั้งใจ” นายบำรุงสรุปการทำกิจกรรมในครั้งนี้ 

นายสุเมธ ปานจำลอง ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ภาคอีสาน กล่าวถึงการสนับสนุนกระบวนของชาวนาและการสนับสนุนจากองค์กรภายนอก ว่า “ เป็นกระบวนการที่ต้องเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง ผู้นำเกษตรกร เกษตรกรต้นแบบ ผู้รู้ที่มีความรู้ประสบการณ์ ของเกษตรกรเรื่องการทำแปลงทดลอง เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก   การเรียนรู้ที่เน้นเป็นการปฏิบัติร่วม  การปฏิบัติการที่สืบเนื่อง และสรุปผลทำให้เกิดการค้นพบความรู้ร่วมกัน เกิดความสัมพันธ์ในเชิงเครือข่าย ให้เกิดการเรียนรู้จากของจริงและสามารถขยายผลได้ ” ทั้งนี้กระบวนการของชาวบ้านยังต้องการการสนับสนุน โดยองค์กรภายนอก “ เป็นกระบวนการที่ต้องไปกระตุ้นให้เกิดการเชื่อมโยงความรู้ การให้ข้อมูล เทคนิคทางวิชาการ  บทบาทของ อบต. ต้องสนับสนุนงบประมาณ และต้องให้การรับรองพันธ์ รวมถึงกระตุ้นให้ชาวบ้านเกิดการเรียนรู้อย่างสืบเนื่อง จนเกิดเป็นความรู้ของกลุ่มเกษตรกร

บทความแนะนำ