โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

ข้อเสนอจากตัวแทนชุมชน ได้แก่ เขตดุสิต, เขตบางกอกน้อย, เขตบางคอแหลม, เขตปทุมวัน, เขตเคหะร่มเกล้า

  1. ความชัดเจนของการดำเนินงานที่มีความต่อเนื่องของนโยบายในระยะยาว
  2. การสนับสนุนงบประมาณให้ตรงความต้องการของชุมชน
  3. ให้ความรู้ในการผลิตอาหาร เช่น เพิ่มการเรียนรู้ทักษะการผลิตอาหารในศูนย์ฝึกอาชีพฯของ กทม.
  4. สนับสนุนพื้นที่ หรือ จัดสรรพื้นที่เกษตร “สวนครัวรั้วกินได้” ขยายคลังอาหารให้กับชุมชน หรือใช้พื้นที่โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตร
  5. มีตลาดอาหารปลอดภัย 1 ตลาด 1 ชุมชน
  6. แก้ปัญหาเศรษฐกิจเพื่อลดความรุนแรงในครอบครัว
  7. ร้านค้าสวัสดิการชุมชน 1 ร้านค้า 1 เขต สำหรับกลุ่มเปราะบาง
  8. กทม.ควรเป็นแหล่งสร้างอาหารและสร้างงานให้กับคนเปราะบาง
  9. ข้อมูลจำนวนชุมชนอย่างเป็นทางการของ กทม. ยังตกหล่น
  10. ทำงานร่วมกับภาคประชาสังคมที่ทำงานในพื้นที่อยู่แล้ว เช่น การจัดซื้ออาหารกลางวันของในโรงเรียนให้เป็นอาหารปลอดภัย

คุณวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สร้างกลไกกลางที่เป็นธรรม เพื่อสร้างเมืองที่ถูกต้อง ถ้าเมืองเป็นธรรมจะไปสู่สิ่งที่ถูกต้อง

– จัดสรรงบประมาณต้องกระจายลง 2000 ชุมชน รวมไปถึงชุมชนที่ยังไม่จัดตั้งอย่างเป็นทางการ คนที่มีอำนาจต้องเป็นคนที่ถืองบประมาณ นั่นคือประชาชนต้องเป็นผู้กำหนดการใช้งบประมาณได้เอง “คืนอำนาจให้กับประชาชน” ชุมชนเป็นผู้เสนอโครงการ และโหวตโครงการ ให้ข้าราชการเป็นผู้รับใช้ประชาชน

          – ประเด็นภาษีที่ดิน ภาษีที่ดินสิ่งปลูกสร้างในเขตกทม. ต้องนำเข้ามาเติมเป็นสวัสดิการณ์ให้กับผู้สูงอายุ หรือหากเป็นพื้นที่รกร้าง ควรเวนคืนที่ดิน มาทำตลาด มาสร้างเป็นพื้นที่สาธารณะ

          – เพิ่มค่าธรรมเนียนในการจัดการขยะให้สมเหตุสมผล ซึ่งการจัดการขยะที่เป็นอยู่เป็นการผลักภาระให้กับประชาชน เช่น ห้างใหญ่ที่ผลิตขยะเยอะต้องจ่ายมากกว่า

          – “บ้านคนเมือง” ลดภาระค่าใช้จ่ายค่าที่พัก, ค่าเดินทาง ทำให้คนที่มีรายได้น้อยอยู่ในเมืองได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งต้องสร้างสวัสดิการณ์ให้กับคนในเขตเมือง เพื่อสร้างโอกาศให้คนเข้ามาลงทุน และสร้างความหวังให้กับประชาชน

– บริการขนส่งสาธารณะ เป็นเครื่องมือในการขยายการพัฒนาย่านการค้า ย่านตึกแถว ไม่ให้กระจุกเฉพาะย่านที่มีที่จอดรถเพียงอย่างเดียว

-หาบเร่แผงลอย ขณะนี้สตรีทฟูดมีเพียง 2 ที่ ในกทม. (เยาวราชและข้าวสาร) ซึ่งเป็นเพียงการต้อนรับนักท่องเที่ยว เห็นแล้วว่าคนมีความต้องการซื้อแต่ไม่มีพื้นที่ขายที่ถูกต้อง

– โรงเรียน ต้องปรับหลักสูตรให้เด็กมีเวลาเรียน เวลาเล่น สร้างความไว้วางใจให้กับคุณครู และมีเงื่อนไขในการสั่งซื้ออาหารปลอดภัย

– สร้างความเข้าใจเมืองที่สวยเหมือนๆกัน “เมืองสวย คือเมืองที่มีชีวิต”

คุณรสนา โตสิตระกูล การบริหารเพื่อดูแลวิถีชีวิตและทำมาหากินของผู้คน

– การกระจายงบ 50 ล้าน 50 เขต ให้กับประชาชน ประชาชนแต่ละเขตเสนอโครงการมาของบประมาณ

– ตั้งกองทุนวิสาหกิจให้กับชุมชน เพื่อกระจายเงินไปยังคนรายได้น้อย

– สำรวจพื้นที่รกร้าง จัดสรรให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ให้ความสำคัญกับการมีพื้นที่ผลิตอาหารใกล้ๆ ชุมชน

– ส่งเสริมการแยกขยะ เพื่อนำมาแปรรูปสร้างมูลค่า เช่น ก๊าซหุงต้ม เพราะคนไทยต้องรับต้นทุนราคาก๊าซหุงต้มในราคานำเข้า ถึงแม้จะขุดได้จากอ่าวไทย

– ภาษีที่ดินเก็บเมื่อจะขายเท่านั้น

– พื้นที่สีเขียว, เกษตรในเมือง, และการจัดการขยะ ต้องส่งเสริมเพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน และเพิ่มการจ้างงานที่หลากหลาย ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์อย่างแพร่หลาย

– โครงการ “ครัวปันกันอิ่ม” ให้ร้านอาหารที่เข้าร่วมโครงการรับคูปองเพื่อเป็นค่าอาหาร และมอบคูปองให้กับคนรายได้น้อย ซึ่งเขาไม่ต้องไปต่อแถวรับอาหาร เป็นการรักษาศักดิ์ศรีให้เขาไม่รู้สึกว่าเขาเป็นผู้รอรับเพียงอย่างเดียว

– นโยบายเลิกไล่จับ หาบเร่ แผงลอย จัดทำเลใหม่ให้กับผู้ค้าขาย

– โรงเรียนใน กทม. สามารถจัดหลักสูตรเองได้

คุณศิธา ทิวารี

– จ่ายงบประมาณให้กับคนในชุมชน โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาจัดช่วยจัดการระบบการจัดสรรงบประมาณ และสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชนที่ทุกคนเข้าถึงได้ เช่น ระบบ blockchain ให้ประชาชนเข้าไปกำหนดงบประมาณของตนเอง, กระจายอำนาจการตรวจสอบด้วยระบบ Decentralized Autonomous Organizatiom หรือเรียกสั้นๆว่า “DAO” ช่วยเรื่องการเลื่อน ลด ปลด ย้าย ข้าราชการ

– ขอความร่วมมือจัดการที่ดิน ในพื้นที่ของเอกชน, ของกทม., หรือของรัฐวิสาหกิจ และใช้กฎหมายเข้ามาร่วม

– สร้างสวนครัวตัวอย่าง ประสาน/ทำงานร่วมกับ NGO ที่มีผลงานมาแล้ว และขยายเส้นทางจักรยาน

– สื่อสารกับรัฐบาลเพื่อต่อรองให้ประชาชนได้ประโยชน์ที่สุด อาหารและที่อยู่อาศัย เป็นสิ่งที่รัฐต้องดูแล

– ขยะอาหารมีสัดส่วนที่เยอะมาก เป็นรถบีบอัดลดจำนวนรอบในการขนส่ง

– หาบเร่ แผงลอยเป็นจุดแข็งของประเทศไทย เก็บข้อมูลเพื่อหาผู้ที่ต้องการบริโภค และผู้ที่ต้องการขาย จัดทำเป็นข้อเสนอ เปลี่ยนเทศกิจเป็นผู้สนับสนุนให้คนขายของได้อย่างถูกกฎหมาย

– จัดระเบียบผังเมือง ให้ประชาชนสามารถทำงานได้ ค้าขายได้

– โรงเรียน ระบบการศึกษา ต้องมีความเสมอภาคทางการศึกษา หลักสูตรต้องสอนทักษะการใช้ชีวิต  โรงเรียนที่ดีต้องอยู่ใกล้บ้าน

ร่วมอภิปราย: โดยผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานครเข้าร่วมแสดงวิสัยทัศน์ ได้แก่
ผู้สมัครเบอร์ 1   คุณ วิโรจน์  ลักขณาอดิศร
ผู้สมัครเบอร์ 7   คุณ รสนา โตสิตระกูล
ผู้สมัครเบอร์ 11  น.ต.ศิธา  ทิวารี
ดำเนินรายการโดย คุณพิภู พุ่มแก้ว

บทความแนะนำ