โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

กลุ่มอนุรักษ์พันธุกรรมข้าว ตำบลสายนาวัง

1. ชื่อกลุ่ม : กลุ่มอนุรักษ์พันธุกรรมข้าว ตำบลสายนาวัง

2. ที่ตั้งและภูมินิเวศ
          2.1 ที่ตั้ง: สำนักงาน 1 แห่ง และนาแปลงรวมซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์สายพันธุ์ข้าว มี 1 แห่ง
                    1) สำนักงานเลขที่ 33 หมู่ 7 บ้านกุดตาใกล้พัฒนา ต.สายนาวัง อ.นาคู จ.กาฬสินธุ์ 46160
                    2) นาแปลงรวม เช่าพื้นที่นาของนางงา ภูดี อยู่บริเวณรอยต่อบ้านนากะเดา หมู่ 6 และบ้านกุดตาใกล้ หมู่ 4 จำนวน 1 ไร่ 2 งาน
          2.2 ลักษณะภูมินิเวศ : ต.สายนาวังมีพื้นที่นาส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ส่วนในนาแปลงรวมเป็นที่ดอน

3. ขนาดพื้นที่นาแปลงรวม: 1 ไร่ 2 งาน

4. ความเป็นมา :
          ช่วงทำแผนงานโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อย ประมาณ ปี พ.ศ. 2544 ยังไม่มีการพูดถึงเรื่องพันธุ์ข้าว นายบำรุง คะโยธา ผู้นำเกษตรกรในขณะนั้นซึ่งเคยเข้าร่วมเป็นกรรมการบริหาร La Via Campesina ตัวแทน South East Asia ซึ่งงานพันธุกรรมเป็นงานหนึ่งของ La Via Campesina นายบำรุงพิจารณาสถานการณ์ในชุมชนตัวเองก็พบว่าไม่มีพันธุกรรมอะไรนอกไปจากข้าวเหนียวพันธุ์กข 6 ขณะที่มีการประชุมอย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมผลักดันให้รัฐบาลอนุมัติงบประมาณโครงการนำร่องฯ กล่าวคือ รัฐบาลช่วงปี พ.ศ. 2539-2540 สมัย ฯพณฯ พลเอกเชาวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี อนุมัติโครงการ แต่ยังไม่อนุมัติงบประมาณ จนกระทั่งรัฐบาลช่วงปี พ.ศ.2542-2543 สมัยดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้อนุมติงบประมาณโครงการนำร่องฯ ในการดำเนินงานโครงการนำร่องฯ ไม่ได้พูดถึงงานพันธุกรรมชัดเจน นายบำรุงเริ่มพูดถึงเรื่องพันธุกรรมพื้นบ้านในงานที่ต.สายนาวังเมื่อปี พ.ศ. 2543
          ในการประชุมก่อนได้รับงบประมาณโครงการนำร่องฯ ได้ใช้งบประมาณของหน่วยงานการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของเดนมาร์ก (Danish International Development Assistance – DANIDA) และหน่วยงานรับ ผิดชอบความร่วมมือด้านการพัฒนาและสิ่งแวดล้อมของเดนมาร์ก (Danish Cooperation for Environment and Development –DANCED) มีการประชุมร่วมกับพี่น้องเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกจากร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ สุรินทร์ นครพนม ปีแรกมีการรวบรวมพันธุ์ข้าวได้ 11 สายพันธุ์
          ต่อมาปีที่สอง เป็นช่วงที่ได้รับงบประมาณโครงการนำร่องฯ แล้ว ทางอ.กุดชุม จ.ยโสธร จัดงานประจำปีของภูมินิเวศ มีการบอกให้พี่น้องเครือข่ายนำพันธุกรรมข้าวไปแลกเปลี่ยนกันในงานด้วย มีการรวบรวมพันธุ์ข้าวได้ 60 สายพันธุ์
          จากนั้นในปีที่สาม มีงานมหกรรมวิชาการชาวบ้านที่บ้านกุดตาใกล้ จึงเริ่มสร้างกระแสว่าทุกพื้นที่ที่มาร่วมงานให้นำข้าวพื้นบ้านมาด้วย ซึ่งนายแพทย์กระแส ชนะวงศ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ได้มาเปิดงาน งานครั้งนั้นรวบรวมพันธุ์ข้าวได้ 130 สายพันธุ์ซึ่งถือว่าไม่ธรรมดา หลังจากนั้นในภาคอีสานมีการทำงานด้านพันธุกรรมข้าวอย่างจริงจังโดยเริ่มที่ภูมินิเวศน์กาฬสินธุ์-นครพนม และยโสธร
          ต่อมา นายบำรุง คะโยธา ได้รับเลือกเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสายนาวังเมื่อปี พ.ศ. 2548 -2556 ดำรงตำแหน่งนายกอบต.สายนาวัง 2 สมัย แม้จะเป็นช่วงปิดโครงการนำร่องฯ แล้ว แต่กลุ่มชาวบ้านยังเกาะเกี่ยวกันอยู่กับภูมินิเวศน์ต่างๆ จึงใช้เงื่อนไขนโยบายผลักดันงานพันธุกรรมเข้าไปในงานอบต.เป็นเวลา 8 ปีที่ผลักดันเรื่องงานพันธุกรรมจนได้รับการอนุมัติจากสำนักพระราชวังในการเข้าร่วมสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

5. วัตถุประสงค์การจัดตั้งกลุ่ม :
          1. เพื่อรวบรวม อนุรักษ์พันธุกรรมข้าวท้องถิ่น
          2. เพื่อพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่
          3. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่องพันธุกรรมข้าวพื้นบ้านแก่สมาชิกกลุ่มและคนในชุมชน

6. โครงสร้างกลุ่มและสมาชิก :
โครงสร้าง        ประธาน                           นายบำรุง คะโยธา
                      ผู้ประสานงาน                         นางสาวคนึงนิจ พลขยัน
สมาชิก ต.สายนาวัง
          1.บ้านกุดตาใกล้        หมู่ 4                จำนวน 3    คน
                    1) นายอำนาจ วิลาศรี
                    2) นายสมศรี ศรีพยอม
                    3) นายประยุง ธุปัญญา
          2. บ้านนากระเดา      หมู่ 5           จำนวน           2           คน      
                    1) นายประชัน พลขยัน
                    2) นางจะลุ แหวนเพชร
          3. บ้านนากระเดาพัฒนา หมู่ 6             จำนวน      1           คน
                    1) นายสมควร หอมหื่น
          4. บ้านกุดตาใกล้พัฒนา หมู่ 7           จำนวน         4           คน
                    1) นายสถิต คะโยธา
                    2) นายวาส กุตระแสง
                    3) นายใครศรี คะโยธา
                    4) นายเมืองมนต์ สุขพันธ์

7.กิจกรรมของกลุ่ม :
          1. ประชุมตามวาระ/สถานการณ์
          2. รวบรวมอนุรักษ์พันธุกรรมข้าวพื้นบ้าน
          3. พัฒนาปรับปรุงพันธุกรรมข้าว
          4. ประเมินเพื่อค้นหาพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่
          5. บันทึกลักษณะประจำพันธุ์ข้าว
          6. รณรงค์เผยแพร่
                    6.1 ประชาสัมพันธ์ผ่านงานบุญชุมชน (งานบุญเดือนสาม)
                    6.2 ประชาสัมพันธ์ผ่านงานออกร้านจัดนิทรรศการต่างๆ เช่น งานมหกรรมข้าวพื้นบ้าน งานมหกรรมอาหารและสุขภาพวิถีไท
                    6.3 เผยแพร่ความรู้พันธุกรรมพืชแก่ผู้ที่เข้าชมศูนย์พันธุกรรมชุมชน
          7. แบ่งปันแลกเปลี่ยนพันธุกรรมให้แก่เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกและผู้ที่สนใจ
          8. งานนโยบาย ร่วมผลักดันนโยบายเกษตรกรรมยั่งยืน และผลักดันให้มีการยกเลิกการขึ้นทะเบียนสารเคมีอันตราย 4 ชนิด และคัดค้านอนุสัญญายูปอฟ รวมถึงติดตามนโยบายที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร เป็นต้น

8. ผู้รับผิดชอบ/ผู้ประสานงาน :
          นางสาวคนึงนิจ พลขยัน บ้านเลขที่ 24 หมู่ที่ 5 บ้านนากระเดา ต.สายนาวัง อ.นาคู จ.กาฬสินธุ์ 46160 หมายเลขโทรศัพท์ 094-2730444

9.ผู้ให้ความรู้/ผู้สื่อสารเรื่องราวภายในกลุ่ม :
          1. นายบำรุง คะโยธา             การทำเกษตรผสมผสาน วนเกษตร และเกษตรอินทรีย์
          2. นายประยุง ธุปัญญา                    การเลี้ยงไก่พื้นบ้าน การทำเกษตรผสมผสาน และเกษตรอินทรีย์
          3. นายอำนาจ วิลาศรี            การทำเกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ การเก็บรักษาเมล็ด พันธุ์ และการปลูกมะม่วง
          4. นายวาส กุตระแสง            การทำเกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ การผลิตเมล็ดพันธุ์ ข้าวโพดข้าวเหนียว ฟักหอม ฟักทอง แตงกวา และแตงไท และการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์
          5. นายสถิต คะโยธา              การทำเกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ การขยายพันธุ์แขม
          6. นายใครศรี คะโยธา          การทำเกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ การปลูกกล้วย มะนาว ยางนา และหวาย
          7. นายสมควร หอมหื่น         การทำเกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ และการทำแปลงผักผสมไม้ดอกไม้ประดับ (ข่า ตะไคร้ เตยหอม กล้วย ดาวเรือง สับปะรด พริก)
          8. นายประชัน พลขยัน         การทำเกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ และการเลี้ยงกระบือพันธุ์พื้นบ้าน

10. ปัญหาและอุปสรรค :
          การต้องต่อสู้กับความคิดของเกษตรกร สู้กระแสผู้บริโภคหรือกระแสตลาดที่บอกว่าข้าวต้องเมล็ดเรียวยาว แต่ข้าวพื้นบ้านไม่ได้เป็นอย่างนั้น จึงไม่ได้ราคาตลาด โรงสีไม่รับซื้อ เรื่องข้าวพื้นบ้านนั้นสู้เรื่องโภชนาการคุณค่าทางยา เรื่องทนทานต่อโรค ทนแล้ง ไม่ใช่เมล็ดข้าวที่สวยขาวเท่านั้น

11. แนวทางการทำงานและทิศทางการทำงาน/ความต้องการการสนับสนุนจากภายนอก      :
        เนื่องจากเกษตรกรมีข้อจำกัดในด้านภารกิจงานประจำวัน จึงต้องการคนทำงานข้อมูล การประสานงาน และการตลาดเข้ามาหนุนเสริมเกษตรกร

12. ความโดดเด่น :
          กลุ่มอนุรักษ์พันธุกรรมข้าว ตำบลสายนาวัง เป็นกลุ่มที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของสมาชิก ขับเคลื่อนงานร่วมกับอบต.ในเรื่องการรับรองสิทธิเกษตรกรผ่านการขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชท้องถิ่นพันธุ์พืชชุมชน และมีแหล่งศึกษาเรียนรู้เรื่องพันธุกรรมพืชพื้นบ้านให้แก่สมาชิกและบุคคลทั่วไป

บทความแนะนำ