โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

ชื่อวิทยาศาสตร์  : Clausena cambodiana Guill.
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ชื่อสามัญ : –
ชื่ออื่น :
หฺมฺรุยหอม หฺมฺรุยเทศ หมุย

ถิ่นกำเนิด :

     พืชสมุนไพรที่พบขึ้นตามป่าดงดิบเขา ตามลำธาร ตามป่าโปร่ง ทุ่งร้างทั่วไปเป็นพืชก่ำกึ่งระหว่างผักและพืชสวน เนื่องจากลำต้นเป็นไม้ยืนต้นสูงพอสมควร เป็นพืชที่นิยมปลูกในภาคใต้มากินแกล้มกับขนมจีนและน้ำบูดู อดีตมีขึ้นทั่วไปโดยธรรมชาติ แต่ปัจจุบันพื้นที่ทางธรรมชาติน้อยลง ทำให้ต้นหมุยลดลงไปด้วยจึงต้องมีการขยายพันธุ์ด้วยการนำเมล็ดมาเพาะแล้วปลูกในพื้นที่สวน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

     ลำต้น เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงกลาง สูงประมาณ 2-3 เมตร ลำต้นขนาดเล็ก ผิวต้นสีน้ำตาลอมเขียวเล็กน้อย แตกพุ่มออกยอด
     ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก คล้ายใบมะกอก มีก้านใบยาว 25-30 เซนติเมตร มีใบย่อยรูปไข่ ปลายแหลม 9-10 คู่ ออกตรงข้ามกัน หรือเหลื่อมกันเล็กน้อย ปลายสุดมี 1 ใบ ใบสีเขียวเกลี้ยงมันวาว ด้านหลังใบสีเขียวอ่อนกว่าหน้าใบมีขนสั้นๆ เล็กน้อย แผ่นใบสั้นเล็ก กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร ปลายใบเป็นหยักคลื่น
     ดอก ดอกออกเป็นช่อเล็กๆ ตามกิ่ง ดอกสีขาว กินได้
     ผล ผลสุกสีชมพู มีรสหวานเล็กน้อย

การขยายพันธุ์ :

     สามารถทำได้ทั้งเพาะเมล็ด แยกต้นอ่อนปลูก และปักชำกิ่งยอด

การใช้ประโยชน์ :

     ใบ มีกลิ่นหอม รสเผ็ดร้อน ช่วยแก้ลมอันเสียดแทง ช่วยขับลม ยอกในข้อ เป็นยาแก้หืดไอ แก้ไอ แก้ไข้ นำมาตำใช้เป็นยาทาแก้คัน หรือนำมาพอกประคบหรืออบไอน้ำ แก้ผื่นคันตามผิวหนัง กระจายเลือดลมให้เดิน
     ใบและเปลือก ใช้เป็นยารมรักษาริดสีดวงจมูก (เมื่อโดนละอองยาจะร้อนมากจนแสบจมูก)
     ดอก มีกลิ่นหอม รสร้อน ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรค รักษาแผลเรื้อรัง และมีสรรพคุณช่วยแก้เสมหะ
     เปลือกต้น มีรสร้อน มีสรรพคุณช่วยแก้โลหิตในลำคอ
     กระพี้ มีรสร้อน ใช้เป็นยาแก้โลหิตในลำไส้
     ต้น มีรสร้อน มีสรรพคุณช่วยแก้ไอ แก้ลมภายในให้กระจาย และมีสรรพคุณเป็นยาขับพยาธิไส้เดือน
     ราก มีรสร้อน มีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคหอบหืด เป็นยาแก้ไข้ แก้ลม แก้โลหิตอันข้นด้วยบุพโพ ใช้เป็นยาแก้ริดสีดวง ยาขับเลือดและหนอง ใช้เป็นยาพอกแผลริดสีดวงจมูก และแผลคุดทะราด

ที่มา : www.technologychaoban.com

บทความแนะนำ