โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

รายงานฉบับนี้ ได้นำเสนอข้อค้นพบจากการศึกษาวิจัยครอบคลุมประเด็นที่เกี่ยวข้องทั้งการพัฒนาระบบเกษตรในเมืองที่วิเคราะห์ในแง่มุมวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ การพึ่งพิงรายได้และอาหาร การวิเคราะห์มูลค่าทางเศรษฐกิจที่มาจากการบริโภค การแบ่งปันและการจำหน่าย รวมถึงการใช้ที่ดินรกร้างว่างเปล่าในกลุ่มเป้าหมายที่มีความแตกต่างกันในด้านสถานภาพทางเศรษฐกิจ วัย และสภาพทางกายภาพของที่ตั้งแปลงเกษตร ข้อมูลความรู้ที่เชื่อมโยงกับระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมเมืองที่อาจนำไปสู่การสร้างศักยภาพของเมืองในการเปลี่ยนแปลงไปสู่เมืองที่ยั่งยืน ที่ตอบรับกับความเปลี่ยนแปลง และความท้าทายทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม

ผลการศึกษาบางส่วนพบว่า

– การพัฒนารูปแบบเกษตรในเมือง ให้สอดคล้องกับสภาพกายภาพหรือที่ตั้งที่มีลักษณะที่หลากหลายของกลุ่มเป้าหมายในงานวิจัย ทำให้เกิดนวัตกรรมของการสร้างระบบนิเวศเกษตรกรรมในเมืองบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิตในแปลงเกษตร และสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับกลุ่มเป้าหมาย สามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อผักของครัวเรือนได้

– การผลิตและการบริโภคในระบบเกษตรในเมือง เป็นระบบที่ทำให้ห่วงโซ่ในระบบอาหารสั้นลง (Short Value Chain) เนื่องจากการผลิตและการบริโภคอยู่ในที่เดียวกัน หรือในบริเวณใกล้เคียง ไม่มีค่าการตลาด และการขนส่งระยะไกล

– รูปแบบการแบ่งปันที่ดิน (Land sharing) จากที่ดินของบริษัทเอกชน ที่ดินปัจเจกบุคคล และที่ดินของกลุ่ม การประเมินมูลค่าภาษีที่ดินรกร้างว่างเปล่าพบว่าช่วยลดภาษีได้

– เกษตรในเมืองในกรุงเทพมหานคร มีศักยภาพในการผลิตผักเพื่อเลี้ยงดูคนเมืองได้เพียงพอ

– บทบาทของเกษตรในเมือง ในการสร้างเศรษฐกิจอาหารซึ่งเป็นเศรษฐกิจพื้นฐานชัดเจนมากยิ่งขึ้น เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ซึ่งส่งผลต่อความต้องการอาหารของกลุ่มเปราะบาง

ทำให้การแบ่งปันอาหารมีบทบาทสำคัญมากขึ้น การแบ่งปันอาหารจากแปลงเกษตรในเมืองและจากเครือข่ายทางสังคม เป็นรูปแบบที่สร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับคนเมืองในภาวะวิกฤตที่ชัดเจน

.

จากผลการศึกษาดังกล่าว มีข้อเสนอในการขยายพื้นที่การทำเกษตรในเมืองให้มากขึ้น เพื่อสร้างการพึ่งตนเองด้านอาหารของเมือง

– นโยบายรัฐควรสร้างแรงจูงใจเพื่อให้เกิดการใช้พื้นที่ผลิตอาหาร

– นโยบายการพัฒนาเมืองควรมีทิศทางที่จะสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำ คำนึงถึงการอยู่ร่วมกันของกลุ่มคนที่หลากหลายสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม และผนวกรวมภาคเกษตรกรรมให้เป็นส่วน

หนึ่งของเมือง เพื่อสร้างสมดุลของเมืองให้มีความยืดหยุ่นต่อความเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภัยพิบัติ และสร้าง

สิ่งแวดล้อมที่ดีควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นฐานของคนเมืองให้ก้าวข้ามพ้นจากเส้นความยากจน และ

พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของคนเมือง เพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างเท่าเทียม

#แบ่งปันกันอ่านผ่านEbook ด้านล่างได้เลย

ท่านใดที่สนใจสามารถสแกน QR Code ในภาพ หรือกดลิ้งค์ดาวโหลด

 

บทความแนะนำ