โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

การเข้าสู่วิกฤตอาหาร

          – ประเทศไทยต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนอาหารมาหลายยุค ตั้งแต่ สงครามโลก, น้ำท่วม, ภัยแล้ง และล่าสุดคือโรคระบาด กรุงเทพมหานครถือเป็นแหล่งเศรษฐกิจหลักของประเทศ เมื่อวิกฤตเกิดขึ้นทำให้เกิดผลกระทบไปอย่างกว้างขว้าง

          – ปี พ.ศ. 2565 ภาวะเงินเฟ้อสูงที่สุดในรอบ 13 ปี ค่าวัตถุดิบเพื่อนำไปประกอบอาหารราคาสูงขึ้น เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ไก่ รวมทั้งความไม่ปลอดภัยของผักผลไม้ที่มีสารเคมีตกค้าง ซึ่งเป็นสิ่งที่กดทับทางเลือกของคนจนให้น้อยลงไป

– ค่าอาหารถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก[i] ซึ่งคุณวิฑูรย์ได้เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายอาหารของกลุ่มผู้มีรายได้น้อยอยู่ที่ 48% และ กลุ่มผู้มีรายได้สูงอยู่ที่ 25.1% เมื่อเทียบกับรายได้

          – การผูกขาดช่องทางการจำหน่ายและกระจายอาหารเพียงไม่กี่ราย ทำให้กระทบต่อการค้าขายของคนที่มีต้นทุนน้อย ราคาขายของคนที่มีทรัพยากรต้นทุนที่น้อยกว่าจึงแพงกว่า ผู้ที่รวบรวมทรัพยากรในการผลิตได้มากกว่า จึงทำให้ผู้ที่รวบรวมทรัพยากรได้มากกว่าก็ขายได้ในราคาที่ถูกกว่าและได้กำไรมากกว่า

          – การถูกแย่งชิงพื้นที่ขายอาหารจากเทคโนโลยี (เครื่องดื่มจากตู้อัตโนมัติ)

เกษตรในเมือง

          – เดิมกรุงเทพฯในเขต หนองจอก มีนบุรี บางแค เป็นพื้นที่เกษตรกรรมแต่ปัจจุบันลดลง คนเมืองอาศัยตลาดเป็นแหล่งอาหารหลัก

– คนเมืองที่เป็นคนชั้นกลางมีศักยภาพในการผลิตอาหาร และสร้างสรรค์รูปแบบการผลิตที่หลากหลาย และสามารถแปรรูปได้เอง สามารถผนวกรวมวิถีเกษตรเข้ากับชีวิตประจำวันได้

– การสร้างความปลอดภัยด้านอาหาร ร้านค้าต้องเข้าถึงวัตถุดิบอาหารปลอดภัย และต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงอาหารอย่างทั่วถึง

– การเกษตรเป็นสิ่งที่เชื่อมระหว่างกลางเมืองกับชานเมือง การส่งผลผลิตผ่านเครือข่ายทางสังคมช่วยให้เข้าถึงอาหารได้อย่างตรงกลุ่มมากขึ้น

– ช่วยในการจัดการขยะอาหารที่แป็นปัญหาหลัก เช่น การจัดพื้นที่ทำปุ๋ยหมัก นำมาปลูกผัก

ความมั่นคงทางอาหารกับคนกรุงฯ

          – กรอบนโยบายเพื่อเผชิญวิกฤตอาหารของเมือง คือ 1. การขยายพื้นที่การผลิตอาหารโดยเฉพาะผักและผลไม้ในเขตเมือง 2. ส่งเสริมและขยายผู้ประกอบการร้านค้ารายย่อย ตลาดสด/ตลาดนัด/ตลาดอาหารของชุมชน ให้มีส่วนแบ่งมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจอาหาร 3. เฝ้าระวังและยกระดับความปลอดภัยในเรื่องอาหารของเมือง 4. สิทธิในอาหาร/สวัสดิการอาหารของทุกคน

          – ออกแบบเมืองเพื่อให้เป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ควรมีแหล่งผลิตอาหารในพื้นที่ เช่น การใช้พื้นที่รกร้างมาเป็นพื้นที่ผลิตอาหาร ไม่แยกคนออกจากพื้นที่ มีพื้นที่สีเขียวที่สมดุลกับพื้นที่เศรษฐกิจของเมือง

          – ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่ขายความมั่นคงทางอาหารมากที่สุด จึงต้องมีนโยบายเข้ามาดูแล

การจัดการพื้นที่เมือง

          – ตามทฤษฎีเมือง “เมืองอยู่ได้ด้วยเมืองบริวาร” การทำเกษตร(พื้นที่ผลิตอาหาร)ในเมืองยังเป็นสิ่งใหม่

          – คนที่มีรายได้น้อย อยู่ห้องเช่าราคาถูก ถือเป็นกลุ่มที่ยากลำบากที่สุด ไม่มีพื้นที่สำหรับปลูกผักหรือผลิตอาหารเอง ต้องพึ่งการซื้ออาหารราคาถูก นั่นคือการ “หาบเร่ แผงลอย” ซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจนอกระบบที่กำลังจะหายไป

          – มีพื้นที่ขายอาหารราคาถูก เพื่อบรรเทาปัญหาอาหารราคาแพงขึ้น รายได้ที่หามาได้หลังหักค่าอาหารจะเหลือไม่พอต่อการใช้ชีวิตด้านอื่น ทำให้ต้องเลือกอิ่มท้องมากกว่าความปลอดภัยของอาหาร และใช้วิธีประหยัด กินอาหารให้น้อยลงต่อมื้อ หรืออดไปเลย

          – ประสบการณ์จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา การปิดเมืองทำให้ขายรายได้ คนที่รับจ้างเป็นแรงงานงานของเมือง ไม่ได้รับการดูแลจากภาครัฐ ทั้งที่มีทรัพยากรเหลือ

          – ต้องมีแพลตฟอร์มที่จะเชื่อมให้เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างเครือข่าย เช่น ช่วยกระจายผลผลิตจากคนที่มีความพร้อมปลูกผักไปสู่คนที่มีความต้องการ ซึ่งมีคนจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้ปลูกผักด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ

          – การสร้างเครือข่ายต้องแบ่งตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่ และผังเมืองต้องให้โอกาสคนจนเมืองได้อยู่ในพื้นที่ด้วย

[i] รายงานสำรวจภาวะเศรษฐกิจครัวเรือน สำนักงานสถิติแห่งชาติ 2562

ผู้ร่วมอภิปราย: วันที่: 5 เมษายน 2565
1. คุณวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ มูลนิธิชีววิถี
2. คุณสุภา ใยเมือง มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย)
3. ผศ.ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4. คุณวรรณา แก้วชาติ เครือข่ายสลัมสี่ภาค มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย
5. คุณสาโรช ศรีใส สำนักงานคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย
ดำเนินรายการ: คุณนงลักษณ์ สุขใจเจริญกิจ

บทความแนะนำ