โทรศัพท์

096 948 1913

อีเมล์

sathaiaan@gmail.com

เวลาเปิด

จันทร์ - ศุกร์: 9:00 - 17:00

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Annona squamosa L.
วงศ์ :   Annonaceae
ชื่อสามัญ :   Sugar Apple
ชื่ออื่น : น้อยแน่  มะนอแน่  หมักเขียบ

ถิ่นกำเนิด :

        น้อยหน่าเป็นไม้ผลประจำถิ่นของอเมริกากลาง เรียกกันว่า “อะ โน น่า”  สันนิษฐานว่าเข้ามาเมืองไทยเป็นครั้งแรก ช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา ในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ประมาณปี 2060  โดยชาวโปรตุเกสเป็นผู้นำพันธุ์มาเผยแพร่ แต่บางกระแส เชื่อว่า ชาวอังกฤษ เป็นผู้นำน้อยหน่ามาจากอินเดียเข้ามาเผยแพร่ในไทย ในแผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถ ประมาณปี พ.ศ. 2155 น่าจะเริ่มปลูกน้อยหน่าในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี นครปฐม เรื่อยไปจนถึงอยุธยา และลพบุรี เนื่องจากจังหวัดลพบุรี เคยมีน้อยหน่าท้องถิ่นสายพันธุ์หนึ่ง เรียกว่า “น้อยหน่าพระที่นั่งเย็น” หรือ “น้อยหน่าพระนารายณ์” นั่นเอง 
         ทุกวันนี้ มีการปลูกน้อยหน่าแพร่หลายไปทั่วประเทศ และมีการเรียกชื่อน้อยหน่าแตกต่างกันไป ในแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ น้อยหน่ายังเป็นพืชเศรษฐกิจของหลายประเทศ เช่น บราซิล อียิปต์ อิสราเอล แอฟริกากลาง อินเดีย และภูมิภาคเอเชียใต้

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ :

        ไม้พุ่ม ขนาดเล็ก สูง 3-6 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แตกกิ่งก้านสาขาเป็นก้านเล็ก ๆ ผิวเกลี้ยง สีเทาอมน้ำตาล
         ใบ ใบเรียงสลับ ใบเดี่ยว รูปรีหรือรูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 7-13 ซม. โคนใบแหลม ปลายใบแหลม
        ดอก ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ ห้อยลง กลีบเลี้ยงมี 3 กลีบ กลีบดอก 6 กลีบ เรียง 2 ชั้นๆ ละ 3 กลีบ ชั้นในกลีบดอกจะสั้นกว่าชั้นนอก มีสีเหลืองอมเขียว หนาอวบน้ำ มีเกสรเพศผู้และรังไข่จำนวนมาก
        ผล ผลกลุ่ม ค่อนข้างกลม ผิวขรุขระเป็นช่อง ในแต่ละช่องนั้นภายในเป็นเนื้อสีขาว และมีเมล็ดสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม เนื้อในทานได้มีรสหวาน เปลือกผลสีเขียว ถ้าสุกตรงขอบ ช่องนูนนั้นจะออกสีขาวบีบดูจะนุ่ม

 

การใช้ประโยชน์:

        – ราก ใช้เป็นยาระบาย ถอนพิษเบื่อเมา ทำให้เกิดการอาเจียน และแก้พิษงูได้
        – เปลือกต้น และเนื้อไม้ เปลือกต้นแก้ฟกช้ำบวม แก้กลาก เกลื้อน มีฤทธิ์ฆ่าพยาธิผิวหนัง ขับพยาธิลำไส้ ฆ่าเหาแก้หิด เส้นใยของเปลือกใช้ทำกระดาษ ส่วนเนื้อไม้มีสีเหลืองของสาร Morin ใช้ย้อมผ้าไหม ผ้าแพรหรือผ้าอื่นๆ
        – ผล และส่วนของเปลือกผล ใช้แก้พิษงู แก้ฝีในคอ ขับพยาธิ ฆ่าพยาธิผิวหนัง หรือใช้กินสดหรือต้มน้ำหรือเชื่อมกินก็ได้ เป็นยาเย็น ยาระบายอ่อนๆ แก้ธาตุไม่ปกติ ขับเสมหะ ลดเสมหะ
        – เมล็ด เป็นยาฆ่าเหา ฆ่าพยาธิตัวจี๊ด และแก้บวม สกัดเอาน้ำมันมาใช้ประโยชน์
        – ใบ ใช้ใบอ่อนหรือใบแก่ ทำเป็นชาเขียวสำหรับชงน้ำดื่ม ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดความดันโลหิต เป็นยาขับเหงื่อ แก้ไข้ ทำยาต้ม ใช้อมแก้คอเจ็บ แก้ไอ ทำให้เยื่อชุ่มชื่น นอกจากนั้น ยังใช้เลี้ยงไหม หรือนำใบอ่อนปรุงเป็นอาหาร

การขยายพันธุ์ :

        ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด น้อยหน่าช่วงออกดอก ต้องการอากาศแห้งแล้ง จะทำให้ผลิดอกออกผลได้ดี ผลจะมีขนาดใหญ่ และมีคุณภาพ แต่ถ้าปลูกในที่มีความชื้นสูง จะให้ผลแคระแกร็น ติดผลน้อย และมีคุณภาพต่ำ ส่วนรากน้อยหน่าลงดินไม่ลึก ต้องเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี งอกได้ทั้งดินเหนียว ดินทราย ดินหิน และดินปูน ขอให้ได้น้ำเข้าถึงก็ใช้ได้
        แปลงปลูกน้อยหน่าไม่ต้องพิถีพิถันนัก เว้นแต่พื้นที่ป่าเก่า ต้องไถพรวนดินเอารากไม้ออก และไม่ควรมีไม้อื่นคอยบังทางลม และแย่งอาหาร ก่อนปลูกต้องโค่นแบบถอนรากถอนโคน รอทำทีหลังไม่ได้เด็ดขาด จะทำให้ต้นน้อยหน่าไม่งอกงาม และตอนโตแล้วยิ่งโค่นลำบาก เพราะไปติดกิ่งก้านน้อยหน่า ยากไปจนถึงตอนเก็บเกี่ยว
        ไถพรวนดินแปลงแล้วปล่อยให้แห้ง 1 สัปดาห์ จากนั้นไถเพื่อให้ดินร่วนซุย ตอนปลูกควรเว้นระยะห่างตามสภาพดิน ถ้าดินดีต้องห่าง 4×4 เมตร ดินไม่สู้ดีห่าง 3×3 เมตร ระยะห่างระหว่างแถวก็ใช้หลักเดียวกัน ทั้งนี้เกิดจากเหตุผลที่ว่า ถ้าดินดี ลำต้น กิ่ง และก้านจะสมบูรณ์ แผ่ออกก่ายกันระหว่างต้น รากก็แย่งอาหารกันเอง ยิ่งยังลำบากตอนเก็บเกี่ยว

การใช้ประโยชน์:

        – ราก ใช้เป็นยาระบาย ถอนพิษเบื่อเมา ทำให้เกิดการอาเจียน และแก้พิษงูได้
        – เปลือกต้น และเนื้อไม้ เปลือกต้นแก้ฟกช้ำบวม แก้กลาก เกลื้อน มีฤทธิ์ฆ่าพยาธิผิวหนัง ขับพยาธิลำไส้ ฆ่าเหาแก้หิด เส้นใยของเปลือกใช้ทำกระดาษ ส่วนเนื้อไม้มีสีเหลืองของสาร Morin ใช้ย้อมผ้าไหม ผ้าแพรหรือผ้าอื่นๆ
        – ผล และส่วนของเปลือกผล ใช้แก้พิษงู แก้ฝีในคอ ขับพยาธิ ฆ่าพยาธิผิวหนัง หรือใช้กินสดหรือต้มน้ำหรือเชื่อมกินก็ได้ เป็นยาเย็น ยาระบายอ่อนๆ แก้ธาตุไม่ปกติ ขับเสมหะ ลดเสมหะ
        – เมล็ด เป็นยาฆ่าเหา ฆ่าพยาธิตัวจี๊ด และแก้บวม สกัดเอาน้ำมันมาใช้ประโยชน์
        – ใบ ใช้ใบอ่อนหรือใบแก่ ทำเป็นชาเขียวสำหรับชงน้ำดื่ม ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดความดันโลหิต เป็นยาขับเหงื่อ แก้ไข้ ทำยาต้ม ใช้อมแก้คอเจ็บ แก้ไอ ทำให้เยื่อชุ่มชื่น นอกจากนั้น ยังใช้เลี้ยงไหม หรือนำใบอ่อนปรุงเป็นอาหาร

ที่มา : https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_37819
https://hd.co.th/sugar-apple-sweetsop

บทความแนะนำ