โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

แลก…แบ่ง…ปัน…พันธุ์ข้าวแต่แรก” งานแลกเปลี่ยนพันธุกรรม
ข้าวพื้นบ้านของเครือข่ายชาวนาทางเลือกภาคใต้ ปี 2552

เรียบเรียงโดย
นาถพงศ์ พัฒนพันธ์ชัย มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย)

กว่าจะมาเป็นงาน “แลก…แบ่ง…ปัน” หากมองย้อนกลับไปอาจกล่าวได้ว่าการทำงานด้านพันธุกรรมข้าวพื้นบ้านในเครือ ข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคใต้ เริ่มต้นอย่างจริงจังในช่วงของโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนของ เกษตรกรรายย่อย ประมาณปี 2547-2548 และมีการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับงานพันธุกรรมข้าวในหลายระดับเรื่อยมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ลุ่มทะเลสาบสงขลา (ประกอบด้วยจังหวัดพัทลุง สงขลา และนครศรีธรรมราช)

ด้วยหลักคิดการทำงานเรื่องวิถีการผลิตกับวิถีวัฒนธรรมชาวนา ทำให้มีการพัฒนางานด้านพันธุกรรมข้าวพื้นบ้านมาเป็นลำดับ อาทิเช่น การจัดการเรื่องกองทุนพันธุ์ข้าวพื้นบ้านที่สามารถนำมาช่วยเหลือชาวนาใน พื้นที่ที่ขาดแคลน การสร้างความตื่นตัวเรื่องการทำงานฟื้นฟูและอนุรักษ์พันธุกรรมข้าวพื้นบ้าน และการรวมกลุ่มชาวนาในหลายพื้นที่ จนกระทั่งช่วงปลายปี 2550 ถึงต้นปี 2552 จากการที่มีองค์กรต่างๆ ทั้งในและนอกพื้นที่ เช่น ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) เป็นต้น เข้ามาสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับพันธุกรรมข้าวพื้นบ้านในพื้นที่ลุ่ม ทะเลสาบสงขลาอย่างจริงจัง จนเกิดกลไกการขับเคลื่อนในนาม “คณะทำงานยุทธศาสตร์ชาวนาภาคใต้” ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นกลไกเครือข่ายการทำงานเรื่องพันธุกรรมข้าวพื้นบ้านใน 3 จังหวัด ได้แก่ พัทลุง สงขลา และนครศรีธรรมราช ในนาม “เครือข่ายชาวนาทางเลือกภาคใต้” ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ร่วมกันคิด วางแผน หาวิธีการ และประสานเชื่อมโยงการทำงานให้เป็นไปอย่างมีรูปธรรม รวมถึงร่วมกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนงานของขบวนการชาวนาภาคใต้ให้เป็นไปอย่าง ชัดเจน

จากผลการดำเนินงานในช่วงเกือบ 3 ปีที่ผ่านมา การดำเนินงานเพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์พันธุกรรมข้าวพื้นบ้านภาคใต้มีรูปแบบที่ หลากหลาย เช่น กระบวนการฝึกอบรมและดูงาน โดยเฉพาะในเนื้อหาที่เกี่ยวกับเทคนิคและองค์ความรู้ใหม่ๆ การเรียนรู้ผ่านเวทีแลกเปลี่ยนพันธุกรรมและผ่านกลไกการเชื่อมร้อยของเครือ ข่ายเกษตรกรรมทางเลือก 4 ภาค การเชื่อมโยงกับวิถีวัฒนธรรมของชุมชน รวมทั้งการเชื่อมร้อยกับการทำงานเยาวชน เป็นต้น จนกระทั่งเกิดรูปธรรมการจัดการพันธุกรรมข้าวพื้นบ้านของกลุ่มองค์กรชาวนาภาค ใต้หลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการดำนาข้าวพื้นบ้าน 10 สายพันธุ์ ในแปลงนารวมศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงพื้นที่ 10 ไร่ ในงาน “ออกปาก กินนาวาน ข้าวพื้นบ้าน สืบสานวิถีนา” โดย มีเป้าหมายเพื่อขยายพันธุ์ข้าวพื้นบ้านลงไปสู่ชุมชนและแปลงนาของเกษตรกร เป็นเสมือน “กองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้านทางเลือกภาคใต้” ที่สนับสนุนการขยายผลไปสู่ชาวนาและกลุ่มองค์กรต่างๆ ในฤดูการเพาะปลูกปีต่อๆ ไป (ดูรายละเอียดจากเอกสารประกอบงาน) ดาว์นโหลดเอกสารประกอบงาน “แลก…แบ่ง…ปัน…พันธุ์ข้าวแต่แรก” วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน 2552 ณ ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ต.ควนมะพร้าว อ.เมือง จังหวัดพัทลุง จึงเห็นได้ว่ากระบวนการเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูและ อนุรักษ์พันธุกรรมข้าวพื้นบ้านภาคใต้นั้น เป็นกระบวนการที่ผสมผสานกลมกลืนกับไประหว่างการให้องค์ความรู้หรือทักษะที่ จำเป็น การสร้างกลไกการรวมกลุ่มเพื่อหนุนเสริมพลังการเปลี่ยนแปลง ไปจนถึงการพัฒนาเนื้อหากิจกรรมที่หลากหลายเพื่อสร้างให้เกิดกระแสความตื่น ตัวและยอมรับทั้งในระดับพื้นที่ไปจนถึงระดับนโยบาย โดยมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การปรับเปลี่ยนวิธีคิดหรือกระบวนทัศน์ของชาวนา เป็นสำคัญ จากความคิดของการพึ่งพาภายนอกมาสู่การพึ่งพาตนเองและชุมชน จากความคิดการเน้นทุนนิยมที่ชี้วัดกันที่ตัวเลขทางเศรษฐกิจมาสู่แนวคิดของ การเน้นความสัมพันธ์ในสังคมที่มีตัวชี้วัดคือความสุขอย่างพอเพียงระหว่างคน ด้วยกันและระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม และเพื่อให้เมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้านได้เกิดแลกเปลี่ยน แบ่งปัน และกระจายจ่ายแจกไปยังพื้นที่ต่างๆ เป็นการสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรม รวมทั้งเป็นการขยายผลเรื่องการอนุรักษ์และพัฒนาข้าวพื้นบ้านโดยชุมชน สร้างให้เกิดความสามารถในการพึ่งตนเองด้านเมล็ดพันธุ์ของชาวนา รวมทั้งสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดที่ว่าทรัพยากรชีวภาพเป็นสมบัติสาธารณะที่ อยู่บนฐานการแลกเปลี่ยนแบ่งปันเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ ไม่ใช่สิทธิ์ผูกขาดโดยผู้หนึ่งผู้ใด จึงทำให้เกิดงาน “แลก…แบ่ง…ปัน…พันธุ์ข้าวแต่แรก” ขึ้นมา วัตถุประสงค์ของการจัดงาน

1. เพื่อแลกเปลี่ยนและแบ่งปันพันธุกรรมข้าวพื้นบ้านภาคใต้ โดยการกระจายพันธุ์ข้าวพื้นบ้านไปยังกลุ่ม/องค์กรชาวนาในพื้นที่ต่างๆ เป็นการสร้างจุดรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นบ้านของแต่ละพื้นที่ เพื่อทำให้เกิดกระจายและขยายผลการอนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน (ทั้งในเชิงปริมาณพันธุ์และพื้นที่เพาะปลูก) และแลกเปลี่ยนกระจายพันธุ์ข้าวให้กับคนที่สนใจทั่วไป เพื่อสะท้อนสิทธิชาวนาในการแลกเปลี่ยนอย่างเสรี และเพิ่มความหลากหลายของพันธุ์ข้าวในแปลงนาของแต่ละคน

 2. เพื่อเป็นการนำเสนอกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้านทางเลือกภาคใต้ ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างชาวนาในสามจังหวัดลุ่มทะเลสาบสงขลา ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง และองค์กรพัฒนาเอกชน รวมทั้งนำเสนอหลักเกณฑ์แนวทางการบริหารจัดการกองทุนฯ โดยกลุ่มองค์กรชาวนา และแนวทางในการขยายผลกองทุนฯ เพื่อให้เมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้านลงไปสู่ชุมชนและแปลงนาของเกษตรกร 3. เพื่อให้เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของขบวนการชาวนาทางเลือกและเป็น การให้ความรู้/ข้อมูลเชิงนโยบายในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ประมวลกิจกรรมที่เกิดขึ้น…. วันที่ 6 มิถุนายน 2552 เช้าที่อากาศโปร่งสบาย ท่ามกลางลานหมู่ไม้ภายในศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงที่มีการตั้งชื่อให้เฉพาะกิจ ว่าเป็น “ลานพันธุกรรมข้าวพื้นบ้านภาคใต้” ก็ได้ต้อนรับบรรดาพี่น้องชาวนาและเยาวชนจากหลายจังหวัดหลายพื้นที่ นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ของภาครัฐ และผู้ที่สนใจทั่วไปกว่า 250 คน ที่ต่างทยอยกันเดินทางมาด้วยวัตถุประสงค์เดียวกัน ในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานแลกเปลี่ยนพันธุกรรมข้าวพื้นบ้านปี 2552 “แลก…แบ่ง…ปัน…พันธุ์ข้าวแต่แรก” งานที่เกิดขึ้นบนความร่วมมือสามฝ่าย คือ กลุ่มองค์กรชาวนา (ในนามของเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคใต้) ภาครัฐ (ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง) และภาคองค์กรพัฒนาเอกชน (ทั้งในพื้นที่และส่วนกลาง) ซึ่งว่ากันว่าจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในภาคใต้เลยทีเดียว ยินดีต้อนรับเข้าสู่งาน แลก…แบ่ง…ปัน…พันธุ์ข้าวแต่แรก ต่างทยอยกันมาร่วมงาน หลายคนสนใจกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าวที่จะมอบให้ชาวนาในวันนี้ ความหมายของคำว่า “พันธุ์ข้าวแต่แรก” คือ พันธุ์ข้าวที่มีอยู่มาตั้งแต่ดั้งเดิม ซึ่งก็คือพันธุ์ข้าวพื้นบ้านที่อยู่คู่กับวิถีวัฒนธรรมชาวนาภาคใต้มาอย่าง ช้านาน งานนี้จึงเป็นสิ่งที่ช่วยสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชุมชนชาวนาดั้งเดิมที่อยู่บน ฐานคิดการแบ่งปัน โดยไม่หวงไว้เป็นกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียว รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญกับข้าวพื้นบ้านที่สอดรับกับระบบนิเวศและ รสนิยมการบริโภคของคนภาคใต้ อันนำมาสู่การพึ่งตนเองของครอบครัวและชุมชน ดังคำกล่าวรายงานของ คุณประพัฒน์ จันทร์อักษร ตัวแทนเครือข่ายชาวนาทางเลือกภาคใต้ ที่กล่าวว่างานครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อแบ่งปันพันธุ์ข้าวพื้นบ้านให้แก่กัน รวมทั้งเพื่อให้เกิดการพบปะพูดคุย เพื่อนำไปสู่กระบวนการทางเลือกที่สร้างการพึ่งตนเองของเกษตรกร เช่นเดียวกับคำกล่าวเปิดงานของ คุณยินดี แก้วประกอบ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เขต 9 ที่มีใจความว่า คุณยินดี แก้วประกอบ “….

บทความแนะนำ